ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Thursday October 22, 2009 14:29 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

อินเดียเริ่มผลิตกุ้งขาวแวนนาไมแล้ว

บอร์ดพัฒนาการประมงแห่งชาติ(NFDB) ของอินเดียประกาศว่าผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของอินเดียจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้ว P. Krishnaiah เจ้าหน้าที่ของ NFDB ระบุว่ารัฐบาลยินยอมให้มีการจับ กุ้งขาวแวนนาไมจำหน่ายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ในอดีตที่ผ่านมาผลผลิตกุ้งและการส่งออกของอินเดีย ส่วนใหญ่เป็นกุ้งกุลาดำ และกุ้งล๊อบสเตอร์ ผลผลิตของอินเดียลดลงจาก 106,165 ตันในปี 2550/2551 เหลือเพียง 75,996 ตันในปี 2551/2552 หรือลดลงร้อยละ 28.40 และประสบปัญหาโรคจุดขาวระบาดในกุ้งกุลาดำ ทำให้กำไรลดลง และเกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุน จึงพยายามให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมขึ้นในอินเดีย

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(19 - 25 ก.ย. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 971.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 626.94 ตัน สัตว์น้ำจืด 345.03 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  2.42      ตัน
          1.2  ปลาช่อน           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  4.12      ตัน
          1.3  กุ้งทะเล           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                109.55      ตัน
          1.4  ปลาทู             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  9.24      ตัน
          1.5  ปลาหมึก           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 87.53      ตัน

การตลาด

อุตสาหกรรมเม็กซิโกประสบภาวะวิกฤต

สภาอุตสาหกรรมประมงและสัตว์น้ำของเม็กซิโกเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมกุ้งเม็กซิโกถึงจุดวิกฤต เนื่องจากขาดตลาดรองรับ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งการใช้ทรัพยากรชายฝั่งอย่างไม่เหมาะสมของชาวเม็กซิโก และความล้มเหลวของรัฐบาลในการควบคุมการจับสัตว์น้ำประเภทกุ้ง ปู และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่มีเปลือกแข็ง ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้ประกอบอาชีพประมงเพิ่มขึ้น จึงทำให้สัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธุ์ โดยปกติแล้วเม็กซิโกส่งออกถึงร้อยละ 60 จากปริมาณกุ้งในประเทศทั้งหมด แต่ในปีนี้ยอดการส่งออกน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่งจากปีที่แล้ว และราคาลดลงจากช่วงปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 50

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.80 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.21 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.86 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10 — 16 ต.ค. 2552) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2552--

-พห-

แท็ก อินเดีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ