1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ที่ต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท โดยเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือน ฐบาล เพื่อเร่งหา กุ้งเมืองจันทบุรีผลิตเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
นายบรรจง นิสภวาณิชย์นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยได้เปิดเผยถึงการจัดงานวันกุ้งจันทร์ตะวันออกแฟร์ และเทศกาลกินกุ้งจันท์ ประจำปี 2553 เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในธุรกิจการเลี้ยงกุ้งจากทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งรับทราบข้อมูลข่าวสารการตลาด และยุทธศาสตร์กุ้งจากทางภาครัฐ เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจกุ้งไทยเกิดความยั่งยืนท่ามกลางภาวะผันผวนโลก
จังหวัดจันทุรีมีการเพาะเลี้ยงกุ้งตลอดแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 108 กิโลเมตร รวมพื้นที่กว่า 19,000 ไร่ ใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง ขลุง แหลมสิงห์ และนายายอาม ผลิตกุ้งได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2552 สามารถผลิตกุ้งได้กว่า 57,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12 จากทั่วประเทศ และสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 6,000 ล้านบาท ในปี 2553 ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งยังมีความวิตกในการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นการแข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศจะมีความรุนแรงมากขึ้น และต้องเจอกับมาตรการกีดกันทางการค้า
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมกุ้งของไทยมีศักยภาพการผลิตสูงถึงร้อยละ 25 ของการผลิตกุ้งทั้งหมดของโลก สามารถส่งออกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 90,000 ล้านบาท ทั้งนี้มีผลจากผู้เลี้ยงกุ้งของไทยมีการเลี้ยงแบบพัฒนา เพื่อการส่งออก ได้มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลทั้งหมด และการแปรรูปมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งส่งเสริมสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยทางอาหารที่ดีโดยตลอด การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน อาจจะส่งผลให้มีการนำเข้ากุ้งมาสวมสิทธิเป็นกุ้งไทยแล้วส่งออก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มความเข้มงวด ตรวจสอบการแอบอ้างการสวมสิทธิแหล่งกำเนิด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าส่งออกของไทย โดยแนะให้ภาคเกษตรกรต้องรวมตัวป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการหารือกับภาคเอกชน ถึงมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้า โดยกำหนดกลยุทธ์ แนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ พร้อมกับส่งเสริมสร้างการตลาดในการรักษาตลาดคู่ค้าเดิมและเร่งรัดการเจาะตลาดใหม่ โดยใช้การตลาดเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคในต่างประเทศ เกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งของไทย ส่วนตลาดภายใน ได้สนับสนุนให้ทำข้อตกลงซื้อขายผลผลิตระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจแก่เกษตรกรผู้ผลิตว่ามีตลาดรองรับผลผลิต และผู้ประกอบการจะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในปริมาณตามความต้องการอีกด้วยร้อยละ 12 จากทั่วประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(4—10 ม.ค. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 982.16 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 549.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 432.76 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.08 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.74 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.22 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.76 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.72 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.29 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ113.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.24 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.52 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 108.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.29 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 75.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.27 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 29 ม.ค. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สัปดาห์ที่ 4 ( 25 — 31 มกราคม 2553)
กุ้งกุลาดำ บาท/กก. สัปดาห์ที่ 1 ไม่มีรายงาน สัปดาห์ที่ 2 ไม่มีรายงาน สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีรายงาน สัปดาห์ที่ 4 ไม่มีรายงาน
กุ้งขาว บาท/กก.
สัปดาห์ที่ 1 109.00
สัปดาห์ที่ 2 108.33
สัปดาห์ที่ 3 108.33
สัปดาห์ที่ 4 110.00
ปลาทู บาท/กก. สัปดาห์ที่ 1 75.00 สัปดาห์ที่ 2 75.00 สัปดาห์ที่ 3 75.00 สัปดาห์ที่ 4 74.29
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25-31 มกราคม 2553--