1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
รัฐบาลทุ่ม 24 ล้านจัดหาน้ำมันดีเซลให้ผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ต้นทุนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งสวนทางกับราคาซื้อขายผลผลิต ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เสนอต่อรัฐบาล เพื่อเร่งหาทางแก้ไข ล่าสุดภาครัฐมีมติให้จัดหาน้ำมันดีเซล B5 จำนวน 12 ล้านลิตร จำหน่ายให้เกษตรกรในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท โดยเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนตุลาคม 2553 สำหรับแนวทางการช่วยเหลือนั้น อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า จะพิจารณาจากปริมาณลูกกุ้ง และจำนวนเดือนที่จะเลี้ยงตามที่แจ้งในปริมาณที่ไม่เกิน 160 ลิตร/เดือน/ลูกกุ้ง 100,000 ตัว และหากลูกกุ้งไม่ครบตามจำนวนดังกล่าวให้คิดตามสัดส่วน โดยไม่มีการจัดสรรย้อนหลังในเดือนที่เลี้ยงไปแล้ว ซึ่งการช่วยเหลือจะอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงมีฟาร์มเลี้ยงไม่เกิน 50 ไร่/ราย มีการเลี้ยงจริงในขณะนั้น และต้องไม่ใช้ไฟฟ้าอย่างเดียวในระกระบวนการผลิต
อย่างไรก็ตาม คชก. ยังได้อนุมัติเงินจ่ายชดเชยราคาน้ำมัน จำนวน 24 ล้านบาทให้กับกรมประมง
คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลรายย่อยได้ประมาณร้อยละ 90 จากจำนวนของผู้ที่ได้ลงทะเบียนที่มีมากกว่า 30,000 รายในขณะนี้ที่ต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท โดยเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือน ฐบาล เพื่อเร่งหา
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(23 — 31 ธ.ค. 2552) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,287.06 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 820.21 ตัน สัตว์น้ำจืด 466.85 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.91 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.12 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 144.77 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.25 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 116.57 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ112.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 106.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.52 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.76 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.47 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 - 22 ม.ค. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.37 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18-24 มกราคม 2553--