1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(17—23 ม.ค. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 992.59 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 533.77 ตัน สัตว์น้ำจืด 458.82 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.42 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.18 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.05 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.17 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 70.27 ตัน
การตลาด
วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน
สินค้าประมงพม่าส่งออกไปอียูไม่ได้
โรงงานแปรรูปสินค้าประมง 8 แห่งของพม่ากำลังรอสหภาพยุโรปรับรองการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปได้ ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปได้ตรวจสอบโรงงานเหล่านี้ไปแล้ว และอนุญาตให้สามารถส่งออกอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2553 แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านการรับรอง IUU ก่อนด้วย จึงจะสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ โดยสินค้าประมงพม่าที่ได้รับการรับรองให้สินค้าประมงเยือกแข็งที่มาจากการจับจากธรรมชาติได้แก่ ปลาทะเล ปลาน้ำจืด และกุ้ง โดยโรงงาน 8 แห่งเหล่านั้นเป็นโรงงานที่ได้ตรวจสอบจากสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกันก็มีโรงงานที่พร้อมจะรับการตรวจสอบรวม 23 แห่ง โดยหน่วยงานที่ทำการรับรอง IUU คือ กรมประมงของสหภาพยุโรป เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์ประมงของพม่านั้นเป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ หากพม่าส่งออกสินค้าประมงไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพื่อผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนส่งไปยังสหภาพยุโรปนั้น พม่าก็ต้องได้รับการรับรองการนำเข้าของสหภาพยุโรป เช่น กรณีที่พม่าส่งออกสินค้าประมงปริมาณ 80,000-100,000 ตันไปยังไทย เพื่อผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าก่อนส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
Gerard Roessink ผู้ตรวจสอบของสหภาพยุโรปได้ให้คำแนะนำว่า พม่าต้องแสดงแผนการเฝ้าระวังสารตกค้าง(RMP) ก่อน จึงจะสามารถส่งสินค้าประมงจากการเพาะเลี้ยง ซึ่งพม่ายังไม่ได้ทำ RMP มาก่อน อีกทั้งยังมีการตรวจสอบบางอย่างที่ยังไม่สามารถทำในพม่าได้ อนึ่ง พม่าส่งออกสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 5-10 ของสินค้าที่ส่งออกทั้งหมด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.34 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 - 12 ก.พ. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2553--