1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16- 22 พ.ค. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 905.20 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 544.01 ตัน สัตว์น้ำจืด 361.19 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.75 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.10 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 106.28 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.87 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.98 ตัน
การตลาด
กระทรวงพาณิชย์เปิด 3 แนวทางแทรกแซงราคากุ้ง
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่า ได้มีการชี้แจงมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.)ที่จะเปิดแทรกแซงจำนำกุ้ง 10,000 ตัน โดยในปีนี้ได้เปลี่ยนวิธีการแทรกแซงราคากุ้งเป็น 3 วิธี รูปแบบแรกจะใช้เงินปลอดดอกเบี้ยวงเงิน 1,400 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจกุ้งไปบริหารจัดการ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องรับซื้อกุ้งจากเกษตรกร โดยกุ้ง 40 ตัว ราคา 155 บาท 50 ตัว ราคา 135 บาท 60 ตัว ราคา 125 บาท 70 ตัว ราคา 110 บาท และ 80 ตัว ราคา 100 บาท โดยเอกชนจะต้องรับซื้อตามจำนวนที่ภาครัฐกำหนดและไปบริหารจัดการ เมื่อรับซื้อแล้วหากราคาตลาดสูงกว่าถือว่าได้กำไร แต่หากราคาตลาดตกภาคเอกชนก็รับความเสี่ยงไป เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะทำให้ลดภาระต่างๆ ของภาครัฐ โดยไม่ต้องคำนึงถึงค่าเช่าห้องเย็นหรือค่าดูแลอื่นๆ ส่วนภาคเอกชนมองว่ากุ้งที่รับซื้อมาแล้วจากเดิมกำหนดว่าจะต้องแช่แข็งเป็นตัว แต่ของใหม่อาจใช้วิธีหักหัวกุ้งและนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งทันที ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ภาคเอกชน ส่วนรูปแบบที่ 2 เอกชนเข้าไปรับซื้อกุ้งจากเกษตรกร โดยภาครัฐจะชดเชยส่วนต่างให้กับเกษตรกร จะใช้เงินงบประมาณไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท และแนวทางสุดท้ายจะเป็นการแทรกแซงด้วยการที่ภาครัฐเข้าไปรับซื้อกุ้งจากเกษตรกร ซึ่งรูปแบบเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่ง 2 สมาคมจะนำผลการหารือครั้งนี้ไปหารือกับสมาคมฯว่าควรจะใช้แนวทางใด และนำผลการหารือมาเสนอกรมการค้าภายใน เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์รวบรวมและนำไปเสนอที่ประชุมในครั้งต่อไป โดยโครงการแทรกแซงราคากุ้งครั้งนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 4 — 5 เดือน คาดว่าจะเริ่มได้กลางเดือนมิถุนายนนี้และสิ้นสุดเดือนตุลาคม
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 103.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 105.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.17 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 98.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.84 บาท 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 6 - 12 มิ.ย. 2552) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.97 ของสัปดาห์ก่อน 1.46 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8 - 14 มิถุนายน 2552--