1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม —
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้น
ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ข้าวเปลือกนาปี) ปีการผลิต 2552/53
(ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552)
ประเด็น จำนวนจังหวัด จำนวนราย ฐานข้อมูล (สศก.) 76 3,715,326 (ครัวเรือน) ผ่านการรับรองโดยประชาคม (ราย) 3,265,984 ธกส. ทำสัญญาทั้งหมด 3,136,998 ธกส. อนุมัติแล้ว 2,828,908 รัฐบาลจ่ายส่วนต่างให้แก่เกษตรแล้ว 20,529,266,367 บาท
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล
ชนิดพืช ราคาประกัน ประจำวันที่ 16 ธ.ค.52 ประจำวันที่ 1 ม.ค.53 ณ ความชื้น (ช่วงวันที่ 16 - 31 ธ.ค.52) (ช่วงวันที่ 1 - 15 ม.ค.53) ไม่เกิน 15% ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ข้าวนาปี 1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15 15,300 14,895 -405 15,365 - 2) ข้าวหอมจังหวัด 14,300 14,503 - 14,757 - 3) ปทุมธานี 1 10,000 12,072 - 12,198 - 4) ข้าวขาว 10,000 10,212 - 10,072 - 5) ข้าวเหนียว 9,500 11,533 - 11,706 - ราคารับซื้อข้าวที่อายุต่ำกว่า 100 วัน ความชื้นไม่เกิน 15% ความชื้นไม่เกิน 25% ความชื้นไม่เกิน 15% ความชื้นไม่เกิน 25% 1) ราคาข้าว 10% 2) ราคาข้าว 25% 10,012 8,510.20 - - 9,612 8,170.20 - -
1.2.2 โครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี 2552/53
ตามมติ กขช. วันที่ 19 ต.ค. 52 และ มติครม. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 52 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินโครงการเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาต่ำ
เป้าหมาย ให้โรงสีเอกชนและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ อตก. รับซื้อข้าวจากเกษตรกรตามราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
เริ่มดำเนินการแทรกแซงรับซื้อในวันที่ 2 พ.ย. 52
ผล ณ วันที่ 24 พ.ย. 52
- มีโรงสีที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ รวม 632 แห่ง (อคส. จำนวน 487 โรง, อ.ต.ก. จำนวน 145 โรง) ได้รับอนุมัติเปิดจุด
- ผลการรับซื้อ อคส. ได้รับซื้อข้าวเปลือกเจ้า 5% แล้วปริมาณ 516.29 ตัน ที่จังหวัดสุโขทัย
- มติ ครม. เมื่อ 22 ธ.ค. 52 เห็นชอบให้ระงับการแทรกแซงรับซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ เนื่องจากราคาอ้างอิงสูงกว่าราคาประกัน
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนในทุกภาค ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจการค้า ข้าวเริ่มเปิดดำเนินการหลังจากหยุดเทศกาลคริสมัสและต่อเนื่องปีใหม่ พ.ศ. 2553 และเรือต่างชาติได้ทยอยเข้ามารับข้าวบ้างแล้ว ส่วนข้าวเปลือก 5% ที่เกษตรกรขายได้ราคาอ่อนลงเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวดข้าวความชื้นสูง ประกอบกับมีฝนตกลงมาในช่วงนี้ข้าวโดนฝน และในช่วง เช้าน้ำค้างและหมอกลงหนา และในช่วงบ่ายแดดจัด ส่งผลให้ข้าวของเกษตรกรป่นพ่อค้าโรงสีจึงให้ราคาต่ำลงเล็กน้อย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 ธันวาคม 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 8,568,343 ตันข้าวสาร ลดลง จาก 10,011,035 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.41 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,324 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,202 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,385 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,393 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.09
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,699 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,231 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,385 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,393 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,050 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,021 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,640 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 1,018 ดอลล่าร์สหรัฐ (33,631 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาท ตันละ 9 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,467 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 861 ดอลล่า ร์สหรัฐ (28,445 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,978 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,468บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.04 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 510 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,089 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 649 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 619 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,395 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 602 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (19,888 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 507 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9478 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ฟิลิปปินส์ลดภาษีการนำเข้าข้าวเป็น 0% ให้แก่ไทยจำนวน 370,000 ตัน
จากกรณีที่ความตกลงภายใต้ AFTA ได้เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิกได้มีความตกลงให้ แต่ละประเทศลดภาษีการนำเข้าสินค้าทั้งหมดให้เป็น 0% แต่ยังเกิดประเด็นปัญหาของประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ยังยื้อการลดภาษี การนำเข้าข้าวอยู่ โดยอ้างว่าเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensilive List: SL) นั้น ล่าสุดไทยได้ยื่นข้อเสนอให้ฟิลิปปินส์ลดภาษีการนำเข้าข้าว เป็น 0% ให้แก่ไทย จำนวน 370,000 ตัน (ในโควต้า) ซึ่งเป็นปริมาณที่ได้จากการคำนวณการส่งออกข้าวเฉลี่ย 3 ปี ให้แก่ฟิลิปปินส์ ซึ่งทางประเทศ ฟิลิปปินส์ได้ยอมรับตามข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ปริมาณการนำเข้าที่เกินจากที่กำหนดจะยังให้ใช้ภาษีในอัตราร้อยละ 40 โดยรายละเอียดร่างข้อเสนอดัง กล่าวได้ครอบคลุมรายละเอียดอัตราการลดภาษี ดังนี้
อนึ่ง ร่างความตกลงในการชดเชยข้างต้นกำลังจะแล้วเสร็จ และจะนำเสนอเข้าสภาเพื่อการตรวจสอบและดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ทางกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ได้จัดการประชุมพบปะผู้ประกอบการค้าข้าวและผู้ส่งออก เพื่ออธิบายและทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การนำเข้าของ รัฐบาล มาตรการป้องกันข้าวคุณภาพต่ำจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นทางผ่านในการส่งขายต่อไปยังประเทศที่สาม โดยใช้ชื่อข้าวไทย อันจะทำลายภาพลักษณ์สินค้าของประเทศ รวมทั้งได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการนำเข้าข้าวที่จะต้องผ่านการตรวจสอบจากกรมการค้า ต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สินค้าจะต้องได้มาตรฐานถูกสุขอนามัย (SPS) และกฎระเบียบต่างๆ อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์จะทำการตรวจสอบโดยส่งผู้ เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้า สามารถติดต่อและร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1385
2.1 ยีนส์ข้าวของประเทศจีน
ประเทศจีนจะเป็นประเทศแรกที่สามารถปลูกข้าวตัดแต่งพันธุกรรม (Genetically modified organism: GMOs) เพื่อการค้า เนื่อง จากจีนจะอนุญาตให้มีการปลูกข้าวดังกล่าวในต้นปี 2554 ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองสำหรับข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้ ซึ่งมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Huahui 1 และ Bt Shanyou 63 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มี โปรตีน Bt จากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ช่วยป้องกันแมลงกัดเจาะ ซึ่งเป็น ปัญหาที่สำคัญของการปลูกข้าวในจีน ทั้งนี้ จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2 ปีนี้ (2554)
ปี อัตราภาษีนำเข้าข้าว (ร้อยละ) 2552 - 2554 38 2555 28 2556 18 2557 10 2558 5
อนึ่ง การค้าข้าวตัดแต่งพันธุกรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรชาวจีนและลดอันตรายจากยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute: IRRI) ได้ให้ความเห็นว่า การใช้เทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดลักษณะพิเศษได้ โดยในปีนี้เกษตรกรอินเดียและฟิลิปปินส์จะเริ่มได้รับข้าวที่ทนต่อน้ำท่วม ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) อย่างไรก็ตาม ข้าวดังกล่าวไม่ใช่ข้าวตัดแต่งพันธุกรรมแต่ได้จากการศึกษาเทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรม
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 มกราคม 2553--