1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) สถานการณ์อุทกภัย
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัย ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ว่าขณะนี้มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรี อยุธยา สมุทรปราการ และกาญจนบุรี
พื้นที่ประสบอุทกภัยจากพายุ “กิสนา” ช่วงวันที่ 29 กันยายน — 15 ตุลาคม 2552(ข้อมูล ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2552) มีรายงานดังนี้ ด้านพืช 33 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 131,968 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,325,167 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,011,710 ไร่ พืชไร่ 289,445 ไร่ และพืชสวน 24,012 ไร่ คิดเป็น 21% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด (6,372,171 ไร่) ด้านปศุสัตว์ 12 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 7,486 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 852,817 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 29,791 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 16,313 ตัว และสัตว์ปีก 804,713 ตัว ด้านประมง 22 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 21,110 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 24,240 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 26,030 ไร่ กระชังเลี้ยง สัตว์น้ำ 112 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 1,125 ตารางเมตร
การช่วยเหลือเบื้องต้นสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย และสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 165.82 ตัน แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 100 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 4,816 ตัว
1.2 การตลาด
1) การดำเนินโครงการการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2552/53
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กันยายน 2552 เห็นชอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ กรกฎาคม - ตุลาคม 2552 สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวใน ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ให้ขยายเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
- แนวทางปฏิบัติ (1) กรณีเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรและต้องผ่านการประชาคมรับรองการผลิต
3) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม —
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
โดยเกษตรกรสามารถใช้สิทธิประกันราคาไม่เกินปีละ 2 ครั้งต่อรายและปริมาณที่เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ต้องไม่เกิน ปริมาณที่กำหนดไว้
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน)
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล --------------------------------------------------------------------------------------------------
ชนิดพืช | ราคาประกัน | ประจำวันที่ 1 ต.ค.52 | ประจำวันที่ 16 ต.ค.52 | ณ ความชื้น | ช่วงวันที่ 1 - 15 ต.ค.52 | ช่วงวันที่ 16 - 21 ต.ค.52
| ไม่เกิน 15% | ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน | ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน --------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้าวนาปี | | | 1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15 | 15,300 | 14,986 -314 | 14,940 -360 2) ข้าวหอมจังหวัด | 14,300 | 13,899 -401 | 13,860 -440 3) ปทุมธานี 1 | 10,000 | 9,896 -104 | 8,940 -1,060 4) ข้าวขาว | 10,000 | 8,806 -1,194 | 8,466 -1,534 5) ข้าวเหนียว | 9,500 | 7,523 -1,977 | 7,470 -2,030
3) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552
- การรับจำนำสิ้นสุดแล้วในวันที่ 30 ก.ย.52 โดยผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 15 ต.ค.52
มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,284,434 ตัน คิดเป็นร้อยละ 88.07 ของเป้าหมายที่รับจำนำ(6 ล้านตัน)
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2552--