ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday February 9, 2010 13:39 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1)

ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553

เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต

เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน 31 มีนาคม 2553 )

การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่ เดือน สิงหาคม -15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553

ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 - 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553

ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 1 ก.พ. 53

1.1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553

ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553 )ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)

ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)

การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)

การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

  • ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน)

สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 1 ก.พ. 53

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมทรงตัว มีเพียงข้าวหอมมะลิเก่าราคาอ่อนตัวลงเล็กน้อยตามภาวะตลาด ประกอบกับโรงสีที่ต้องการสภาพคล่องได้นำข้าวในสต็อกออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 29 มกราคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 685,693 ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 587,771 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.66 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,800 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,762 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.99

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,722 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 9,410 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,337 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,705 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.40

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,111 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,410 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.45

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,021 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,585.39 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,023 ดอลล่าร์สหรัฐ (33,651.18บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และลดลงในรูปของเงินบาท ตันละ 65.79 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,894.62 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 850 ดอลล่าร์สหรัฐ (27,960.41 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 65.79 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 561 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,453.87 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,348.62 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,381.51 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32.89 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 604 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,868.34 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 605 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,901.23 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32.89 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.8946 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 เอลนินโญส่งผลราคาข้าวพุ่ง

จากปรากฏการณ์เอลนินโญที่ทำให้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในแถบอเมริกาใต้ ในขณะที่เกิดความแห้งแล้งและปริมาณฝนที่ลดลงในทวีปเอเชีย เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในปัจจุบัน ทำให้ประเทศแถบละตินอเมริกา อาทิ บราซิล เวเนซูเอลา โคลัมเบีย และปานามา เป็นต้น รวมทั้งในทวีปเอเชีย อาทิ อินเดีย และฟิลิปปินส์ จะมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น กล่าวคือ บราซิลจะเริ่มนำเข้าข้าวในเดือนนี้และคาดว่าจะมีการนำเข้าตลอดทั้งปีถึง 1 ล้านตัน โดยจะเน้นการนำเข้าจากเวียดนาม เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่จะมีการนำเข้าจากเวียดนามเช่นกัน โดยจะใช้วิธีการยื่นประมูลในปริมาณที่อาจสูงถึง 2.25 ล้านตัน จากเดือนมกราคมถึงมิถุนายน

อนึ่ง จากปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทำลายผลผลิตข้าวเปลือกของฟิลิปปินส์ถึง 0.8 ล้านตัน และทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและประมงในปีนี้ลดลง 37 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,217.10 ล้านบาท) นอกจากนี้ ยังทำลายพื้นที่เพาะปลูกข้าวถึงประมาณ 453,204 เฮกตาร์ (2,832,525 ไร่) ข้าวโพด 227,843 เฮกตาร์ (1,424,018.75 ไร่) และอุตสาหกรรมประมง 14,160 เฮกตาร์ (88,500 ไร่)ในส่วนของประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับที่ 5 ก็อาจมีการนำเข้าข้าวอย่างน้อย 120,000 ตันภายในสัปดาห์หน้า ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศสมาชิก Mercosur (ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง หรือ Southern Common Market) ประเทศแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยผลผลิตข้าวหรือปริมาณอุปทานในประเทศจะลดลง ทำให้ราคาข้าวนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบมากที่สุดในเดือนนี้

2.2 ประเทศต้องการทำสัญญาซื้อข้าวจากไทย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ได้รายงานว่า ขณะนี้ข้าวไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศ โดยมีประเทศที่ต้องการทำการซื้อขายข้าวจากไทยผ่านการทำสัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G contracts) จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน อิรัก อินเดีย และประเทศในแอฟริกา ซึ่งคาดว่าปริมาณความต้องการซื้อจากประเทศเหล่านี้จะมีปริมาณมากกว่า 1 ล้านตัน การซื้อขายข้าวผ่านรัฐบาลวิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งจาก 3 วิธี ในการปล่อยข้าวจากสต็อก ส่วนอีก 2 วิธีที่เหลือจะใช้การประมูลและผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agricultural Futures Exchange of Thailand: AFET)

อนึ่ง ปัจจุบันมีข้าวในคลังเก็บสินค้าของรัฐบาลประมาณ 4.8 ล้านตัน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการยกเลิกการประมูลข้าว 375,000 ตัน เนื่องจากราคาเสนอขายไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงมีการวางแผนที่จะเสนอประมูลใหม่ 300,000 ตัน ในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ได้มีการตั้งเป้าที่จะปล่อยข้าวออกจากสต็อก 1 ล้านตัน ผ่านช่องทางการทำสัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งจากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีการปล่อยข้าวออกจากสต็อกจำนวน 653,282 ตัน ในปี 2550 และ 73,400 ตัน ในปี 2551 โดยปีที่ผ่านมาไม่มีการปล่อยข้าวในช่องทางดังกล่าว ซึ่งนายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ได้แสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรพิจารณาการขายข้าวผ่าน AFET และการทำสัญญาผ่านช่องทางรัฐบาลจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเสนอประมูลขาย เนื่องจากทั้ง 2 วิธีนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาด โดยได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถขายข้าวผ่าน AFET ได้ประมาณเดือนละ 300,000 ตัน

2.3 จีนต้องการนำเข้าข้าวบาสมาติจากอินเดีย

จากมติที่ประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 8 ที่ประเทศจีนที่ผ่านมา จีนจะอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวบาสมาติของอินเดียในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งจีนจะเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของอินเดีย เนื่องจากจะกระตุ้นการส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียได้อย่างน้อย 20,000 ตัน เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณการส่งออกข้าว 1.06 ล้านตัน ใน 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552-53 ซึ่งแม้ว่าอินเดียจะมีการส่งออกข้าวบาสมาติให้กับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็พยายามในการแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้ากับจีนมาตลอด จนสามารถเจรจาตกลงกันสำเร็จในครั้งนี้

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ