กษ. เร่งผลักดันมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ภาคตะวันออกและลิ้นจี่ภาคเหนือปี 53

ข่าวทั่วไป Thursday March 25, 2010 13:36 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกพบทุเรียนมีผลผลิตลดลงเนื่องจาก ความผันผวนของราคาและการเกิดโรค ส่งผลให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทน ส่วนมังคุด เงาะ ลองกองมี ผลผลิตเพิ่มขึ้นเหตุสภาพอากาศเอื้ออำนวย ด้านลิ้นจี่ภาคเหนือมีผลผลิตรวมลดลง คาดผลผลิตทุกชนิดจะออก กระจุกตัวมากในเดือนพฤษภาคม กษ.หวั่นราคาตก เตรียมชงมาตรการเสนอ คชก. เพื่อของบประมาณในการ ช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดการณ์ผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกในแหล่งผลิต 3 จังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราด ปี 2553 จะมีผลผลิตรวม 752,532 ตัน ได้แก่ ทุเรียน มีผลผลิตประมาณ 332,160 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 3% เนื่องจากราคาผันผวนติดต่อกันหลายปี ประกอบกับทุเรียนเป็นโรค เกษตรกรจึง เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทน โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี 219,677 ตัน จังหวัดระยอง 83,780 ตัน จังหวัด ตราด 28,703 ตัน

ในส่วนของมังคุด มีผลผลิตประมาณ 125,650 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14% เนื่องจากสภาพดินฟ้า อากาศเหมาะสมทำให้ออกดอกมาก โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี 89,455 ตัน จังหวัดระยอง 13,474 ตัน จังหวัดตราด 22,721 ตัน และเงาะ มีผลผลิตประมาณ 230,846 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3% เนื่องจาก สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสมทำให้ออกดอกมากเช่นกัน ถึงแม้พื้นที่จะลดลงเนื่องจากราคาตกต่ำก็ตาม โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี 137,882ตัน จังหวัดระยอง 15,313 ตัน จังหวัดตราด 77,651 ตัน ส่วนลองกอง มีผลผลิตประมาณ 63,876 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5% เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม รวมทั้งมีการ ขยายพื้นที่เนื่องจากขายผลผลิตได้ราคาดี โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี 52,232 ตัน จังหวัดระยอง 3,633 ตัน จังหวัดตราด 8,011 ตัน

ทั้งนี้ ผลผลิตทั้งหมด 752,532 ตัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม และจะออกมากที่สุดในเดือน พฤษภาคมถึง 4 แสนตัน ซึ่งจำเป็นต้องกระจายผลผลิตให้ออกนอกแหล่งผลิต เพื่อรักษาระดับราคา จึง จำเป็นต้องมีวงเงินสำหรับมาตรการที่จะมาสนับสนุนช่วยเหลือ โดยไม่กระทบกลไกตลาดปกติ ดังนั้น กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ จึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ อาทิ มาตรการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต มาตรการ รวบรวม และกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต 3 จังหวัด ที่จะนำเสนอ คชก. เพื่อขอวงเงินนำมาบริหาร จัดการในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2553

          สำหรับสถานการณ์ลิ้นจี่ ปี 2553 คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตทั้งประเทศประมาณ 74,328 ตัน ลดลงจากปี   2552 (82,808 ตัน) ร้อยละ 10.24 ส่วนพื้นที่ในแหล่งผลิตลิ้นจี่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่   เชียงราย พะเยา และน่าน มีผลผลิตรวม 62,366 ตัน ลดลงจากปี 2552 (70,251 ตัน) ร้อยละ 11.22     โดยผลผลิตของทั้ง 4 จังหวัด จะออกกระจุกตัวมากในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ประมาณ 56,005 ตัน    โดยเดือนพฤษภาคมมีผลผลิต 36,118 ตัน และเดือนมิถุนายนมีผลผลิต 19,887 ตัน ซึ่งทำให้ปริมาณผลผลิต  ลิ้นจี่ล้นตลาด โดยเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผลผลิตของผลไม้ภาคตะวันออกออกสู่ตลาด เกิดสภาวะแข่งขันด้านการตลาดกับผลไม้ภาคตะวันออก และลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ไม่สามารถเก็บไว้ได้น่าน ประกอบกับสภาพ  อากาศที่ค่อนข้างร้อน และแห้งแล้งจะทำให้ลิ้นจี่สุกเร็ว และมีคุณภาพต่ำ จึงจำเป็นต้องกระจายผลผลิตให้ออกนอกแหล่งผลิต เพื่อรักษาระดับราคาลิ้นจี่ไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับ  เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในแหล่งผลิตใหญ่ 4 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน) ซึ่งกระทรวงเกษตรและ  สหกรณ์ มีแผนการบริหารจัดการผลผลิตลิ้นจี่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553 จำนวน 21,300 ตัน  โดยมี  มาตรการช่วยเหลือที่จะนำเสนอ คชก. ปี 2553   เช่น มาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิตภายในประเทศ    มาตรการส่งเสริมการแปรรูป  มาตรการพัฒนาคุณภาพผลผลิต  รวมทั้งมาตรการส่งเสริมตลาด  ภายในประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าปัญหาที่เคยมีมาทุกปี น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวสวนได้ ซึ่งหลังจาก  เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป ผลไม้ภาคใต้ รวมทั้งลำไย ภาคเหนือ จะทยอยออกมาเรื่อย ๆ จนถึงเดือนสิงหาคมของ  ทุกปี

นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันผลไม้ของไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดูแลคุณภาพเป็น อย่างดี ได้มีนโยบายเน้นอาหารปลอดภัย มีการทำ GAP (ผลิตปลอดภัย) GMP (บรรจุและแปรรูปปลอดภัย) ที่สำคัญผลไม้ไทยมีตรา Q (คุณภาพตรวจสอบย้อนกลับได้) สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งภายใน และ ต่างประเทศ ขอเชิญชวนชาวไทยบริโภคผลไม้ไทย เศรษฐกิจไทยก้าวไกลมั่นคง

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ