ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Wednesday December 2, 2009 13:31 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าสภาพอากาศที่เย็นลงทำให้สุกรเติบโตได้ดี แต่ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคซึ่งเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย ตามความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นเพราะเริ่มเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและวันหยุดนักขัตฤกษ์

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 55.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 52.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.12 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 56.39 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.43 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและเฉลิมฉลองในช่วงปลายปี แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น ตามความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นอีกในวันสำคัญต่างๆ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

กรมปศุสัตว์ เตือนว่าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้สัตว์ปีกที่ปล่อยให้หากินตามธรรมชาติเกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันลดลง และง่ายต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกที่อาจมาพร้อมกับนกอพยพและนกธรรมชาติ จึงขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกร่วมกันเฝ้าระวังโรคด้วยการสร้างโรงเรือนที่สามารถป้องกันแดด ฝน ลมและพาหะนำโรคต่างๆ สัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ ไก่พื้นเมือง จึงขอให้เกษตรกรจัดทำเล้าที่มีการล้อมบริเวณที่นอนด้วยตาข่ายหรือ มุ้งเขียวที่สามารถป้องกันนกธรรมชาติ ลมและฝนได้ สำหรับไก่ชนขอให้ผู้เลี้ยงไม่นำไก่ที่นำไปชนหรือไก่ที่หามาใหม่เข้ามาเลี้ยงร่วมกับฝูงไก่ที่เลี้ยงอยู่เดิม ขอให้เลี้ยงไว้ในสุ่มไก่หรือเล้าไก่ที่แยกห่างจากไก่ตัวอื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรพบสัตว์ของตนป่วยตายผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่อบต.ทันที และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโรค ทั้งนี้ไม่ควรเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกไปในที่ต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด หรือหากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายขอให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอเพื่อตรวจสุขภาพสัตว์และขออนุญาตเคลื่อนย้ายตามกฎหมายก่อน ซึ่งทางกรมฯจะทำการตรวจสอบอย่างเข้มงวดมิให้มีการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกตามจังหวัดที่มีอาเขตติดต่อกับเพื่อนบ้านด้วย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 39.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.19 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.03

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้ผลผลิตมีมากขึ้น แต่จากความต้องการบริโภคไข่ไก่เริ่มมีมากขึ้นและต่อเนื่อง เพราะเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและเฉลิมฉลองในช่วงปลายปี แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นอีกในวันสำคัญต่างๆ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 248 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 247 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 249 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 257 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 242 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 259 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 265 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 285 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 284 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 256 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 276 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 327 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 43.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 46.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 37.53 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.77 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 34.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.517 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้

ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 50.40 บาท

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.18 บาท

ภาคกลาง 32.69 บาท

ภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2552--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ