ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Friday November 6, 2009 14:32 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้สุกรเจริญเติบโตดี ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีผลผลิตออกสู่ ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังชะลอตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 55.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 52.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 55.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.36 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 56) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 52.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.90 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.63

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดไก่เนื้อเริ่มคึกคัก เนื่องจากสถานศึกษาต่างๆ เริ่มเปิดภาคเรียนและหมดเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในงาน “การเสวนาเรื่องไก่ไทยใช้ฮอร์โมนจริงหรือ” ว่าปัจจุบันนโยบายของรัฐได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารโดยต้องเป็นอาหารที่มีความปลอดภัย ดังนั้นจึงมีกฎหมายออกมาควบคุม โดยเฉพาะการควบคุมวัตถุอันตราย จากข้อสงสัยกับการใช้ฮอร์โมนเร่งการเติบโตในไก่ ได้ออกประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ ปี 2529 ผู้ที่ใช้ถือว่าผิดกฎหมาย โดยฮอร์โมนดังกล่าวมีผลตกค้างต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดมะเร็งได้โดยเฉพาะในเพศหญิง นอกจากนี้ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก มีตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรปหรืออียูซึ่งห้ามและตรวจสอบสารตกค้างอย่างเข้มงวด ซึ่งกรมปศุสัตว์เก็บตัวอย่างสินค้ามาตรวจสอบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบกับที่ผ่านมามีการพัฒนาสายพันธุ์ มีระบบการจัดการฟาร์มที่ดีใช้เทคโนโลยีการให้อาหารสัตว์ที่ทันสมัย และส่วนใหญ่จะเลี้ยงในเชิงธุรกิจ ทำให้ไก่มีคุณภาพ ความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ด้านบริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจสัตว์ปีกของไทยส่วนใหญ่ทำแบบครบวงจรกว่า ร้อยละ 80 โดยส่งออกเนื้อไก่ประมาณ ร้อยละ 40 ของผลผลิต ที่เหลือจำหน่ายตลาดในประเทศทั้งหมดมีมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่ง ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานสวัสดิภาพและสุขอนามัยสัตว์ที่ดีเทียบเท่ามาตรฐานต่างประเทศ รวมทั้ง มีมาตรการตรวจสอบย้อนกลับทั้งระบบ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 39.33 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.70 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.41 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.81

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดเริ่มใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค เพราะสถานศึกษาต่างๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่เปิดภาคเรียนและหมดเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 227 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 238 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 210 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 266 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 237 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 227 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.41

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 283 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 251 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 273 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 328 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 43.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 45.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 36.66 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 51.30 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 34.43 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 31.72 บาท ภาคกลาง 32.69 บาท ภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2552--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ