1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1) คณะรัฐมนตรีขยายระยะเวลาจำนำข้าวนาปรัง ปี 2552
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 52 ให้ขยายระยะเวลาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 จากเดิมสิ้นสุด 31 ก.ค. 52 เป็นสิ้นสุด 30 ก.ย. 52 โดยจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรโควตาดำเนินการได้เท่าที่มีโควตาเหลือ ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกินเป้าหมายรับจำนำ 6 ล้านตัน และไม่ให้โควตาแก่เกษตรกรที่เคยใช้สิทธิ์แล้ว
1.2) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
-เป้าหมายรับจำนำ จำนวน 6 ล้านตันข้าวเปลือก
-ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-30 ก.ย. 52
-ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ 11,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 11,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 11,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (คละ) ตันละ 9,000 บาท และจากมติ กขช. เมื่อวันที่ 29 เมย. 52 เพิ่มราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ราคาตันละ 10,000 บาท (ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดีส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เป็นต้น)
-ผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 8 ก.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,158,158 ตัน คิดเป็นร้อยละ 85.97 ของเป้าหมายที่รับจำนำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ------------ ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน) ---------- ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด ภาคเหนือ 14 จังหวัด 2,032,279 28,232 45,397 2,105,908 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด 154,935 - 9,293 164,228 ภาคกลาง 20 จังหวัด 2,253,669 602,481 - 2,856,150 ภาคใต้ 3 จังหวัด 31,872 - - 31,872 รวม 48 จังหวัด 4,472,755 630,713 54,690 5,158,158
ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในสัปดาห์นี้กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลของการขยายโครงการรับจำนำข้าวนาปรังปี 2552 ออกไปอีกถึงสิ้นเดือนกันยายน 2552 ส่งผลให้ ทั้ง 3 ตลาดขานรับราคาดังกล่าว ยกเว้น ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิปี 2552/53 ราคาอ่อนลงเนื่องจากพ่อค้ามีข้าวที่ได้จากการประมูลในตลาดล่วงหน้าที่ผ่านมา ซึ่งเพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้าทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 7 กันยายน 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5,935,368 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 7,840,864 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.30 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,883 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,997 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,370 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,933 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.89
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,167 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,519 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.68
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,269 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,650 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,625 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,710 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 994 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,596 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 979 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,077 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 519 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 749 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,315 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,913 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,434 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 479 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,871 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,596 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 275 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,887 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,373 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 514 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.7985 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 เวียดนามซื้อข้าว 500,000 ตันพยุงราคาข้าวในประเทศ ร่วมลงนามใน MOU กับฟิลิปปินส์
สมาพันธ์อาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association : VFA) ได้เรียกร้องให้สมาชิกรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสำรองจำนวน 500,000 ตันภายในเดือนนี้เพื่อมิให้ราคาข้าวภายในประเทศตกต่ำลง โดยจะรับซื้อข้าวจากชาวนาในราคา 3,800 เวียดนามด่องต่อกิโลกรัม หรือ 21 เซนต์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 7.10 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่ง ณ ราคานี้ชาวนาจะได้รับกำไรอย่างน้อยร้อยละ 30
สำหรับปีนี้แถบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของเวียดนามได้ผลิตข้าวเป็นจำนวน 2 ล้านตันสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกฤดูร้อน - ฤดูใบไม้ร่วง (Summer-Autumn crop) โดยในเดือนที่ผ่านมา สมาชิกของสมาพันธ์ฯได้สำรองข้าวแล้วเป็นจำนวน 490,481 ตันซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 400,000 ตัน โดยทางสมาพันธ์ฯ ได้พยายามที่จะกระตุ้นการส่งออกข้าวให้มากขึ้นซึ่งยังคงเหลืออีกร้อยละ 49 ก็จะทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการส่งออกข้าวจำนวน 7 ล้านตันตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ล่าสุด ซึ่งปีนี้เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (5,516,000 ตัน เทียบกับ 3,387,000 ตัน)
นอกจากนี้ สถาบันการวิจัยข้าวของฟิลิปปินส์ (Philippine Rice Research Institute : PhilRice) เปิดเผยว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์โดยPhilRice และ รัฐบาลเวียดนามโดย Vietnam’s Northern Mountainous Agriculture and Forestry Science Institute (NoMAFSI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding : MOU) ซึ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ให้ข้าวคุณภาพดีที่ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งสามารถเพาะปลูกได้ในพื้นที่หลากหลาย<
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ข่าวสัปดาห์ 7 - 13 กันยายน 2552--