สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะเลขานุการคณะทำงานพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตร แบบกลุ่มการผลิต (Cluster) ปูทางชงสินค้า 3 ชนิด ข้าวหอมมะลิ กล้วยไม้ และโคเนื้อกำแพงแสน เตรียมจัดทำกรอบแนวทางการบริหารให้เป็นรูปธรรม
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการในคณะทำงานพัฒนาแนวทางการ บริหารจัดการสินค้า เกษตรแบบกลุ่มการผลิต (Cluster)เพื่อรักษาระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค การเกษตรของประเทศไทย และเพื่อให้สินค้าเกษตรมีปริมาณ คุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนกับเกษตรกร โดย คำนึงถึงความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค ปัจจัยเงื่อนไข สภาวะการแข่งขัน อุตสาหกรรมที่สนับสนุนและ เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงความสามารถของเกษตรกร กลุ่ม เกษตรกร ธุรกิจการเกษตร และการให้ความรู้แก่ ผู้บริโภค ซึ่งชุดคณะทำงานดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะแนว ทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบกลุ่มการผลิต โดยพิจารณาเครือข่ายที่เป็นระบบตั้งแต่ระดับการผลิตจนถึง ผู้บริโภคผู้ใช้สินค้าเกษตร รวมทั้งเสนอแนะ สินค้าเกษตรเพื่อบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบกลุ่มการผลิต และพิจารณา แผนงานโครงการและมาตรการดำเนินงานสนับสนุน
สำหรับแนวทางในการพัฒนาสินค้าเกษตรแบบกลุ่มการผลิต (Cluster) ควรเริ่มพิจารณาจากความต้องการของ ผู้บริโภค (Demand Side) เป็นหลัก ผลิตแล้วต้องสามารถขายได้ และขายได้ราคาดี โดยการแปลงตลาดผู้ซื้อมาเป็น ตลาดของผู้ขาย เนื่องจากปัจจุบันความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมทั้ง ปริมาณการขาย ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปกำหนดทิศทางปริมาณการผลิตได้ นอกจากนี้ การวางตำแหน่งของสินค้า (Product Positioning) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณา โดยดูถึง Perception Value ของสินค้าที่ผู้ซื้อรับรู้ได้ รวมทั้งศึกษาความยืดหยุ่นในแต่ละส่วนแบ่งตลาด (Segment)ของสินค้าว่าจะขายในตลาดกลุ่มไหน ทำให้สามารถ กำหนด กลยุทธ์ว่าจะใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (cost Leadership) สร้างความแตกต่าง (differentiation) หรือเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ 3 ส่วน คือ ภาคการผลิต (Initial Sector) ภาคการ สนับสนุน (Supporting Sector) และภาคบริการ (Service Sector) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำว่าในแต่ละส่วนมีใคร เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เช่น นาฬิกา Rolex ของสวิสเซอร์แลนด์ ที่มีราคาสูงและคุณภาพเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก แม้จะมีของ เลียนแบบที่ราคาถูกกว่ามาก แต่ด้วยความสามารถในการครองใจและความชื่นชอบต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ที่ แข็งแรงของฐานลูกค้าทั่วโลก ทำให้สินค้าสามารถขายได้ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพง
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้มีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 และมีมติให้พิจารณาศึกษาความเหมาะสม การบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบคลัสเตอร์ จำนวน 6ชนิด คือ ข้าวหอมมะลิ กล้วยไม้ โคเนื้อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มัน สำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน โดยขณะนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รวบรวมข้อมูลสินค้า 3 ชนิด คือ ข้าวหอมมะลิ กล้วยไม้ โคเนื้อกำแพงแสน เพื่อจัดทำกรอบแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบกลุ่มการผลิต (Cluster) ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--