ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Wednesday March 24, 2010 13:21 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

ผลกระทบของเอลนิโนต่ออุตสาหกรรมประมงชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา

องค์กรสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งสหรัฐอเมริกา(NOAA) และ Scripps Institution of Oceanography แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2553 กับจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศในทะเล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงชายฝั่งตะวันตก เหล่านักวิจัยได้เฝ้าสังเกตการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำอุ่นไปทางเหนือยังชายฝั่งแคลิฟอร์เนียพบว่ามีความแรงกว่าปกติ ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณผิวน้ำในเดือนมกราคมสูงกว่าปกติ 0.5-1 องศาเซลเซียส ส่งผลให้แพลงก์ตอนและปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณผิวน้ำมีจำนวนลดลง นอกจากการเก็บข้อมูลจากดาวเทียมและทุ่นเครื่องมือที่ลอยอยู่ในทะเล สำหรับวัดอุณหภูมิผิวน้ำ ยังมีการออกเรือทุก 3 เดือน เพื่อวัดอุณหภูมิเหนือน้ำในบริเวณตรงกับทุ่นที่ลอยไว้ อีกทั้ง มีการนับจำนวนไข่ของปลาซาร์ดีนและปลากะตัก ตลอดจนปริมาณแพลงก์ตอน เพื่อคาดคะเนปริมาณอาหาร สำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งนี้ NOAA ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการสำรวจจำนวนประชากรปลา โดยใช้คลื่นเสียง(acoustic survey) ในขณะที่ Scripps ได้ส่งหุ่นยนต์ดำน้ำ ลงไปวัดอุณหภูมิในทะเลและเก็บข้อมูลอื่นๆ ระหว่างสถานีของ CalCOFI ทำให้พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ลดลงกับการเคลื่อนที่ไปทางเหนือของกระแสน้ำอุ่น ซึ่งกระแสน้ำอุ่นนี้มักจะสกัดกั้นการไหลเวียนของสารอาหารจากใต้ท้องทะเลลึกที่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตทางทะเลจำนวนมาก ทั้งนี้ คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวจะยังคงอยู่จนถึงฤดูใบไม้ผลิและอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางชีวภาพมากขึ้น จากปรากฏการณ์เอลนิโนที่เคยเกิดที่แคลิฟอร์เนีย ทำให้พบว่าปริมาณสิ่งมีชีวิตในทะเลลดจำนวนลง รวมทั้งนกทะเล และยังทำให้การจับปลาหมึกได้ลดลงด้วย

ในรอบสัปดาห์ผ่านมา(15 — 21 ก.พ. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 643.20 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 360.08 ตัน สัตว์น้ำจืด 283.12 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก            ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 1.10    ตัน
          1.2  ปลาช่อน           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 2.07    ตัน
          1.3  กุ้งทะเล           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                64.84    ตัน
          1.4  ปลาทู             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 7.10    ตัน
          1.5  ปลาหมึก           ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                57.66    ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.14บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.12 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.87 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 129.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.49 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท สูงขึ้นจาก123.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 19 มี.ค. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15 - 21 มีนาคม 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ