1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ที่ต่ำกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท โดยเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือน ฐบาล เพื่อเร่งหา กรมประมงเตือนระวังโรคระบาดร้ายแรงในกุ้งทะเล
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดอย่างรุนแรงของโรคกุ้งทะเลในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งของประเทศอินโดนีเซีย อย่างร้ายแรง ทำให้ผลผลิตกุ้งในปีที่ผ่านมาลดลงประมาณ 40% โดยโรคไอเอ็มเอ็นในกุ้งยังคงเป็นโรคระบาด ที่ยังไม่สามารถหาวิธีที่จะควบคุมและหยุดยั้งการระบาดได้อย่างถาวร มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางในกุ้งขาว กุ้งฟ้า และกุ้งกุลาดำ เนื่องจากเชื้อตัวนี้สามารถแฝงตัวอยู่ในตัวกุ้งที่หายป่วย หรือกุ้งที่หายป่วยซึ่งยังคงมีสภาพเป็นพาหะของโรค อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นอีกครั้ง หากมีการติดเชื้อแล้วจะมีอัตราการตายอยู่ที่ 30-70% เชื้อตัวนี้สามารถมีชีวิตอยู่นอกตัวกุ้งหรือพาหะได้นาน อีกทั้งโรคไอเอ็มเอ็นยังเป็นโรคที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศประกาศว่าเป็นโรคระบาดในสัตว์น้ำที่ต้องมีการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง
อธิบดีกรมประมงเปิดเผยเพิ่มเติมว่า กุ้งที่เป็นโรคนี้จะมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ กินอาหารน้อยลง เซลล์กล้ามเนื้อบริเวณท้องและหางตาย ทำให้เนื้อกลายเป็นสีขาวขุ่น ต่อจากนั้นบริเวณเปลือกบางส่วน กล้ามเนื้อก็จะกลายเป็นสีแดง ขณะนี้ประเทศไทยยังอยู่ในสถานะปลอดจากโรคไอเอ็มเอ็น แต่ก็จะประมาทไม่ได้ ดังนั้น กรมประมงจึงจัดเตรียมมาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้นเป็น 2 ระยะ คือ เตรียมออกประกาศให้ผู้ประกอบการที่จะนำเข้ากุ้งและสินค้ากุ้งจากต่างประเทศต้องตรวจสอบแหล่งผลิตของสินค้า ก่อนนำเข้า โดยต้องแนบใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ซึ่งระบุว่าปราศจากโรคไอเอ็มเอ็น และประสานกับกรมปศุสัตว์เพื่อออกประกาศโรคไอเอ็มเอ็น เป็นโรคระบาด ตามกฎหมายโรคระบาดสัตว์ เพื่อจะได้สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ต่อไป กรมประมงมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ดังกล่าว และอยากให้ ทุกภาคส่วนร่วมกันเฝ้าระวังอย่างรัดกุม โดยกรมประมงจะเป็นหน่วยงานหลักในการเร่งประชาสัมพันธ์แนวทางการรับมือกับปัญหาโรคระบาดดังกล่าว ขอให้ทั้งภาคธุรกิจการส่งออกและภาคเกษตรกรรมให้ความร่วมมือกันตรวจสอบแหล่งที่มาว่ามาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อ สังเกตอาการของกุ้งที่พบ และใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายกุ้งและผลิตภัณฑ์ หากพบว่าฟาร์มใดมีกุ้งที่มีอาการดังกล่าว อย่าได้ตื่นตระหนก เนื่องจากอาการกล้ามเนื้อขาวอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ขอให้แจ้งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งที่ใกล้เคียงเข้าตรวจสอบ เพื่อสุ่มตัวอย่างไปตรวจสอบโดยเร็วที่สุด และให้งดให้อาหาร ห้ามถ่ายน้ำ และเคลื่อนย้ายกุ้ง ในระหว่างการรอผลจากห้องปฏิบัติการ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(11—16 ม.ค. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 894.14 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 510.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 383.39 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.19 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.62 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.39 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.35 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.95 ตัน
การตลาด
วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.43 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 74.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 5 ก.พ. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2553--