1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงจัดโครงการนำร่องสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
กรมประมงจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรนำร่อง “การจัดการองค์ความรู้ของเกษตรกร” โดยร่วมกับทีมงานของศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝึกอบรมให้แก่คณะผู้แทนของกลุ่มเกษตรกร ในแนวทางของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความคิด เพื่อจัดการองค์ความรู้ สู่แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งที่ยั่งยืน โดยรูปแบบจะเป็นการแนะแนวทางในการค้นหาจุดเด่นของแต่ละกลุ่มเกษตรกรภายในท้องถิ่น มาจัดทำให้เป็นระบบ ทั้งนี้ จุดเด่นดังกล่าวไม่กำหนดตายตัวว่าจะต้องเป็นเทคโนโลยีด้านวิชาการการเลี้ยง แต่อาจเป็นแนวคิดร่วมกันของกลุ่มด้านการบริหารจัดการ ทัศนคติในการรวมกลุ่ม เพื่อการดำเนินงาน ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้มาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของเกษตรกรเอง เพราะสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มของตนเอง หรือถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวให้แก่เกษตรกรกลุ่มอื่นๆ ที่สนใจ หรือเป็นหลักฐานและข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาขั้นต่อไป และที่สำคัญยังสามารถนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดูแลและการมีส่วนร่วมกับสังคมโดยรอบ หรือการลดภาวะโลกร้อน
นายฐานันดร์ ทัตตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง เปิดเผยว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยได้มีการคิดค้น วิจัย พัฒนาสังเคราะห์ จนเกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวยัง ไม่มีการจัดให้เป็นระบบที่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ดังนั้น กรมประมงจึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรรวบรวมและจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของตนเอง ให้เป็นระบบที่จะสามารถนำไปใช้ในเชิงพัฒนาตนเองและการสร้างมูลค่าของผลผลิตได้มากขึ้น แทนของกลุ่มเกาตรกรสตร์ ฝึกอบรมให้แก่คณะระยุก อง "เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (27 มิ.ย. — 3 ก.ค. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,042.70 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 565.03 ตัน สัตว์น้ำจืด 477.67 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.52 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.13 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 117.24 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.46 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.00 ตัน
การตลาด
วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 120.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.91 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.83 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 131.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.82 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 18 - 24 ก.ค. 2552) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.64 ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 กรกฎาคม 2552--