ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday April 22, 2010 13:55 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1)

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
  • เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต
  • เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน 31 มีนาคม 2553 )
  • การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
  • ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    - ข้าวเปลือกหอมมะลิ    ตันละ 15,300 บาท             ไม่เกิน  14 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด  ตันละ 14,300 บาท             ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ   ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี    ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว     ตันละ  9,500 บาท             ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
  • ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
  • ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 7 วัน

1.1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
  • ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
  • ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
  • การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)
  • การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1     ตันละ 11,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้า          ตันละ 10,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว        ตันละ  9,500 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
  • ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 7 วัน

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ การซื้อขายมีปริมาณน้อย เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์

ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีสินค้าในปริมาณที่มากพอสมควร จึงเสนอซื้อในราคาลดลง ส่วนราคาข้าวเหนียวราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดขณะนี้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 26 มีนาคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1,987,441 ตันข้าวสารเพิ่มขึ้นจาก1,950,442ตันข้าวสารของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.90 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,739 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,783 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,360 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,546 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.29

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,721 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,640 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,360 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,546 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,825 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,170 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 995 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (31,952.53 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 998 ดอลลาร์สหรัฐ (32,048.87 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 96.34 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 737 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,667.35 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 739 ดอลลาร์สหรัฐ (23,731.58 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 64.23 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,350.06 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 486 ดอลลาร์สหรัฐ (15,606.97 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 256.91 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,519.62 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,033.42 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.66 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 513.80 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,281.34 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 524ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,827.26บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 545.92 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1131 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 เขมรเหลือข้าวส่งออกปีนี้มากกว่า 3.5 ล้านตัน

สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เผยว่าข้าวสารภายในประเทศปีนี้มีเหลือเพื่อการส่งออกมากกว่า 3.5 ล้านตัน เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้มากขึ้นในฤดูที่ผ่านมา โดยเกษตรกรกัมพูชาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้มากขึ้น ทั้งยังได้โอกาสจากการเปิดตลาดค้าเสรี ประกอบกับปัญหาในประเทศไทย ที่มีการเก็งกำไรข้าวสารกันอย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้ ปีที่แล้วกัมพูชาปลูกข้าวได้ผลผลิตทั้งหมด 7.5 ล้านตัน แต่ความต้องการบริโภคภายในประเทศแค่ 4 ล้านตัน จึงสามารถส่งออกข้าวสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อีก 3.5.ล้านตัน โดยขายให้เวียดนาม ไทยและฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวในกัมพูชายังต้องพึ่งพาแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

2.2 บังคลาเทศนำเข้าข้าวขาวที่ 12,490 บาท/ตัน

บริษัท Indo-Sino ในสิงคโปร์ และ บริษัท Tanvir Enterprise ชนะการประมูลข้าวของบังคลาเทศที่ราคา 388.92 เหรียญสหรัฐ/ตัน (12,489.43 บาท/ตัน) (C&F) ปริมาณ 50,000 ตัน โดยบริษัท Indo-Sino เสนอราคาประมูลข้าวขาวต่ำที่สุดที่ 388.92 เหรียญสหรัฐ/ตัน (12,489.43 บาท/ตัน) ปริมาณ 35,000 ตัน ในขณะที่ บริษัท Tanvir Enterprise เป็นผู้ประมูลได้เป็นลำดับถัดมา ที่ปริมาณ 15,000 ตัน ซึ่งได้มีการอนุมัติข้อเสนอไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาและจะมีการทำสัญญากับบริษัททั้งสองในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ การส่งมอบจะเกิดภายหลังจากการลงนามทำสัญญาระหว่างกันไปแล้ว 60 วัน นอกจากนี้ บริษัท Indo-Sino ยังสามารถประมูลข้าวนึ่งได้อีก 50,000 ตัน ที่ราคา 492 เหรียญสหรัฐ/ตัน (15,799.64 บาท/ตัน) (C&F)

บังคลาเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก (แต่มีปริมาณการส่งออกข้าวหอมน้อย) ได้วางโครงการที่จะนำเข้าข้าว 300,000 ตัน และข้าวสาลี 750,000 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน จนถึงเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องจากรัฐบาลต้องการสำรองข้าวภายหลังจากความล้มเหลวในการจัดหาข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ซึ่งในปี 2551 บังคลาเทศมีการนำเข้าข้าวถึง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ (25,690.48 ล้านบาท)

ประเทศในแถบเอเชียใต้มีกำลังการผลิตข้าวประมาณ 30 ล้านตัน ซึ่งโดยปรกติแล้วก็เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากร 150 ล้านคน แต่มักต้องการนำเข้าข้าวเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม และ ความแห้งแล้ง เป็นต้น รวมทั้งเหตุการณ์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่รัฐบาลประกาศห้ามการส่งออกจนถึงเดือนมิถุนายน อันเป็นมาตรการรักษาระดับราคานั้น ส่งผลให้ เมื่อ 2-3เดือนที่ผ่านมา ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะสามารถผลิตเองได้ในปริมาณมากและคุณภาพผลผลิตก็อยู่ในระดับที่ดีก็ตาม

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5 - 11 เมษายน 2553 -- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ