ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday December 17, 2009 14:02 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การผลิต

ข้าวนาปี ปี 2552/53 ผลผลิตข้าวจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ส.ค. 52 และจะเก็บเกี่ยวมากสุดในเดือน พ.ย. — ธ.ค. 52 ร้อยละ 47.99 และ 27.22 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ดังตาราง

สำหรับผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม 2552 จะมีปริมาณ 6.328 ล้านตัน (27.22% ของผลผลิตทั้งหมด) แยกเป็นการ เก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.316 ล้านตัน หรือร้อยละ 32 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ จำนวน 1.669, 1.293 และ 0.050 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 25 ,23 และ 7 ตามลำดับ

ปริมาณและร้อยละการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ปี 2552 /53 รายเดือน

หน่วย : ตันข้าวเปลือก

  รายการ       ----------------------------- ปริมาณผลผลิตข้าวนาปี ปี 2552/53 รายเดือน -----------------------      รวม
               สค. 52        กย.         ตค.         พย.       ธค.    มค.53       กพ.      มีค.    เมย.
รวมทั้งประเทศ   779,603  1,177,692  1,997,645  11,164,465   6,327,757  976,177  477,998  269,667   74,407  23,245,411
 (ร้อยละ)         3.37       5.08        8.6       47.99       27.22      4.2     2.06     1.16     0.32         100

หมายเหตุ : ประมาณการ ณ เดือน ก.ย.52

1.2 การตลาด

1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53

ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553

เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต

เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน 31 มีนาคม 2553 )

การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553

ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553

ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การประชาคม และจัดทำสัญญาประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53

(ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2552)

          ประเด็น                          จำนวนจังหวัด      จำนวนราย         ร้อยละจดทะเบียน
          ฐานข้อมูล (สศก.)                          76                         56,596,069 (ไร่)
          การขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ราย)                       3,266,104                98.81
          ผ่านการรับรองโดยประชาคม (ราย)                    3,226,104                96.69
          ธกส. รับผลประชาคม                               3,208,360                99.45
          ธกส. ทำสัญญา                                    2,669,556                83.21
          การใช้สิทธิของเกษตรกร                               278,265 *               8.34

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 1 พ.ย. 52 ดังตาราง

ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553

2) โครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี 2552/53

ตามมติ กขช. วันที่ 19 ต.ค. 52 และ มติครม. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 52 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินโครงการเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาต่ำ

เป้าหมาย ให้โรงสีเอกชนและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ อตก. รับซื้อข้าวจากเกษตรกรตามราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง

เริ่มดำเนินการแทรกแซงรับซื้อในวันที่ 2 พ.ย. 52

ผล ณ วันที่ 24 พ.ย. 52

  • มีโรงสีที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ รวม 632 แห่ง (อคส. จำนวน 487 โรง, อ.ต.ก. จำนวน 145 โรง) ได้รับอนุมัติเปิดจุด
220 แห่ง 39 จังหวัด เปิดจุดรับซื้อแล้ว จำนวน 46 แห่ง ใน 16 จังหวัด
  • ผลการรับซื้อ อคส. ได้รับซื้อข้าวเปลือกเจ้า 5% แล้วปริมาณ 516.29 ตัน ที่จังหวัดสุโขทัย

ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล

(บาท /ตัน)

   ชนิดพืช                         ราคาประกัน     ประจำวันที่ 16 พ.ย.52                ประจำวันที่ 1 ธ.ค.52
   ข้าวนาปี                         ณ ความชื้น   (ช่วงวันที่ 16 - 30 พ.ย.52)           (ช่วงวันที่ 1 - 15 ธ.ค.52)
                                 ไม่เกิน 15%   ราคาอ้างอิง  ผลต่างราคาประกัน      ราคาอ้างอิง      ผลต่างราคาประกัน
1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15             15 ,300     13 ,002         -2,298         13 ,720              -1,580
2) ข้าวหอมจังหวัด                      14,300      12,620         -1,680          13,388                -912
3) ปทุมธานี 1                         10,000      10,501              -          10,565                   -
4) ข้าวขาว                           10,000       8,914         -1,086           9,242                -758
5) ข้าวเหนียว                          9,500       8,473         -1,027           9,591                   -
ราคารับซื้อข้าวที่อายุต่ำกว่า 100 วัน               ความชื้นไม่เกิน 15%  ความชื้นไม่เกิน 25%
1) ราคาข้าว 10 %                                  9,042       7,685.70
2) ราคาข้าว 25 %                                  8,642       7,345.70

ภาวการณ์ซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากพ่อค้าโรงสีและพ่อค้ายุ้งฉางได้ออกมารับซื้อข้าว เปลือกเก็บสต็อกเพื่อเก็งกำไร ประกอบกับพ่อค้าโรงสีคาดว่า ผลผลิตข้าวบางพื้นที่ของไทยถูกกระทบจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง พ่อค้าโรงสีชะลอการสีข้าว ส่งผลให้ข้าวสารในตลาดมีน้อย ทำให้พ่อค้าขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และพ่อค้าส่งออกที่ต้องการข้าวสารจึงเสนอให้ราคาสูง ขึ้น แต่พ่อค้าส่งออกก็ยังไม่กล้าขายข้าวล่วงหน้า เพราะเกรงว่าถ้าขายไปแล้วอาจจะซื้อข้าวสารในราคาเดิมไม่ได้ เพราะขณะนี้ผู้ส่งออกไม่สามารถ สต็อกข้าวเพื่อส่งออกได้

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 20 พฤศจิกายน 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7,695,349 ตันข้าวสาร ลดลง จาก 9,305,692 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.31 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,017 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13, 745 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,007 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,558 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 4.70

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,875 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,375 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 4.82

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,007 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,593 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.31

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% ( ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,217 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,650 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21

ราคาส่งออก เอฟ . โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (36,747บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่า กับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,450 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 832 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (27,419 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,031 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 607 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,987 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 592 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,509 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 478 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,629 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,148 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 481 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5 % ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 634 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,876 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 619 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (20,399 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 477 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9278 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

อินเดียไม่มีความต้องการนำเข้าข้าวในขณะนี้

อินเดียไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวในขณะนี้ เนื่องจากยังมีปริมาณข้าวเก็บสะสมไว้ในสต็อกเพียงพอกับปริมาณความต้องการใน ประเทศ แต่ถ้าปริมาณข้าวในปัจจุบันมีแนวโน้มไม่เพียงพอ รัฐบาลอาจพิจารณานำเข้าข้าวเพื่อสนองตอบความต้องการในประเทศในราคาที่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูคารีฟที่มีการประมาณการว่าอาจมีการขาดแคลนผลผลิตประมาณ 15 ล้านตัน อันเนื่องมาจากน้ำท่วมและปัญหาความแห้งแล้ง

ทั้งนี้ ในช่วงฤดูคารีฟปี 2551-2552 ผลผลิตข้าวของอินเดียมีประมาณ 84.5 ล้านตัน เปรียบเทียบกับค่าประมาณการในช่วงฤดูเดียวกัน ของปีนี้ว่าจะมีเพียง 69.45 ล้านตัน นอกจากนั้น ผลผลิตธัญพืช (grain) ปีที่ผ่านมา ในช่วงเดือนมิถุนายน — กรกฎาคม ได้มีการคาดการณ์ก่อนหน้านั้น ไว้ว่าจะมีประมาณ 233.87 ล้านตัน แต่เนื่องจากประสบปัญหาพายุมรสุม ทำให้เกิดผลกระทบมาถึงปีนี้

(ที่มา : Hindustantimes เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2552)

บังคลาเทศคาดหวังสามารถปลูกข้าวหอมจำนวนมากในพื้นที่ตอนเหนือ

เกษตรกรชาวบังคลาเทศคาดหวังจะสามารถปลูกข้าวหอมได้ปริมาณมากในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศ เนื่องจากในฤดูอามันนี้ให้อัตราผล ผลิตที่ดีเยี่ยม เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสมและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยข้าวแห่งบังคลาเทศ (Bangladesh Rice Research Institute: BRRI) ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าวหอมสายพันธุ์ต่างๆ มีระบบการชลประทานที่เหมาะสม เพียงพอ และมีการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย นอกจากนี้ ราคาตลาดของข้าวหอมปรับตัวสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูก

ทั้งนี้ เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวหอมมากกว่า 16 สายพันธุ์ บนพื้นที่ 184,362.50 ไร่ (29,498 เฮกตาร์) ใน 8 ตำบลทางตอนเหนือ ของประเทศ ซึ่งมีอัตราการให้ผลผลิตข้าวสะอาดอยู่ที่ 0.272 — 0.32 ตัน/ไร่ ( 1.7-2 ตัน/เฮกตาร์) และจะสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวภายใน 2 สัปดาห์ ที่จะถึงนี้ ผลผลิตดังกล่าวจะนำไปใช้บริโภคในประเทศและที่เหลือจะทำการส่งออก ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกมีมากขึ้น จึงเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการ ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในปริมาณที่น้อยที่สุด รวมทั้งระบบการบริหารจัดการวัชพืช นอกจากนี้ บังคลาเทศยังอยู่ในช่วงการพัฒนาข้าวให้ได้ตามมาตรฐาน ระหว่างประเทศ

อนึ่ง สถาบันนิวเคลียร์เกษตรแห่งบังคลาเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันวิจัยข้าวแห่งบังคลาเทศ ได้เสนอแนะในการให้ความ สำคัญในเรื่องการสร้างนวัตกรรม การส่งเสริมและสนับสนุนการทำแผนที่ภูมิประเทศรวมทั้งศึกษาและให้ความสำคัญในสภาพภูมิอากาศเพื่อกระตุ้นปริมาณ ผลผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น

(ที่มา: The New Nation — Bangladesh’s Independent New Source เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2552)

เวียดนามชนะการประมูลขายข้าว 300,000 ตัน ให้ฟิลิปปินส์

รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้เปิดประมูลซื้อข้าว 1.5 ล้านตัน สำหรับปี 2553 ในวันที่ 1, 4 , 8 และ 15 ธันวาคมนี้ โดยครั้งแรกเปิดประมูลที่ 600,000 ตัน ในวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ซึ่งผู้เข้าร่วมการประมูลผ่านการพิจารณาจำนวน 5 ราย จากทั้งหมด 7 ราย ได้แก่ บริษัทวีนา ฟู้ด 2 ของ เวียดนามชนะการประมูลข้าวหัก 25 % ไป 300,000 ตัน โดยจะส่งมอบเป็นจำนวน 3 ล็อตในแต่ละเดือน จำนวนล็อตละ 100,000 ตัน ในราคา C&F 598, 630 และ 648 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ บริษัท Louis Dreyfus Corp จำนวน 100,000 ตัน ในราคา C&F 599 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน รวมทั้งบริษัทข้าวไชยพร และเอเชียโกลเด้นไร้ซ์ ของไทย อีกบริษัทละ 100,000 ตัน ในราคา C&F ตันละ 639.95 และ 653 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

อนึ่ง องค์การอาหารแห่งฟิลิปปินส์ ได้เพิ่มงบประมาณสำหรับการประมูลข้าวในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ ประมาณ 21% หรือคิดเป็น 395 ล้าน เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบเป็นราคาข้าว C&F จะเฉลี่ยตันละ 657 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การประมูลซื้อข้าวของฟิลิปปินส์ในแต่ละครั้ง จะส่งผลให้ ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น

(ที่มา : Riceonline.com เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552)

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ