ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday June 15, 2010 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

การตลาด

1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1) ขณะนี้ อยู่ในช่วงการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ เท่านั้น

  • การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
  • ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    -   ข้าวเปลือกเจ้าตันละ     ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -   ข้าวเปลือกปทุมธานี      ตันละ 10,000 บาท             ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -   ข้าวเปลือกเหนียว       ตันละ  9,500 บาท             ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
  • ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553

ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 7 วัน สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 31 พ.ค. 53

2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
  • ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
  • ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
  • การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30สิงหาคม 2553)
  • การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    -     ข้าวเปลือกปทุมธานี 1  ตันละ 11,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกเจ้า       ตันละ 10,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -     ข้าวเปลือกเหนียว     ตันละ  9,500 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
  • ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 7 วัน สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 31 พ.ค. 53

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ตลาดยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกยังไม่สามารถหาตลาดใหม่ๆ และคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมากได้ (Lot ใหญ่) ประกอบกับผู้บริโภคต่างประเทศ หันมาบริโภคข้าวสาลีแทนข้าวเนื่องจากข้าวสาลีมีราคาถูกกว่าข้าวมาก โดยเฉพาะประเทศอินเดียและปริเทศแถบแอฟริกา รวมทั้งข้าวนาปรังปี 2553 รอบ 2 เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นและความชื้นสูง ทำให้โรงสีซื้อข้าวในราคาต่ำลง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 14 พฤษภาคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3,025 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 3,161 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.30 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,013 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,990 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,034 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,999 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,016 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,275 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,475 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.36

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,675 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี (สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี)

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 960 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (31,028 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 977 ดอลลาร์สหรัฐ (31,524 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 496 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 720 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,271 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,383 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,637 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,552 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,803 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.3204 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 เวียดนามลดดอง คู่ค้าลดบริโภคถล่มราคาข้าว

จากกรณีที่เวียดนามยังประสบปัญหาเงินเฟ้อและดุลการค้า จึงมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดค่าเงินดองลงอีก ซึ่งจะทำให้ข้าวเวียดนามมีราคาถูกกว่าไทยมาก นอกจากนี้ ประเทศผู้นำเข้าข้าวบางประเทศมีการบริโภคข้าวลดลง โดยเฉพาะตลาดอินเดียที่คาดว่าอาจจะต้องนำเข้าข้าวในปี 2553 หันไปใช้ข้าวสาลีแทนจึงยังไม่ต้องนำเข้าข้าว ส่วนตลาดแอฟริกาหันไปบริโภคข้าวโพด ทำให้ความต้องการลดลงเช่นกัน

ทั้งนี้ ไทยจึงเตรียมเปิดตลาดสินค้าส่งออกข้าวใหม่ ในประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศไซบีเรียที่มีกำลังซื้อสูง รวมทั้งรัฐบาลจะเร่งระบายข้าวในสต็อกแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งจะทำให้กลไกด้านราคากลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น

2.2 คาดการณ์ผลผลิตข้าวอินเดียแตะ 100 ล้านตัน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงทางการเกษตรของอินเดีย รายงานว่า หากยังเกิดลมมรสุมตามที่ได้เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ จะเป็นปัจจัยส่งผลให้ผลผลิตข้าวของประเทศอาจเพิ่มขึ้นไปสูงถึง 100 ล้านตัน รวมทั้งผลผลิตที่เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นเมล็ด (pulse) จะปรับตัวสูงขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ อินเดียกำลังเร่งส่งเสริมโครงการผลิตพืชที่มีลักษณะเป็นเมล็ด (pulse) เพื่อกระตุ้นผลผลิตไปพร้อมๆ กันด้วย

อนึ่ง ในปี 2551-2552 อินเดียสามารถผลิตพืชที่มีลักษณะเป็นเมล็ด (pulse) ได้ถึง 14.5 ล้านตัน ในขณะที่มีการนำเข้า 3-4 ล้านตัน

2.3 จีนเร่งปลูกมันฝรั่งสร้างความมั่นคงอาหาร

จากเดิมที่จีนเป็นประเทศที่มีการเพาะปลูกข้าวมากในลำดับต้นของโลก แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ประเด็นความมั่นคงอาหารได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและส่งผลกระทบต่อโลก จีนจึงได้เร่งทำการวิจัย ผลิต และฝึกอบรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรเทาปัญหาความยากจนและเป็นปราการในการป้องกันปัญหาการขาดแคลนอาหาร

ความท้าทายในปัญหาอุปทานพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรที่หดตัวลง และการขาดแคลนน้ำเป็นประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งการแผ่ขยายของสังคมเมืองเข้ามาเบียดบังพื้นที่ทางการเกษตรอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จีนได้มีการประเมินว่าในปี 2573 จะมีประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1.5 พันล้านคน ทำให้มีปริมาณความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 100 ล้านตัน/ปี

จากประเด็นปัญหาข้างต้น จีนได้ทำการวิจัยและจะมุ่งเน้นการผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกท่ดีกว่าข้าวและข้าวสาลี เนื่องจากมันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนทางด้านพลังงานมากกว่าต่อพื้นที่ที่เท่ากัน ทั้งนี้ ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทางตอนใต้ของประเทศ เกษตรกรได้เพาะปลูก

มันฝรั่งในช่วงเว้นปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้กำลังพัฒนาสายพันธุ์ที่มาจากต่างประเทศ

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ