1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
ระวัง !...... พันธุ์ข้าวนาปรังปี 2553
ข้าวนาปรังปี 2553 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ ณ เดือน ธันวาคม 2552 ว่าจะมีพื้นที่ปลูก 12.090 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 8.305 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 687 กก./ไร่ ทั้งพื้นที่และผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.52 และ 1.31 ตามลำดับ โดยพื้นที่ลดลงเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณน้ำธรรมชาติและน้ำนอนคลองมีน้อยไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกข้าว รวมทั้งรัฐมีนโยบายขอให้งดการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 แต่ราคาข้าวยังสูงมากจูงใจให้เกษตรกรลดการปลูกเพียงเล็กน้อย ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 8 กก./ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.18 เนื่องจากเกษตรกรมีการดูแลปรับโครงสร้างดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือน ก.พ.53 และเก็บเกี่ยวมากที่สุดในเดือน เม.ย. และ พ.ค. 53 ประมาณ 4.002 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 48.20ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งในช่วงดังกล่าวราคามักจะตกต่ำเป็นประจำเนื่องจากกระจุกตัว รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 52 เห็นชอบให้มีการประกันรายได้ให้กับเกษตรกรในการปลูกข้าว ปี 2552/53 รอบที่ 2 (หรือข้าวนาปรังปี 53) นี้ ซึ่งการประกันรายได้รอบนี้ กขช. ได้กำหนดชนิดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ ต้องเป็นพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวรับรอง จึงจะเข้าร่วมโครงการได้
ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2553 ควรตรวจสอบพันธุ์ข้าวของท่านว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวรับรองหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ควรรีบเปลี่ยนให้เป็นพันธุ์ที่ได้รับการรับรอง เพื่อจะได้เข้าร่วมโครงการได้
ข้อควรระวัง ข้าวที่ห้ามเข้าร่วมโครงการฯโดยเด็ดขาด ได้แก่ ข้าวอายุสั้น 75 วันที่มีเมล็ดสั้น เนื่องจากรัฐฯต้องการให้มีการพัฒนาการผลิตข้าวคุณภาพดีที่ตลาดต้องการ ราคาสูง และไม่มีปัญหาการตลาด
รายชื่อพันธุ์ข้าวที่ทางราชการรับรอง ชนิดข้าวเจ้า ประเภทไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ในข้าวรอบ 2
(ไม่รวม พันธุ์ปทุมธานี 1)
ลำดับที่ ชื่อพันธุ์ อายุเก็บเกี่ยว ความสูง ความยาวเมล็ด(มม.) ผลผลิต
(วัน) (ซม.) ข้าวกล้อง ข้าวเปลือก (กก./ไร่)
1 กข1 125 115 7 10 742 2 กข3 120 100 7 10 667 3 กข7 120 115 7 9.7 672 4 กข9 115 105 7 10 657 5 กข11 135 115 8 11 700 6 กข21 120 100-125 7 10 700 7 กข23 120 115-120 7 9.9 800 8 กข25 100 100 7 10 650 9 กข29 (ชัยนาท 80) 109 100 7 9.5 876 10 กข31 (ปทุมธานี 80) 121 117 7 10 738-745 11 กข33 (เหนียวอุบล 80) 130 154 8 11 493 12 กข37 118 105 8 11 602 13 กข39 130 95-116 8 11 577 14 กข41 115 104 8 11 894 15 กข43 105 103 8 11 561 16 ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 120 110 8 11 650 17 ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 120 126 8 11 582 18 ชัยนาท 1 120 113 8 10 740 19 ชัยนาท 2 113 83-95 8 11 657 20 บางแตน 105 110 8 10 705-827 21 พัทลุง 113 104 8 9.6 714 22 พิษณุโลก 2 120 114 8 11 807 23 พิษณุโลก 60-2 130 120-130 7 9.8 740 24 สุพรรณบุรี 1 120 125 7 10 806 25 สุพรรณบุรี 2 115 122 7 9.9 700 26 สุพรรณบุรี 3 120 114 8 11 772 27 สุพรรณบุรี 60 120 133 8 10 700 28 สุพรรณบุรี 90 120 120 7 10 600 29 สุรินทร์ 1 140 122 7 10 718
1.2 การตลาด
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน 31 มีนาคม 2553 )
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ข้าวเปลือกนาปี) ปีการผลิต 2552/53
(ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552)
ประเด็น จำนวนจังหวัด จำนวนราย ฐานข้อมูล (สศก.) 76 3,715,326 (ครัวเรือน) ผ่านการรับรองโดยประชาคม 3,227,952 ธกส. จัดทำสัญญาประกันรายได้ 3,124,793 ธกส.อนุมัติแล้ว 2,746,921 รัฐบาลจ่ายส่วนต่างให้แก่เกษตรแล้ว 19,117,912,064 บาท
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 1 ม.ค. 53 ดังตาราง ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล
(บาท /ตัน)
ชนิดพืช ราคาประกัน ประจำวันที่ 16 ธ.ค.52 ประจำวันที่ 1 ม.ค.53 ณ ความชื้น (ช่วงวันที่ 16 - 31 ธ.ค.52) (ช่วงวันที่ 1 - 15 ม.ค.53) ไม่เกิน 15% ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ข้าวนาปี 1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15 15,300 14,895 -405 15,365 - 2) ข้าวหอมจังหวัด 14,300 14,503 - 14,757 - 3) ปทุมธานี 1 10,000 12,072 - 12,198 - 4) ข้าวขาว 10,000 10,212 - 10,072 - 5) ข้าวเหนียว 9,500 11,533 - 11,706 - ราคารับซื้อข้าวที่อายุต่ำกว่า 100 วัน ความชื้นไม่เกิน 15% ความชื้นไม่เกิน 25% ความชื้นไม่เกิน 15% ความชื้นไม่เกิน 25% 1) ราคาข้าว 10% 10,012 8,510.20 2) ราคาข้าว 25% 9,612 8,170.20
1.2.3 โครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี 2552/53
ตามมติ กขช. วันที่ 19 ต.ค. 52 และ มติครม. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 52 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาต่ำ
- เป้าหมาย ให้โรงสีเอกชนและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ อตก. รับซื้อข้าวจากเกษตรกรตามราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
- เริ่มดำเนินการแทรกแซงรับซื้อในวันที่ 2 พ.ย. 52
- ผล ณ วันที่ 24 พ.ย. 52
- มีโรงสีที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ รวม 632 แห่ง (อคส. จำนวน 487 โรง, อ.ต.ก. จำนวน 145 โรง) ได้รับอนุมัติเปิดจุด 220 แห่ง 39 จังหวัด เปิดจุดรับซื้อแล้ว จำนวน 46 แห่ง ใน 16 จังหวัด
- ผลการรับซื้อ อคส. ได้รับซื้อข้าวเปลือกเจ้า 5% แล้วปริมาณ 516.29 ตัน ที่จังหวัดสุโขทัย
- มติ ครม. เมื่อ 22 ธ.ค. 52 เห็นชอบให้ระงับการแทรกแซงรับซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ เนื่องจากราคาอ้างอิงสูงกว่าราคาประกัน
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในช่วงสัปดาห์นี้ ตลาดส่วนใหญ่ยังไม่เปิดดำเนินการเนื่องจากหยุดเทศกาลคริสมัส และปีใหม่ พ่อค้าส่วนใหญ่ไม่ออกมารับซื้อข้าวเพื่อส่งออก ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้า และข้าวสารเจ้า 5% ราคาอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปี ปี2553 ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางยังคงออกสู่ตลาดมาก เกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวดจึงทำให้ความชื้นสูง อีกทั้งยังกระทบกับภาวะอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลให้ในบางจังหวัดมีฝนตกลงมาและบางพื้นที่มีหมอกหนาข้าวมีความชื้นสูงและป่น พ่อค้าโรงสีจึงกดราคาซื้อถูกลง ยกเว้น ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากเกษตรกรได้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 ข้าวเปลือกในตลาดเหลือน้อย ข้าวส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้ายุ้งฉาง และเกษตรกรบางส่วนใ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 17 ธันวาคม 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 8,236,067 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 9,747,592 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.51 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,202 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,393 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,696 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,231 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,210 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,393 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,696 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.
*** ราคาในช่วง 28 ธ.ค. 52 — 3 ม.ค. 53 ไม่มีรายงานราคาเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลคริสมัส และปีใหม่ 2552
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ฟิลิปปินส์และเวียดนามร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีข้าว
รัฐบาลของฟิลิปปินส์และเวียดนามได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีในการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพ มีความสามารถในการต้านทานโรคและวัชพืช และมีการปรับตัวได้ดี เพื่อเพิ่มการผลิตอาหารหลักของประเทศ
กิจกรรมการวิจัยประกอบด้วยวิธี Palay Check และการบริหารจัดการวัชพืชแบบองค์รวม (Integrated Pest Management: IPM) ในการเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือก ซึ่งวิธี PalayCheck เป็นวิธีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในขณะที่ IPM ใช้การจัดการทางการเกษตรและชีววิทยาประกอบกัน
จากข้อมูลที่ผ่านมา พบว่า เวียดนามเป็นแหล่งนำเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการนำเข้ามากถึง 2.4 ล้านตัน และจะมีการนำเข้าอีกประมาณ 2 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากประสบปัญหาพายุไต้ฝุ่น ซึ่งทำลายข้าวจำนวนมากของฟิลิปปินส์ ประมาณ 1.3 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 0.85 ล้านตันของข้าวที่สีแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงปี 2553
(ที่มา: Business Mirror วันที่: 28 ธันวาคม 2552)
2.2 เวียดนามเตรียมส่งออกข้าวล็อตใหญ่ให้สหรัฐอเมริกา
บริษัทเทียนเจียง ฟู้ด คอมพานี ผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของเวียดนามเตรียมเพิ่มการส่งออกข้าวคุณภาพไปสหรัฐปริมาณ 110 ตัน ในสิ้นเดือนธันวาคม 2552 นี้ ซึ่งถ้านับตั้งแต่ต้น 2552 นี้ ทางบริษัทได้มีการส่งออกข้าวไปแล้ว 130,000 ตัน โดย 30,000 ตัน (มูลค่า 1,723.91 ล้านบาท หรือ 52 ล้านเหรียญสหรัฐ) นั้นเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ข้าวที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม ได้แก่ “9 Golden Dragon”, “Huong Viet” และ “Nang Thom Cho Dao” ซึ่งได้ส่งออกไปหลายทวีป ได้แก่ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา นอกจากนี้ ยังส่งขายตลาดในประเทศมากกว่า 100,000 ตัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการตลาด และให้เพียงพอต่อความต้องการในทางตอนใต้ของประเทศ รวมทั้งยังวางแผนในการสร้างเสถียรภาพอุปทานข้าวคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้าด้วย
เพื่อให้การผลิตและการดำเนินธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ ทางบริษัทได้มีการลงทุนในหลายเรื่อง อาทิ ระบบคลังสินค้า การสีข้าว กระบวนการด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งบริษัทคาดหวังว่าจะสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 6-6.2 ล้านตันในปีนี้ ซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่มากที่สุดที่เคยทำได้ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทแห่งเวียดนามได้ประมาณการผลผลิตข้าวที่ยังไม่ได้ขัดสีว่าจะมีประมาณ 38.9 ล้านตัน ในปี 2552 ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลผลิตอยู่ที่ 38.6 ล้านตัน
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,202 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,393 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,696 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,231 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,210 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,393 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,696 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.
*** ราคาในช่วง 28 ธ.ค. 52 — 3 ม.ค. 53 ไม่มีรายงานราคาเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลคริสมัส และปีใหม่ 2552
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ฟิลิปปินส์และเวียดนามร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีข้าว
รัฐบาลของฟิลิปปินส์และเวียดนามได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีในการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพ มีความสามารถในการต้านทานโรคและวัชพืช และมีการปรับตัวได้ดี เพื่อเพิ่มการผลิตอาหารหลักของประเทศ
กิจกรรมการวิจัยประกอบด้วยวิธี Palay Check และการบริหารจัดการวัชพืชแบบองค์รวม (Integrated Pest Management: IPM) ในการเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือก ซึ่งวิธี PalayCheck เป็นวิธีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในขณะที่ IPM ใช้การจัดการทางการเกษตรและชีววิทยาประกอบกัน
จากข้อมูลที่ผ่านมา พบว่า เวียดนามเป็นแหล่งนำเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการนำเข้ามากถึง 2.4 ล้านตัน และจะมีการนำเข้าอีกประมาณ 2 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากประสบปัญหาพายุไต้ฝุ่น ซึ่งทำลายข้าวจำนวนมากของฟิลิปปินส์ ประมาณ 1.3 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 0.85 ล้านตันของข้าวที่สีแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงปี 2553
(ที่มา: Business Mirror วันที่: 28 ธันวาคม 2552)
2.2 เวียดนามเตรียมส่งออกข้าวล็อตใหญ่ให้สหรัฐอเมริกา
บริษัทเทียนเจียง ฟู้ด คอมพานี ผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของเวียดนามเตรียมเพิ่มการส่งออกข้าวคุณภาพไปสหรัฐปริมาณ 110 ตัน ในสิ้นเดือนธันวาคม 2552 นี้ ซึ่งถ้านับตั้งแต่ต้น 2552 นี้ ทางบริษัทได้มีการส่งออกข้าวไปแล้ว 130,000 ตัน โดย 30,000 ตัน (มูลค่า 1,723.91 ล้านบาท หรือ 52 ล้านเหรียญสหรัฐ) นั้นเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ข้าวที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม ได้แก่ “9 Golden Dragon”, “Huong Viet” และ “Nang Thom Cho Dao” ซึ่งได้ส่งออกไปหลายทวีป ได้แก่ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา นอกจากนี้ ยังส่งขายตลาดในประเทศมากกว่า 100,000 ตัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการตลาด และให้เพียงพอต่อความต้องการในทางตอนใต้ของประเทศ รวมทั้งยังวางแผนในการสร้างเสถียรภาพอุปทานข้าวคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้าด้วย
เพื่อให้การผลิตและการดำเนินธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ ทางบริษัทได้มีการลงทุนในหลายเรื่อง อาทิ ระบบคลังสินค้า การสีข้าว กระบวนการด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งบริษัทคาดหวังว่าจะสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 6-6.2 ล้านตันในปีนี้ ซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่มากที่สุดที่เคยทำได้ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทแห่งเวียดนามได้ประมาณการผลผลิตข้าวที่ยังไม่ได้ขัดสีว่าจะมีประมาณ 38.9 ล้านตัน ในปี 2552 ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลผลิตอยู่ที่ 38.6 ล้านตัน
2.4 ความล่าช้าในการวิจัยข้าวสายพันธุ์ Bt อาจส่งผลกระทบต่ออินเดีย
แม้ว่าอินเดียจะมีสถาบันในการวิจัยและพัฒนาที่หลากหลายในการทดสอบข้าว แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีสถาบันใดทำการวิจัยและพัฒนาข้าว Bt*ในขณะที่จีนได้ก้าวนำหน้าไป 1 ก้าว จากการที่เป็นประเทศแรกในการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวโดยวิธี Bio Safety Approval (BSA) ซึ่งคาดการณ์ว่าอีกประมาณ 1-2 ปี จีนจะสามารถผลิตข้าวสายพันธุ์ Bt ที่ต้านทานโรคและแมลง ปลอดภัยในทุกด้าน และไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูกและเพิ่มศักยภาพในการผลิตได้ดียิ่งขึ้น
- ข้าว Bt (Bt Rice) คือ ข้าวที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมโดยวิธีเทคโนโลยีชีวภาพ โดยการใช้ยีนส์จากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) ในการผลิตพิษขึ้นมาต่อต้านแมลง
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0367 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2552 -3 มกราคม 2553--