1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 6 ล้านตันข้าวเปลือก
ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (คละ) ตันละ 9,000 บาท และจากมติ กขช. เมื่อวันที่ 29 เมย. 52 เพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ราคาตันละ 10,000 บาท (ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดีส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เป็นต้น)
ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 24 มิ.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 4,132,193 ตัน คิดเป็นร้อยละ 68.87 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดัง นี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ----------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) -------- ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 14 จังหวัด 1,608,522 25,804 17,885 1,652,211 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด 153,949 - 8,920 162,869 ภาคกลาง 20 จังหวัด 1,744,059 573,054 - 2,317,113 รวม 45 จังหวัด 3,506,530 598,858 26,805 4,132,193
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 8 ล้านตันข้าวเปลือก
ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 15 มิ.ย. 52 ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,360,265 ตัน คิดเป็นร้อยละ 67.00 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ---------------------ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)--------------------
ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด
ภาคเหนือ 17 จังหวัด 1,319,671 177,530 161,930 21,034 215,275 1,895,440 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด 27,905 1,149,908 - - 153,134 1,330,947 ภาคกลาง 21 จังหวัด 1,672,478 - 7,613 381,589 33 2,061,713 ภาคใต้ 3 จังหวัด 72,165 - - - - 72,165 รวม 60 จังหวัด 3,092,219 1,327,438 169,543 402,623 368,442 5,360,265
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาที่เกษตรกรขายได้ เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในโครงการรับจำนำของรัฐ ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังมีปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการของตลาดยังมีอยู่ ทำให้พ่อค้าต้องออกมารับซื้อในราคาที่สูงขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 มิถุนายน 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4 , 103, 898 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 5 , 620, 118 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.98 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,159 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,133 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,322 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,251 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0. 69
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,197 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,171 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,198 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,997 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวหอมมะลิ 100 % ชั้น 2 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,790 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 27,550 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ราคาข้าวสารเจ้า 5% ( ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ . โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,520 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 902 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,584 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 64 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 792 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,857 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 795 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,956 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 99 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,753 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,818 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 65 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,497 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,563 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 66 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5 % ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 622 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,093 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,649 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 444 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9109 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ปากีสถานขึ้นแท่นผู้ส่งออกข้าวมากอันดับ 3 ของโลก
หัวหน้าบริหารขององค์การพัฒนาการค้าของปากีสถาน (Trade Development Authority of Pakistan : TDAP) ได้เปิดเผยว่า การปรับปรุงการตลาดและการเพิ่มมูลค่าของข้าวทำให้ปากีสถานกลายเป็น ผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ถึงแม้ว่าปากีสถานจะผลิตข้าวได้เป็นอันดับที่ 12 ของโลกก็ตาม โดยการส่งออกข้าวทำรายได้ให้ปากีสถานมากเป็นอันดับ 2 รองจากฝ้าย
นอกจากนี้ยังได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกข้าว ว่า ควรให้ความสนใจตลาดเอเชียและแอฟริกามากเป็นพิเศษ เนื่องจากกำลังซื้อของประชากรในสองทวีปนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าว โดยเฉพาะแอฟริกามีความต้องการบริโภคข้าวสูงขึ้น
ในการนี้ องค์การพัฒนาการค้าของปากีสถานจะร่วมมืออย่างเต็มที่กับสมาคมผู้ส่งออกข้าวปากีสถาน (Rice Exporters Association of Pakistan : REAP) ในการส่งเสริมการส่งออกข้าว ซึ่งเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าส่งออกข้าวรวม 1.96 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 66 พันล้านบาท โดยปากีสถานต้องเร่งส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อให้ได้มูลค่าการส่งออกข้าวรวม 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 71 พันล้านบาท ซึ่งจะทำ ให้การส่งออกข้าวปีนี้มีมูลรวม 4,000 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 135 ล้านล้านบาท ตามแผนปี 2555 ที่ตั้งไว้
ที่มา : Riceonline.com
2.2 สถานการณ์การส่งออกข้าวของเวียดนาม
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่า ตลาดต่างประเทศมีความต้องการซื้อข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวเวียดนามแพงขึ้น โดยราคาข้าว 5 % ซึ่งเป็นชนิดข้าวส่งออกที่ดีที่สุดของเวียดนาม ขณะนี้ราคาส่งออกอยู่ที่ 405 - 410 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือ ประมาณ 13,734 — 13,903 บาทต่อตัน ซึ่งสูงขึ้นจากต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาถึง 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 339 บาทต่อตัน โดยราคาส่งออกข้าว 10 % และ15 % ก็แพงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่แหล่งข่าวไม่ได้ให้รายละเอียดว่าแพงขึ้นเท่าใด
นอกจากนี้ รัฐบาลได้พิจารณาที่จะยกเลิกโควตาการส่งออกระดับจังหวัดเพื่อให้ตลาดนั้นดำเนินอย่างเสรี โดยได้กระตุ้นให้คณะกรรมการจังหวัดร่วมมือกับคณะกรรมการกลางเพื่อให้การสนับสนุนบริษัทเอกชนในการเพิ่มการบริโภคข้าว ในการนี้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้วางแผนร่วมกันกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทที่จะจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดในการค้นหาผู้ผลิตรายจังหวัดเพื่อที่จะเป็นตัวแทน ในการบริหารจัดการการส่งออกข้าวของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวได้ อีกทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สมาคมอาหารเวียดนาม และคณะกรรมการประชาชนยังได้มีการรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มการค้าและมองหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อส่งออกข้าวและยังได้แนะนำสมาคมอาหารเวียดนาม ว่า ไม่ควรที่จะให้ความสนใจในการลดราคาส่งออกข้าวอย่างเดียว แต่ควรที่จะปรับปรุงระยะเวลาการส่งมอบข้าวให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เพิ่มกิจกรรมด้านการตลาด และหาทางยุติข้อพิพาททางการค้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เร่งให้ทั้งสองกระทรวงจัดทำกฎเกณฑ์การบริหารการส่งออกข้าวให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2552--