1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม —
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้น
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31
พฤษภาคม 2553
ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ข้าวเปลือกนาปี) ปีการผลิต 2552/53
(ณ วันที่ 13 มกราคม 2553)
ประเด็น จำนวนจังหวัด จำนวนราย ฐานข้อมูล (สศก.) 76 3,715,326 (ครัวเรือน) ผ่านการรับรองโดยประชาคม (ราย) 3,265,989 ธกส. ทำสัญญาทั้งหมด 3,139,908 ธกส. อนุมัติแล้ว 2,865,962 รัฐบาลจ่ายส่วนต่างให้แก่เกษตรแล้ว 21,113,959,712 บาท
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล
(บาท /ตัน)
ชนิดพืช ราคาประกัน ประจำวันที่ 16 ธ.ค.52 ประจำวันที่ 1 ม.ค.53 ณ ความชื้น (ช่วงวันที่ 16 - 31 ธ.ค.52) (ช่วงวันที่ 1 - 15 ม.ค.53) ไม่เกิน 15% ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ราคาอ้างอิง ผลต่างราคาประกัน ข้าวนาปี 1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15 15,300 14,895 -405 15,365 - 2) ข้าวหอมจังหวัด 14,300 14,503 - 14,757 - 3) ปทุมธานี 1 10,000 12,072 - 12,198 - 4) ข้าวขาว 10,000 10,212 - 10,072 - 5) ข้าวเหนียว 9,500 11,533 - 11,706 - ราคารับซื้อข้าวที่อายุต่ำกว่า 100 วัน ความชื้นไม่เกิน15% ความชื้นไม่เกิน25% ความชื้นไม่เกิน15% ความชื้นไม่เกิน25% 1) ราคาข้าว 10% 2) ราคาข้าว 25% 10,012 8,510.20 - - 9,612 8,170.20 - -
1.2.2 โครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี 2552/53
ตามมติ กขช. วันที่ 19 ต.ค. 52 และ มติครม. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 52 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินโครงการเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาต่ำ
- เป้าหมาย ให้โรงสีเอกชนและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ อตก. รับซื้อข้าวจากเกษตรกรตามราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
- เริ่มดำเนินการแทรกแซงรับซื้อในวันที่ 2 พ.ย. 52
- ผล ณ วันที่ 24 พ.ย. 52
- มีโรงสีที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ รวม 632 แห่ง (อคส. จำนวน 487 โรง, อ.ต.ก. จำนวน 145 โรง) ได้รับ
- ผลการรับซื้อ อคส. ได้รับซื้อข้าวเปลือกเจ้า 5% แล้วปริมาณ 516.29 ตัน ที่จังหวัดสุโขทัย
- มติ ครม. เมื่อ 22 ธ.ค. 52 เห็นชอบให้ระงับการแทรกแซงรับซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้ เนื่องจากราคาอ้างอิงสูงกว่า
ราคาประกัน
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในช่วงสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ส่งส่วนใหญ่ต่างรอการประมูลข้าวจากภาครัฐ รวมทั้งที่ผ่านมาได้ทำการสั่งซื้อข้าวเพื่อเก็บเข้าสต๊อคไว้เตรียมส่งมอบในปริมาณที่เพียงพอแล้ว จึงชะลอการสั่งซื้อ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 8 มกราคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 119,945 ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 83,208 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 44.15 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,324 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,272 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,385 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.21
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,924 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,699 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,272 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,385 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,030 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,350 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,024 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,602 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 1,021 ดอลล่าร์สหรัฐ (33,640 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 แต่ลดลงในรูปของเงินบาท ตันละ 38 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 851 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,925 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 864 ดอลล่าร์ สหรัฐ (28,467 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 542 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,934 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,978บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,571 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 167 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 621 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,378 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 619 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (20,395 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.8145 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับพุ่งขึ้นเกือบ 20,000 บาท/ตัน
จากสถานการณ์ภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วม และพายุไต้ฝุ่นที่ทำลายผลผลิตข้าวรุนแรงในหลายประเทศ อาทิ อินเดีย และฟิลิปปินส์ ทำให้หลาย ประเทศมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น จากสาเหตุดังกล่าว สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute: IRRI) คาดการณ์ว่าราคาข้าวส่งออกมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับประมาณ 600 ดอลลาร์/ตัน (19,688.76 บาท/ตัน) ในระยะอัน ใกล้นี้ ซึ่งดัชนีราคาข้าวเอเชียในไทย ขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 607 ดอลลาร์/ตัน (19,918.46 บาท/ตัน) จาก 525 ดอลลาร์/ตัน (17,227.67 บาท/ ตัน) เมื่อปี 2552 อันเป็นผลมาจากการเข้าซื้อข้าวล่วงหน้าของฟิลิปปินส์ และกรณีอินเดียอาจเปลี่ยนสถานะเป็นผู้นำเข้า
ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประมาณการว่า ใน ช่วงปลายฤดูเพาะปลูกปี 2552-2553 ปริมาณข้าวสำรองทั่วโลกจะลดลง 2.7% มาอยู่ที่ 121.1 ล้านตัน เนื่องจากหลายประเทศ รวมถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ อิรัก เนปาล และปากีสถาน มีผลผลิตน้อยลง นอกจากนี้ปริมาณข้าวสำรองของหลายประเทศ ยกเว้นไทยจะไม่ออกสู่ตลาด และในส่วนของ อินเดียถ้ามีการปล่อยข้าวสำรองข้าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ปัจจุบันมี 42 ล้านตัน และมีความต้องการในประเทศ 25 ล้านตัน) ก็จะช่วยลดปัจจัยที่จะผลักดัน ราคาส่งออกข้าวในตลาดโลกได้ทางหนึ่ง นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตข้าวสหรัฐ ยังระบุว่า ฟิลิปปินส์อาจจำเป็นต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เพิ่มอีกราว 500,000-1 ล้านตัน เพิ่มเติมจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2552
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 11 - 17 มกราคม 2553--