1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1)
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
- เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
- เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน 31 มีนาคม 2553 )
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน)
1.1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
- ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
- ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)
- การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2553กำลังทยอยออกสู่ตลาดมาก และส่วนใหญ่คุณภาพไม่ค่อยดีเนื่องจากมีบางพื้นที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนกำหนดเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลทำให้ผู้รับซื้อและผู้ส่งออกกดราคารับซื้อต่ำลง ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปีปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 18 กุมภาพันธ์ 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1,147,872 ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก1,064,224ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.86 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,231 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,215 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,739 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,856 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,775 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,916 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,739 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,914 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,021 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,254 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,006 ดอลลาร์สหรัฐ (33,078 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 176 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 813 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,479 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 816 ดอลลาร์สหรัฐ (26,831 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 352 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,513 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐ (16,901 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 388 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,949 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,224 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 275 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,434 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 573 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,841บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 407 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5697 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 เวียดนามและกัมพูชาร่วมมือรุกข้าวครบวงจร
เวียดนามและกัมพูชาร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนด้านข้าวที่ชื่อ Cambodia-Vietnam Foods Company (Cavifoods) ซึ่งจะลงทุนธุรกิจด้านข้าวตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การส่งออก โดยจะสร้างโรงสีข้าว ไซโลเก็บสำรองข้าว โรงงานขนมปัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และระบบเครือข่ายการจัดจำหน่ายข้าว รวมทั้งกว้านซื้อข้าวจากกัมพูชาและจังหวัดชายแดนของไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่ 3 นอกจากนี้ เวียดนามยังให้ความสำคัญการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าว อาทิ การจัดตั้งกองทุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพข้าว การสนับสนุนเงินกู้เพื่อสร้างโรงงานอบข้าวและสร้างโรงสีข้าวหรือโกดังเก็บข้าว และการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเพื่อช่วยเกษตรกรและผู้ส่งออกข้าวในช่วงที่ราคาตลาดโลกลดลง
จากการเร่งพัฒนาของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะเวียดนามที่มีตัวเลขการส่งออกข้าวที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบไล่ทันประเทศไทย คือ ในปี 2552 เวียดนามมียอดส่งออก 6 ล้านตัน (ขณะที่ไทยส่งออกได้ 8.5 ล้านตัน) ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพการขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในมาเลเซีย (เพิ่มขึ้น 55%) สิงคโปร์ (เพิ่มขึ้น 437%) และฮ่องกง (เพิ่มขึ้น 640%)
2.2 ฟิลิปปินส์ตกลงโควตานำเข้าข้าวไทย
จากผลการเจรจา ฟิลิปปินส์อนุญาตการนำเข้าข้าวไทยที่ 0% ในปริมาณโควต้า 367,000 ตัน และ 50,000 ตันสำหรับข้าวคุณภาพดี โดยจะมีผลไปถึงปี 2557 ซึ่งทั้ง 2 ประเทศจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้ที่ประเทศมาเลเซีย และจากการที่สามารถเจรจากันได้สำเร็จในครั้งนี้ ทำให้ไทยพร้อมที่จะให้สัตยาบรรณในความตกลงการค้าสินค้าในอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) นอกจากนี้ จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์มีการนำเข้าข้าว 2 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวคุณภาพต่ำจากเวียดนาม โดยมีการนำเข้าจากไทย 138,000 ตัน และจากสถานการณ์ล่าสุด ฟิลิปปินส์อาจอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวประมาณ 150,000 ตัน จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น
2.3 การส่งออกข้าวของอินโดนีเซียปี 2553
ในปี 2553 นี้ อินโดนีเซียมีโอกาสในการส่งออกข้าว เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีการจัดลำดับความสำคัญของการส่งออกข้าวคุณภาพดี แต่ขณะนี้ยังห้ามการส่งออกข้าวคุณภาพปานกลาง เนื่องจากต้องใช้บริโภคในประเทศจำนวนมาก อย่างไรก็ตามรัฐบาลอาจมีการอนุญาตการส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางได้ในภายหลังหากมีการเก็บรักษาได้ในระดับที่เพียงพอแล้ว คือ ประมาณ 1 ล้านตัน (ปัจจุบันปริมาณข้าวที่เก็บในคลังของรัฐบาลมีอยู่ 4 แสนตัน) ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้อินโดนีเซียจะสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับปริมาณความต้องการในประเทศ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1 - 7 มีนาคม 2553--