ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวทั่วไป Wednesday January 27, 2010 13:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 95.34 บาท/กิโลกรัม

1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาร่างยุทธศาสตร์พัฒนายางพารา ปี 2552 - 2557 หลังคณะกรรมการฯ มอบให้กรมวิชาการเกษตรนำร่างฯ ไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากที่คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบแล้ว โดยให้กรมวิชาการเกษตรเพิ่มเติมแนวทาง/มาตรการในกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้

1. กลยุทธ์พัฒนาระบบตลาดยางในประเทศและต่างประเทศให้เพิ่มขึ้น

1.1 สร้างกลไกการวิเคราะห์สถานการณ์เร่งด่วนเพื่อกำหนดเป้าหมายชี้นำ และการแจ้งทางสื่อต่างๆ เพื่อกระตุ้นผู้เกี่ยวข้องเตรียมการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ราคาน้ำมัน การลงทุนขนาดใหญ่ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ

1.2 เชื่อมโยงตลาดกลางยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจัดตั้งตลาดกลางยางพาราภาคเหนือและตลาดกลางไม้ยางพาราในภาคใต้

1.3 พัฒนาตลาดซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นศูนย์กลางของตลาดยางพาราในภูมิภาคและใช้อ้างอิงเป็นตลาดหลักของโลก

1.4 พัฒนาตลาดกลางยางพาราให้มีการซื้อขายยางแบบทำสัญญาล่วงหน้าและส่งมอบจริง

1.5 กำหนดแผนรองรับความผันผวนของราคายาง เช่น การบริหารจัดการสต็อกยางพาราในประเทศ สร้างกลไกการวิเคราะห์สภาพการณ์เร่งด่วนให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเก็บเงินสงเคราะห์การปลูกแทนในอัตราก้าวหน้า

1.6 การรักษาเสถียรภาพราคายางทั้งภายใต้กรอบความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศและดำเนินการเป็นการภายในประเทศโดยประกันรายได้ผ่านกลไกการใช้เงิน cess

2. กลยุทธ์ปรับปรุงระบบบริหารจัดการภาครัฐให้เพิ่มขึ้น

2.1 ตราพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยและจัดทำประชาพิจารณ์ถึงผลได้ผลเสียและการบริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ภาครัฐให้รอบคอบ

1.1 ปรับปรุงกฎกระทรวงและ พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยบริหารการเก็บเงินสงเคราะห์ปลูกแทนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ราคายางและปรับปรุง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางให้สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดสวัสดิการและรักษาเสถียรภาพราคายางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

3. กลยุทธ์เสริมรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง โดยผลักดันการเพิ่มรายได้และเก็บผลประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตแก่เกษตรกรทั้งหมดภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาดหรือภายใต้การตลาดแบบสมัครใจ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.35 บาท สูงขึ้นจาก 90.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.21 บาท หรือร้อยละ 3.56

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.85 บาท สูงขึ้นจาก 89.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.21 บาท หรือร้อยละ 3.58

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.35 บาท สูงขึ้นจาก 89.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.21 บาท หรือร้อยละ 3.60

4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.25 บาท สูงขึ้นจาก 88.82 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.43 บาท หรือร้อยละ 3.86

5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.17 บาท สูงขึ้นจาก 87.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.52 บาท หรือร้อยละ 4.02

6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.08 บาท สูงขึ้นจาก 86.55 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.53 บาท หรือร้อยละ 4.08

7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.94 บาท สูงขึ้นจาก 46.30 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.64 บาท หรือร้อยละ 5.70

8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.73 บาท สูงขึ้นจาก 42.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.08 บาท หรือร้อยละ 7.22

9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.18 บาท สูงขึ้นจาก 85.11 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.07 บาท หรือร้อยละ 3.61

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2553

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.20 บาท สูงขึ้นจาก 103.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.92 บาท หรือร้อยละ 2.83

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.05 บาท สูงขึ้นจาก 102.12 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.93 บาท หรือร้อยละ 2.87

1. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.92 บาท สูงขึ้นจาก 65.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.07 บาท หรือร้อยละ 3.14

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.95 บาท สูงขึ้นจาก 103.03 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.92 บาท หรือร้อยละ 2.83

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.80 บาท สูงขึ้นจาก 101.88 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.92 บาท หรือร้อยละ 2.87

3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.67 บาท สูงขึ้นจาก 65.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.03 หรือร้อยละ 3.09

2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

ITRC ( The International Tripartie Rubber Council ) เปิดเผยในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เมื่อวันที่ 17—19 มกราคม 2553 ว่า IRTC ได้รับเวียดนามเข้าเป็นประเทศสมาชิกล่าสุดของ ITRC เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากหลายปีที่มาเวียดนามมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางธรรมชาติ รวมทั้งได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตอีกด้วย ซึ่งการรับประเทศเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกจะทำให้ ITRC ต้องดูผลผลิตยางพาราประมาณร้อยละ 84 ของผลผลิตโลก

ในปี 2552 เวียดนามส่งออกยางพารา 645,000 ตัน เพิ่มขึ้น 619,300 ของปีที่แล้วร้อยละ 4 ในปี 2553 เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายที่จะส่งออกยางประมาณ 680,000 ตัน และต้องการไต่ลำดับขึ้นเป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 แทนที่ประเทศมาเลเซีย

นอกจากนี้ เวียดนามได้ขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว 30,000 เฮกแตร์ (187,500 ไร่ ) และปีนี้คาดว่าจะขยายพื้นที่อีก 30,000 เฮกแตร์ (187,500 ไร่) ส่งผลให้พื้นที่การปลูกยางทั้งประเทศเป็น 678,000 เฮกแตร์ (4,237,500 ไร่ ) และคาดว่าในปี 2558 พื้นที่ปลูกยางทั้งหมดจะมีประมาณ 800,000 เฮกแตร์ (ประมาณ 5,000,000 ไร่ ) ในปัจจุบันพื้นที่ให้ผลผลิตประมาณ 400,000 เฮกแตร์ ( ประมาณ 2,5000,000 ไร่ )

อนึ่งภาคเอกชนประเทศเวียดนามมีแผนขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชาและ สปป.ลาว ประเทศละ 100,000 เฮกแตร์ (ประมาณ 625,000 ไร่) ซึ่งขณะนี้ได้มีการปลูกยางพาราในกัมพูชาประมาณ 2,000 เฮกแตร์( ประมาณ 12,500 ไร่) และประมาณ 20,000 เฮกแตร์(ประมาณ 125,000 ไร ) ในสปป.ลาว แล้ว

ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2553

ยางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 319.10 เซนต์สหรัฐ (104.19 บาท) สูงขึ้นจาก 310.80 เซนต์สหรัฐ ( 101.91 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.30 เซนต์สหรัฐหรือร้อยละ 2.67

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 288.32 เยน ( 102.95 บาท) ลดลงจาก 288.50 เยน (102.63 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.18 เยน หรือร้อยละ 0.06

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18-24 มกราคม 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ