สศก. เผย กษ.ตั้งคณะทำงานติดตามการส่งออก — นำเข้าทุกด่านหลังการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน

ข่าวทั่วไป Thursday March 25, 2010 13:27 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรไทยกับอาเซียนหลังเปิด AFTA พบ มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น ตามลำดับ ชี้ไทยได้เปรียบทางดุลการค้ากับอาเซียนในเดือนมกราคมที่ผ่านมากว่าหมื่นล้าน บาท มั่นใจไทยมีความสามารถในการ แข่งขัน และได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี AFTA ในครั้งนี้

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่ ไทยได้ มีข้อผูกพันการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าเกือบทั้งหมดลง เหลือร้อยละ 0 และยกเลิกโควตาภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2553 นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย คณะกรรมการนโยบายพัฒนาการเกษตรและ สหกรณ์ได้มอบหมายให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการ จัดทำ มาตรการรองรับ ผลกระทบจากการเปิดเสรี AFTA

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะหน่วยงานหลักในการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตาม มาตรการในการ รองรับ ผลกระทบจากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้ AFTA ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรฯ พิจารณา มาตรการรองรับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้ AFTA เพื่อ ป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเกษตรกรในประเทศ รวมถึงการ เตรียมมาตรการเยียวยาเกษตรกรผู้ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ที่สามารถขอการสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้าง การผลิตภาค เกษตรเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นผู้ประสานการ ดำเนินงาน กองทุนฯ และ ติดตาม เฝ้าระวังผลกระทบหลังการเปิดเสรี

สำหรับสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียน หลังเปิดเสรี AFTA ในภาพรวม พบว่า จากการที่อาเซียน กำหนดให้ประเทศสมาชิกเริ่มทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าลงเหลือร้อยละ 0-5 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2546 และให้ลดเหลือร้อยละ 0 ทุก รายการ ในปี 2553ส่งผลให้การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ตามลำดับ กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร (พิกัด ศุลกากร ตอนที่1-24) ของเดือนมกราคม ปี 2546-2552ปรากฏว่ามูลค่าเพิ่มขึ้นจากจาก 7,691 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 10,845 ล้าน บาท ในปี 2552 และเพิ่มขึ้นเป็น 17,069 ล้านบาท ในปี 2553 ทั้งนี้ มูลค่าการค้าสินค้าเกษตร ของเดือนมกราคม 2553 เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 56.90 ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอาเซียน ประจำเดือนมกราคม 2553 สูงถึง 10,496 ล้าน บาท

การส่งออกสินค้าเกษตรไปอาเซียน ในเดือนมกราคม 2553 มีมูลค่า 13,782 ล้านบาท สูงกว่าใน ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ ผ่าน มา คิดเป็นร้อยละ 74.63 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มข้าวและธัญพืช น้ำตาล เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช ส่วนการ นำเข้าสินค้าเกษตร จากอาเซียน ในเดือนมกราคม 2553 มี มูลค่า 3,286 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 11.28 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มปลาและสัตว์น้ำ ของปุรงแต่งจากธัญพืช ซอส-เครื่องปรุงรส ยาสูบ

สำหรับการนำเข้าสินค้าโควตาภาษี (TRQ) จากอาเซียน ในเดือนมกราคม หลังการเปิดเสรี AFTA ใน สินค้ากลุ่มที่คาดว่าจะ ได้รับผลกระทบมาก 4 สินค้ามีดังนี้ สินค้าข้าว การนำเข้าในเดือนมกราคม 2553 แม้ว่าจะ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี 2552 แต่มีมูลค่า การ นำเข้าไม่มากนักเพียง 0.51 ล้านบาท (การนำเข้าข้าวในเดือนมกราคม 2552 มีมูลค่า 0.03 ล้านบาท) สินค้าน้ำมันปาล์ม การ นำเข้าใน เดือนมกราคม 2553 มีมูลค่า 81.87 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 93.29 ล้านบาท หรือลดลงร้อย ละ 12.24 สินค้าเมล็ดกาแฟ การนำเข้าในเดือนมกราคม 2553 มีมูลค่า 20.76 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี ที่ ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า การนำเข้า 21.80 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.77 และสินค้าไหมดิบ ไม่มีการนำเข้าทั้งใน เดือนมกราคม 2553 และมกราคม 2552

จากการที่ไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และยังไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้า TRQ ที่สำคัญ หลังเปิด เสรี AFTA ตั้งแต่ 1มกราคม 2553 ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ไทยมี ความสามารถในการแข่งขันและได้ประโยชน์จากการเปิด การค้าเสรี AFTA อย่างไรก็ตามข้อมูลที่นำเสนอเป็น ของเดือนมกราคม หลังการปิดเสรี AFTA เพียงเดือนเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ ยังสะท้อนภาพไม่ ชัดเจน จึงจำเป็นต้องศึกษาติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการแต่งตั้ง คณะทำงาน ติดตามและเฝ้า ระวังการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรระดับจังหวัด (Mobile Unit) โดยมีเกษตรและ สหกรณ์ จังหวัดเป็น ประธานคณะทำงาน เพื่อติดตาม/ เฝ้าระวังการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรบริเวณชายแดน และ ประมวลสถานการณ์และปัญหาที่สำคัญ เป็นระยะๆ รายงานต่อผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงฯ และ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์และหาแนวทางแก้ไข ปัญหาต่อไป

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ