สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยกระทรวงเกษตรฯ มีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ เพื่อให้การ สนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศรองรับเขตการค้า เสรี พร้อม กำหนดแนวทางการดำเนินงานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การที่ประเทศไทยจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่าง ๆ เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน FTA ไทย — จีน FTA ไทย- ออสเตรเลีย FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ส่งผลให้ได้ประโยชน์ทางการค้าเพิ่มมากขึ้นในภาพรวมก็ตาม แต่จะมีสินค้า บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว 23 รายการ ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน เมล็ดกาแฟ ไหมดิบ มะพร้าวผล เนื้อมะพร้าว แห้ง ชา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กาแฟสำเร็จรูป น้ำนมดิบ/นมพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย น้ำมันมะพร้าว เมล็ดถั่วเหลือง พริกไทย กระเทียม หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง น้ำตาลทราย ใบยาสูบ ลำไยแห้ง เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ น้ำมันถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง ซึ่งมีสินค้าหลายชนิดอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด ดังนั้น กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษา ผลประโยชน์และการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกร ตระหนักถึงผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยจากการเปิดเขต การค้าเสรี จึงได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้จัดตั้ง “กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของ ประเทศ” เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรในการ ปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานา ประเทศรองรับเขตการค้าเสรี
ซึ่งการตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของ สินค้าเกษตรและอาหาร และช่วยเหลือให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ รวมทั้งการประกอบอาชีพ อื่น โดยกองทุนฯ จะให้การสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปของเงินจ่ายขาดและเงินทุนหมุนเวียน โดย การสนับสนุนสินเชื่อ ปัจจัยการ ผลิตและเทคโนโลยี สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา การให้ความรู้จัดฝึกอบรมและดูงาน การให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทางการเกษตร ตลอดจนการปรับเปลี่ยนอาชีพ ทั้งนี้ นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนฯ ได้ มีการอนุมัติเงินเพื่อสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับ ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าไปแล้ว 12 โครงการ 7 ชนิดสินค้า ได้แก่ โคเนื้อ โคนม สุกร กระเทียม ปาล์มน้ำมัน ชา และกาแฟ คิดเป็นงบประมาณจำนวน 346.64ล้านบาท ใน จำนวนนี้เป็นการอนุมัติเงินสนับสนุนในปี 2552 จำนวน 2 โครงการ เป็นเงิน 84.32 ล้านบาท ได้แก่ โครงการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสุกรของ ชุมนุมสหกรณ์การปศุ สัตว์ภาคตะวันออก จำนวน 29.88 ล้านบาท และโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจร จำนวน 54.44 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามกองทุนฯ ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการ เปิด ตลาดการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยใน หลายๆ ชนิดสินค้า เนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีการผลิตสินค้าเกษตรกรที่คล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ในปี 2553 กอง ทุนฯ ได้กำหนดแนวทางการ ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.จัดลำดับความสำคัญของสินค้า โดยกองทุนให้ความสำคัญกับสินค้าข้าว เป็นลำดับแรก เนื่องจาก มีจำนวน ครัวเรือนของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวถึงประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน รองลงมาเป็นปาล์มน้ำมัน ไหม และมะพร้าว ตามลำดับ
2.การประชาสัมพันธ์กองทุนฯ ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าได้รับรู้และเข้าใจในการ ช่วยเหลือ สนับสนุนของกองทุนฯ โดยมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะคือ
2.1จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับทราบปัญหาจากเกษตรกร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน โดย เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานเปิดการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กองทุน FTA: โอกาสของเกษตรกรไทย” ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจากการสัมมนาดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร ได้รับทราบถึงผลกระทบ จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าข้าวภายใต้ความตกลง การค้าเสรีอาเซียนทั้งด้านบวกและลบอย่างถูกต้อง ตลอดจนทำให้ ภาครัฐได้รับทราบปัญหาของสินค้าข้าว และความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการเสนอขอรับการสนับสนุน เงินจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ
2.2การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุชุมชน ซึ่งขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดเตรียม งบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์กองทุนฯ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นอกจากนี้จะมีการ ดำเนินการจัดทำ spot วิทยุเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุท้องถิ่นที่กระจายอยู่ในทุกตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดได้รับทราบเกี่ยวกับการช่วยเหลือของกองทุนฯ อย่าง ทั่วถึง
3. จัดทำโครงการขอใช้เงินจากกองทุน กองทุนฯ ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่คาด ว่าจะ ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดโดยเฉพาะสินค้าที่มีความอ่อนไหว 23 รายการ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และ เกษตรกร เพื่อ ร่วมกันคิดและจัดทำเป็นโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่อยู่ ระหว่างเสนอขอรับ การสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปี 2553 จำนวน 13 โครงการ 6 ชนิดสินค้า ได้แก่ ข้าว ปาล์ม น้ำมัน มะพร้าว สุกร ส้มเปลือก ล่อน ไหม และโคเนื้อ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ จำนวน 900 ล้านบาท
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเสนอขอรับเงิน สนับสนุน กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ได้เห็นชอบให้ นำเสนอ คณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่ออนุมัติงบประมาณ จำนวน 319.24 ล้าน บาท ให้กรมการ ข้าวนำไปดำเนินการโครงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่โดยส่งเสริมการผลิตและกระจายข้าวพันธุ์ดีของศูนย์ ข้าวชุมชนเพื่อรองรับ ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของข้าวให้สูงขึ้น โดยการผลิตและกระจายเมล็ด ข้าวพันธุ์ดีผ่านระบบศูนย์ข้าวชุมชน เนื่องจากปัญหาสำคัญของข้าวไทย ก็คือ ผลผลิตต่อไร่ ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มประเทศ อาเซียน สาเหตุประการหนึ่งมาจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดียังไม่แพร่หลาย อีกทั้งการผลิต เมล็ดข้าวพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความ ต้องการ โดยในแต่ละปีไทยมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ดี 571,000 ตัน แต่ ปัจจุบันสามารถผลิตได้เพียงปีละ 280,000 ตัน ซึ่ง หากเกษตรกรใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น และ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยังมีกิจกรรมการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี การถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ผลิตข้าว ที่เหมาะสมผ่านระบบโรงเรียนชาวนา การสร้างเกษตรกรชั้นนำ เกษตรกรมืออาชีพ และยุวเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตซึ่งกันและกันในท้องถิ่น รวมไปถึงการมีระบบเตือนภัยทางการ เกษตร โดยกองทุนฯ จะได้ เร่งนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณให้ทันฤดูการ ผลิตข้าวนาปีที่จะถึงในเดือน พฤษภาคมนี้ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการโครงการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสุกรของ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรอุตรดิตถ์ จำกัด งบประมาณ 8.96 ล้านบาท เพื่อดำเนินการฝึกอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกร การ ดำเนินงานโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และการฟื้นฟู พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกร
อย่างไรก็ตามกองทุนฯ ยังให้ความสำคัญที่จะให้ความช่วยเหลือสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก การเปิด เสรีการค้า ซึ่งเกษตรกรสามารถมาใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ นี้โดยต้องทำเป็นโครงการเพื่อไปพัฒนา แก้ไข ปัญหาลดต้นทุน เพิ่ม คุณภาพ ฯลฯ ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งหากมีข้อสงสัยในการจัดทำโครงการ สามารถสอบถามรายละเอียด จากเจ้าหน้าที่กองทุนฯ เบอร์ 0-2561-4727 โทรสาร 0-2561-4726 หรือ www.oae.go.th
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--