1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1)
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม —
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้น
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31
พฤษภาคม 2553
ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ข้าวเปลือกนาปี) ปีการผลิต 2552/53 (รอบ 1)
(ณ วันที่ 20 มกราคม 2553)
ประเด็น จำนวนจังหวัด จำนวนราย ฐานข้อมูล (สศก.) 76 3,715,326 (ครัวเรือน) ผ่านการรับรองโดยประชาคม (ราย) 3,353,491 ธกส. ทำสัญญาทั้งหมด 3,160,421 ธกส. อนุมัติแล้ว 2,904,030 รัฐบาลจ่ายส่วนต่างให้แก่เกษตรแล้ว 21,843,785,484 บาท
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 16 ม.ค. 53 ดังตาราง
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 (รอบ 1) และการจ่ายเงินชดเชย
(บาท /ตัน)
ชนิดพืช ราคาประกัน ประจำวันที่ 1 ม.ค.53 ประจำวันที่ 16 ม.ค.53 ณ ความชื้น (ช่วงวันที่ 1 - 15 ม.ค.53) (ช่วงวันที่ 16 - 31 ม.ค.53) ไม่เกิน 15% ราคาอ้างอิง การจ่ายเงินชดเชย ราคาอ้างอิง การจ่ายเงินชดเชย ข้าวรอบ 1 1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15 15,300 15,369 - 15,073 227 2) ข้าวหอมจังหวัด 14,300 14,757 - 14,548 - 3) ปทุมธานี 1 10,000 12,198 - 12,076 - 4) ข้าวขาว 10,000 10,072 - 10,164 - 5) ข้าวเหนียว 9,500 11,706 - 11,486 -
1.1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
- ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
- ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)
- การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน)ดังตาราง
ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 (รอบ 2) และการจ่ายเงินชดเชย
(บาท /ตัน)
ชนิดพืช ราคาประกัน ประจำวันที่ 16 ม.ค.53 ณ ความชื้น (ช่วงวันที่ 16 - 31 ม.ค.53) ไม่เกิน 15% ราคาอ้างอิง การจ่ายเงินชดเชย
ข้าวรอบ 2
1) ปทุมธานี 1 11,000 12,076 - 2) ข้าวขาว 10,000 10,164 - 3) ข้าวเหนียว 9,500 11,486 -
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาในช่วงสัปดาห์นี้ราคามีแนวโน้มลดลงในทุกตลาด ทั้งนี้เนื่องจากพ่อค้าส่งออกชะลอการออกมารับซื้อ ข้าวจากเกษตรกร เนื่องจากต่างเตรียมประมูลข้าวของรัฐฯ ในโครงการรับจำนำที่ผ่านมา ส่งผลให้พ่อค้าโรงสีชะลอการรับซื้อข้าวจากเกษตรกร เนื่องจากต้องใช้เงินทุนมากส่งผลให้โรงสีซื้อรับซื้อในราคาต่ำ เพราะเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวด ประกอบกับสภาวะอากาศแปรปรวนมีฝนตกลงมาเล็ก น้อย จึงทำให้ข้าวมีความชื้นสูง พ่อค้ารถบรรทุกและโรงสีจึงกดราคาต่ำ ยกเว้น ข้าวหอมมะลินาปีที่เก็บเกี่ยวเสร็จตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 ในขณะที่ข้าวในตลาดเหลือน้อยราคาจึงสูงขึ้นเล็กน้อย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 15 มกราคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 337,007 ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 245,454 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 37.30 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,016 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,324 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 2.15
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,238 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,272 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.37
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,972 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,924 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,328 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,272 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,030 บาท ของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,028 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,560.19 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น จากตันละ 1,024 ดอลล่าร์สหรัฐ (33,429.61 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาท ตันละ 130.58 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,847.12 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 851 ดอลล่าร์สหรัฐ (27,781.83 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 65.29 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,412.40 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,836.80 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 424.40 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,323.05 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,486.28 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 163.23 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 607 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,816.18 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 621 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,273.23 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 457.05 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6461 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2552/53 ประจำเดือนมกราคม 2553 ว่าจะ มี 434.73 ล้านตันข้าวสาร (648.20 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 446.57 ล้านตันข้าวสาร (666.00 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2551/52 ร้อยละ 2.65 เนื่องจากการลดลงของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ปากีสถานฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย
2.2 การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2552/53 ณ เดือนมกราคม 2553 ว่าผลผลิต ปี 2552/53 จะมี 434.73 ล้านตันข้าวสาร(648.20 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.65 การใช้ในประเทศจะมี 436.47 ล้าน ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 การส่งออก/นำเข้าจะมี 30.77 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.64 และสต็อก ปลายปีคงเหลือ 90.66 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ปากีสถาน และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อียิปต์ อุรุกวัย เวียดนาม กายานา และอียู
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล คิวบา เม็กซิโก อิรัก จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ ซีเรีย เฮลติ และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ แคนาดา ไนจีเรีย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะมี สต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต๊อก คงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน เวียดนาม และสหรัฐฯ
2.3 คาดการณ์สถานการณ์ข้าวในต่างประเทศ ปี 2553
จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติในอินเดีย ฟิลิปปินส์ จีน และอีกหลายประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวของโลกลดลง โดยมีการประมาณการ จากกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ว่าผลผลิตข้าวโลกในปี 2553 จะลดลงจากปีก่อน (445.77 ล้านตัน) ลงมาอยู่ที่ 432.09 ล้านตัน อัตราการ บริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 436.84 ล้านตัน จากปีก่อนที่บริโภคอยู่ที่ 435.49 ล้านตัน และสต็อกข้าวลดลงจากปี 2552 ทีมีเก็บสะสมไว้ 90.67 ล้านตัน เหลือ 85.92 ล้านตันในปี 2553 ซึ่งมีการคาดการณ์ปริมาณการส่งออก/นำเข้า ของไทยและประเทศคู่ค้า/คู่แข่ง ในปี 2553 เปรียบเทียบกับปีที่ผ่าน มา มีดังนี้
ตารางแสดงการคาดการณ์ปริมาณการส่งออกปี 2553 เปรียบเทียบกับปี 2552 ของไทยและประเทศต่างๆ
ประเทศ ประมาณการปริมาณการส่งออกปี 2553(ล้านตัน) ปริมาณการส่งออก ปี 2552(ล้านตัน) ความเปลี่ยนแปลง ไทย 10 8.6 เพิ่มขึ้น เวียดนาม 5.5 5.8 ลดลง ปากีสถาน 3.3 3 เพิ่มขึ้น สหรัฐอเมริกา 3.05 3.1 ลดลง อินเดีย 1.5 2 ลดลง พม่า 1 1 เท่าเดิม กัมพูชา 0.8 0.8 เท่าเดิม
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
นอกจากนี้ ประเทศผู้นำเข้าข้าวสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ คาดปีนี้จะนำเข้า 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่นำเข้า 2 ล้านตัน อิหร่านนำเข้า 7 ล้านตัน ไนจีเรีย 1.6 ล้านตัน ซาอุดีอาระเบีย 1.4 ล้านตัน อิรัก 1.1 ล้านตัน มาเลเซีย 8.5 แสนตัน และแอฟริกาใต้ 8 แสนตัน
อนึ่ง หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จะเกิดประเด็นความไม่มั่นคงด้านอาหารขึ้น ความต้องการอาหารมีมากขึ้น ตลาดการซื้อขายข้าวของจะโลก คึกคักกว่าปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น การประกาศซื้อข้าวของประเทศผู้นำเข้า ประเทศผู้ผลิตหลายประเทศ ไม่เปิดเผยข้อมูลผลผลิตข้าวที่แท้จริง รวมทั้งกรณีเวียดนาม จีน และอินเดีย เตรียมพร้อมขยายพื้นที่การผลิตข้าว หากธรรมชาติเข้าสู่ภาวะปกติ ประเด็น ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาข้าวยังคงผันผวนอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อตัน (3,264.61 บาท/ตัน) ถือว่าเป็นอันตรายต่อการค้าข้าว ในส่วนของราคาส่งออกข้าวของไทย ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ ผ่านมา ข้าวขาว 5%, 25% และข้าวหอมมะลิ มีราคาอยู่ที่ 577, 505 และ 1,024 เหรียญสหรัฐ/ตัน (18,836.80, 16,486.28 และ 33,429.61 บาท/ตัน) ตามลำดับ ในขณะที่ ข้าวหอมปทุมธานี ตันละ 851 เหรียญสหรัฐ (27,781.83 บาท) ลดลงจากเดือน ธ.ค. 2552 เพียง เล็กน้อย และข้าวเหนียวตันละ 779 เหรีญสหรัฐ (25,431.31 บาท) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
2.4 คู่แข่งใหม่ พม่ามาแรงส่งออกข้าว 1 ล้านตัน
แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก และปี 2552 ไทยก็สามารถส่งออกข้าวได้ มากถึง 8.57 ล้านตัน เกินกว่าปริมาณเป้าหมายที่วางไว้ที่ 8.5 ล้านตันก็ตาม ปัจจุบันประเทศคู่แข่งต่างๆ ก็มีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นตามมา อาทิ เวียดนาม ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย รวมทั้งยังเกิดคู่แข่งหน้าใหม่คือพม่า ซึ่งในปีที่ผ่านมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้น 100% ในช่วงระยะเวลาเพียง 1-2 ปี โดยปี 2550 ปริมาณส่งออกแค่ 30,000 ตัน และปี 2551 ปริมาณ 500,000 ตัน ส่งผลให้ผู้ซื้อข้าว จากแอฟริกาให้ความสนใจข้าวจากพม่ามากขึ้น โดยเฉพาะข้าวขาวที่มีการแข่งขันด้านราคารุนแรง เช่น ข้าวขาว 25% ของพม่า ถูกที่สุดราคาเพียง 340-350 เหรียญสหรัฐ/ตัน (11,099.67 — 11,426.14 บาท/ตัน) ขณะที่ข้าวขาวไทยราคาสูงมากเป็นอันดับ 1 ประมาณ 490-500 เหรียญสหรัฐ/ ตัน (15,996.59 — 16,323.05 บาท/ตัน) ประกอบกับโบรกเกอร์ค้าข้าวได้เริ่มเข้าไปตั้งสำนักงานในพม่าแล้ว
พม่าถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวมาก เนื่องจากมีความสมบูรณ์ในพื้นที่เพาะปลูกแถบลุ่มน้ำอิรวดี ที่สามารถผลิตข้าวได้มากถึงปี ละ 30 ล้านตันข้าวเปลือก และหากได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีให้ จะยิ่งเป็นปัจจัยช่วยให้การส่งออกข้าวขาวของพม่าเพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 1 ล้านตัน ในขณะที่ข้าวไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะตลาดข้าวขาว ที่ไทยได้เสียตลาดข้าวขาว 25% ซึ่งเป็นข้าวขาวคุณภาพต่ำ ไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคากับพม่าและเวียดนามซึ่งมีราคาต่ำกว่าได้ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบราคาข้าวไทยกับพม่า แล้วราคาข้าวต่างกันถึง 150 เหรียญสหรัฐ (4,896.92 บาท) ซึ่งถ้าไทยไม่เร่งปรับตัว ไทยอาจสูญเสียตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกได้
2.5 ข้าวใหม่อินเดีย แช่น้ำกินได้เลย
อินเดียเปิดตัวข้าวสายพันธุ์ใหม่ “อะโกรนีโบร่า” ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษแช่น้ำ 45 นาที ก็รับประทานได้ทันทีโดยไม่ต้องหุงต้ม โดยกรมการ ข้าวรายงานว่า ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวนึ่งของอินเดียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายข้าวนึ่งของไทยที่ส่งขายแอฟริกาและตะวันออกกลาง การแช่น้ำ และนำมารับประทานเลยนั้น จะทำให้คาร์โบไฮเดรตหรือแป้งซึ่งเป็นสารอาหารหลักในเมล็ดข้าวไม่สุกทั้งหมด ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถดูดซับสาร อาหารที่เป็นประโยชน์จากข้าวได้เต็ม 100% เนื่องจากการแช่น้ำดังกล่าวทำให้แป้งสุกเพียงร้อยละ 49 เท่านั้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าข้าวสายพันธุ์นี้จะ ไม่ส่งผลกระทบกับข้าวของไทยแน่นอน อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อเท็จจริงยืนยันแน่นอนว่าข้าวเปลือกของข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้จะนำมาแช่น้ำและรับประทานได้ เลย ยังต้องรอดูข้อมูลจากทางอินเดียก่อน โดยขณะนี้สันนิษฐานเพียงว่าเป็นข้าวนึ่งเท่านั้น
2.6 ฟิลิปปินส์ผลิตข้าวได้ลดลงมากกว่าร้อยละ 3 เมื่อปีที่ผ่านมา
หลังจากฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในโลก ประสบปัญหาภัยธรรมชาติจากพายุในปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตข้าวของประเทศ ลดลงมากกว่าร้อยละ 3 จากปี 2551 ลงมาอยู่ที่ระดับ 16.62 ล้านตัน ทำให้ต้องประมูลข้าวจากตลาดโลกจำนวนมากในปีที่ผ่านมา เพื่อมิให้เกิดความ ขาดแคลนในประเทศ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18-24 มกราคม 2553--