1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 6 ล้านตันข้าวเปลือก
ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-31 ก.ค. 52 (ยกเว้นภาคใต้ ก.ค.-ก.ย. 52)
ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25%
ตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (คละ) ตันละ 9,000 บาท และจากมติ กขช. เมื่อวันที่ 29 เมย. 52 เพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ราคาตันละ 10,000 บาท (ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดีส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เป็นต้น)
ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 24 มิ.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 4,132,193 ตัน คิดเป็นร้อยละ 68.87 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดัง นี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ----------- ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) ---------
ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 14 จังหวัด 1,608,522 25,804 17,885 1,652,211 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด 153,949 - 8,920 162,869 ภาคกลาง 20 จังหวัด 1,744,059 573,054 - 2,317,113 รวม 45 จังหวัด 3,506,530 598,858 26,805 4,132,193
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52
เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 8 ล้านตันข้าวเปลือก
ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. — 28 ก.พ.52 (ยกเว้นภาคใต้ 1 ก.พ.-28 พ.ค.52)
ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนทีรับจำนำทั้งจำนำใบประทวน และจำนำยุ้งฉาง
ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2551/52 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 51 - 15 มิ.ย. 52 ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,360,265 ตัน คิดเป็นร้อยละ 67.00 ของเป้าหมายที่รับจำนำ
ภาวะการซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนในทุกตลาด เนื่องจากผู้ส่งออกได้ออกมารับซื้อข้าวจากโรงสีเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าที่รับคำสั่งซื้อไว้แล้วทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่ง จึงส่งผลให้โรงสีออกรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าราคารับจำนำข้าวเปลือก นาปี ปี 2551/52 และข้าวเปลือกนาปรังปี 2552
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 มิถุนายน 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4 , 103, 898 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 5 , 620, 118 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.98 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,126 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,159 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,401 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,322 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0. 77
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,211 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,197 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,246 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,198 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวหอมมะลิ 100 % ชั้น 2 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 28,400 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 27,790 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20
ราคาข้าวสารเจ้า 5% ( ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ . โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 915 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,942 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,520 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 422 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 808 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,324 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 792 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,857 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 467 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18 ,701 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 52 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,522 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 457 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,497 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5 % ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,338 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 622 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,093 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 245 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.8167 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ปีนี้ปีทองของชาวนาเวียดนาม การันตีส่งออกข้าว 6 ล้านตัน
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม เปิดเผยว่า ผลผลิตข้าวของฤดูกาลเพาะปลูกฤดูหนาว — ฤดูใบไม้ผลิปีนี้มากกว่า 18.6 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลเพาะปลูกฤดูที่ผ่านมาถึง 312,000 ตัน เนื่องจากปีนี้อากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกอีกทั้งรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการปรับปรุงการเพาะปลูกและการควบคุมโรคพืช
โดยผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่มาจากแหล่งปลูกข้าวทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ซึ่งทางภาคเหนือของเวียดนามให้ผลผลิตข้าวกว่า 6.8 ล้านตัน หรือมากกว่าฤดูกาลเพาะปลูกที่ผ่านมาถึง 120,000 ตัน นอกจากนี้ ทางตอนใต้ของเวียดนามหรือเขตลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของเวียดนามผลิตข้าวได้ประมาณ 9.8 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากฤดูกาลเพาะปลูกที่ผ่านมาถึง 23,000 ตัน
อนึ่ง จากการรายงานของสมาพันธ์อาหารเวียดนาม ( Vietnam Food Association :VFA) ว่า ครึ่งปีแรกของ ปีนี้เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 3.6 ล้านตัน โดยราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 392 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน หรือ ประมาณ 13,256 บาทต่อตัน
2.2 ผลผลิตข้าวปีนี้ของอินเดียลดลง แต่ส่งออกบาสมาติเพิ่มขึ้น
ทางการอินเดีย เปิดเผยว่า ผลผลิตข้าวอินเดียปีนี้มีแนวโน้มลดลง โดยผลผลิตข้าวทั้งหมดจะประมาณ 96 — 97 ล้านตันเท่านั้น ในขณะปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวรวมของประเทศมีมากถึง 99 ล้านตัน นอกจากนี้ ปีนี้อินเดีย ได้ลดปริมาณการส่งออกข้าวที่มิใช่บาสมาติ โดยการส่งออกข้าวที่มิใช่บาสมาติปีที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 5 ล้านตัน แต่ปีนี้การส่งออกข้าวกลับลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากมาตรการห้ามการส่งออกข้าวที่มิใช่บาสมาติ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียเตรียมที่จะส่งออกข้าวบาสมาติมากขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวบาสมาติเป็น 2.5 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาที่การส่งออกข้าวบาสมาติอยู่ที่ 1.5 ล้านตันเท่านั้น
2.3 ฟิลิปปินส์เตรียมซื้อข้าว 75,000 ตัน 22 กรกฎาคมนี้
องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority : NFA) ของประเทศฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ฟิลิปปินส์จะจัดการประมูลข้าวเป็นครั้งแรกของปีนี้ โดยได้วางงบประมาณไว้ที่ 1.939 พันล้านเปโซ หรือ 535 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน หรือ ประมาณ 18,092 บาทต่อตัน ในการซื้อข้าวเมล็ดยาว 25% จำนวน 75,000 ตัน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณข้าวสำรองของประเทศซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในประเทศไม่ผันผวนมากนัก
อนึ่ง ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวมากที่สุดในโลก วางแผนที่จะนำเข้าข้าวปีนี้ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณความต้องการข้าวรวมของประเทศ โดยได้นำเข้าข้าวจากเวียดนามแล้วจำนวน 1.5 ล้านตันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มิถุนายน -5 กรกฎาคม 2552--