ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวทั่วไป Monday December 14, 2009 13:52 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 82.21 บาท/กิโลกรัม

1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาตลาดและแปรรูปยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าตามนโยบายของรัฐบาล (นำโครงการจัดตั้งศูนย์รับซื้อผลผลิตยางพาราและจำหน่ายปัจจัยการผลิตยางพารา และโครงการแปรรูป ยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตยางแผ่นรมควันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ปรับปรุงรวมกัน) โดยใช้เงินเหลือจ่ายของโครงการ แทรกแซงตลาดยางพารา จำนวน 475.8 ล้านบาท ในการดำเนินงาน และขอขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า องค์การสวนยาง(อ.ส.ย.)ได้ปรับปรุงโครงการจัดตั้งศูนย์รับซื้อผลผลิตยางพาราแลจำหน่าย ปัจจัยการผลิตยางพารา และโครงการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตยางแผ่นรมควันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตามแผน บริหารราชการแผ่นดินข้างต้น โดยนำโครงการทั้ง 2 มารวมกัน เป็นโครงการพัฒนาตลาดและแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าตามนโยบายของรัฐบาล โดยขอใช้เงินเหลือจ่ายของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา จำนวน 475.8 ล้านบาท มาดำเนินการและได้นำโครงการดังกล่าวเสนอคณะ กรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย. พิจารณาแล้วในการประชุมครั้งที่ 4,5,7 และ 9/2552 ซี่งคณะกรรมการ อ.ส.ย. เห็นว่า สภาพตลาดยาง ในอนาคตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ ตลาดยางแผ่นรมควันมีแนวโน้มลดลงตลาดน้ำยางข้นไม่มีทิศทางดีขึ้นอย่างชัดเจนและเผชิญกับปัญหา ด้านวัตถุดิบเพราะเกษตรกรไม่นิยมขายน้ำยางสด อีกทั้งการผลิตน้ำยางข้นมีต้นทุนขนส่งประมาณร้อยละ 19 ส่วนตลาดยางแท่ง STR 20 มีแนวโน้ม สูงขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ จึงสมควรสร้างโรงงานยางแท่ง STR 20 เพียงชนิดเดียว และให้จัดหาที่ดินโดยการขอใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะ แทนการซื้อที่ดิน ดังนั้น คณะกรรมการ อ.ส.ย. จึงมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาตลาดและแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่าตามนโยบายของรัฐบาลและให้ ดำเนินการ ดังนี้

1. สร้างโรงงานพร้อมติดตั้งเครื่องจักรผลิตยางแท่ง SRT 20 ขนาดกำลังผลิต 20,000 ตันต่อปี พร้อมด้วยอาคารสำนักงาน บ้านพัก บ่อบำบัดน้ำเสีย อาคารผสมปุ๋ย และครุภัณฑ์จำเป็นต่าง ๆ ในวงเงินแห่งละ 154.6 ล้านบาท

ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมด้านวัตถุดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างทั่วถึงและระบบขนส่ง ทั้งด้านวัตถุดิบและผลผลิตที่จะ จำหน่ายไปต่างประเทศ จำนวน 3 แห่ง คือ

1) ในพื้นที่ตำบลไพร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 1 แห่ง

2) ในพื้นที่ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 1 แห่ง

3) ในพื้นที่ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 1 แห่ง

2. ก่อสร้างศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โกดังเก็บยาง ลานตาก และครุภัณฑ์ที่จำเป็น ในวงเงินแห่งละ 2.0 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีในการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกรให้สามารถขายยางได้ในราคาที่เป็น ธรรม และได้รับการบริการปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี

โดยแยกงบลงทุนจากงบลงทุนของการก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่ง STR 20 ของแต่ละสาขาและให้กระจายอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและให้ พิจารณาระยะทาง รวมทั้งระบบการบริหารจัดการในการซื้อวัถตุดิบ เพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการรายอื่นหรือส่งให้โรงงานของ อ.ส.ย. จำนวน 6 ศูนย์ ดังนี้

2.1 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา บริการเกษตรกรในเขต จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน

2.2 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก บริการเกษตรกรในเขต จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์

2.3 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตตำบลทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บริการเกษตรกรใน เขตจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์

2.4 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายการผลิตตำบลกุดน้ำใส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ บริการเกษตรกรในเขตจังหวัด ชัยภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา

2.5 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย บริการเกษตรกรในเขต จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร และจังหวัดอุดรธานี

2.6 ศูนย์รับซื้อผลผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตตำบลพุ่มแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม บริการเกษตรกรในเขตจังหวัด นครพนมโซนใต้ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดกาฬสินธุ์

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.43 บาท สูงขึ้นจาก 75.84 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.59 บาท หรือร้อยละ 3.42

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.93 บาท สูงขึ้นจาก 75.34 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.59 บาท หรือร้อยละ 3.44

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.43 บาท สูงขึ้นจาก 74.84 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.59 บาท หรือร้อยละ 3.46

4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.36 บาท สูงขึ้นจาก 74.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.11 บาท หรือร้อยละ 4.19

5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.36 บาท สูงขึ้นจาก 73.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.11 บาท หรือร้อยละ 4.25

6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.05 บาท สูงขึ้นจาก 73.99 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.06 บาท หรือ ร้อยละ 2.78

7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.29 บาท สูงขึ้นจาก 39.97 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.32 บาท หรือ ร้อยละ 3.30

8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.74 บาท สูงขึ้นจาก 35.20 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือ ร้อยละ 1.53

9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.72 บาท สูงขึ้นจาก 71.54 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือ ร้อยละ 0.25

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2553

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.39 บาท สูงขึ้นจาก 89.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.74 บาท หรือร้อยละ 3.06

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.24 บาท สูงขึ้นจาก 88.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.74 บาท หรือร้อยละ 3.10

3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.21 บาท สูงขึ้นจาก 55.05 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.16 บาท หรือร้อยละ 3.92

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.14 บาท สูงขึ้นจาก 88.80 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.34 บาท หรือร้อยละ 3.76

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.99 บาท สูงขึ้นจาก 88.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.74 บาท หรือร้อยละ 3.10

          3.  น้ำยางข้น         ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.96 บาท  สูงขึ้นจาก 54.60 บาท  ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.36 บาท
หรือร้อยละ 4.32

2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

สมาพันธ์ผู้ผลิตยานยนต์ประเทศญี่ปุ่น(Japan Automobile Manufacturers Association) เปิดเผยถึงการผลิตและความต้องการ

บริโภครถยนต์ ว่า    การผลิตรถยนต์ซึ่งรวมทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล    รถบรรทุกและรถเมล์ของญี่ปุ่นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้ลดลงโดยผลิตเพียง
820,910 คัน ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมานั้นมีปริมาณการผลิตถึง 1.01 ล้านคัน หรือลดลงถึงร้อยละ 19.1  ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่สิบสามแล้ว   ขณะที่ความต้องการบริโภครถยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 396,048 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4

ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2553

ยางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 276.56 เซนต์สหรัฐ (91.11 บาท) สูงขึ้นจาก 266.40 เซนต์สหรัฐ ( 87.84 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 10.16 เซนต์สหรัฐหรือร้อยละ 3.81

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.75 เยน ( 90.34 บาท) ลดลงจาก 241.18 เยน (90.09 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.43 เยน หรือร้อยละ 0.59

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ