1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
ในอดีตอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์มีความสมบูรณ์มาก แต่ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำและความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนอาจเกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำบางชนิดในที่สุด ทั้งนี้ เป็นเพราะความต้องการบริโภคสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของประชากร และสภาพเศรษฐกิจที่ประชาชนเข้ามาทำการประมงจับสัตว์น้ำในบริเวณนี้ เพื่อเพิ่มรายได้ในการยังชีพมากขึ้นกว่าในอดีต ผลจากการสำรวจในปี 2512-2550 พบว่า ผลจับสัตว์น้ำในเขื่อนลดลงอย่างรุนแรง จากที่เคยจับได้ 2,522 ตัน เหลือเพียง 619 ตัน ในปี 2549 และเป็นเหตุให้ปลาบางชนิด เช่น ปลากาดำ และปลาพรม อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ด้วย
ล่าสุดกรมประมงได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ด้วยการเร่งคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ปี 2553-2555 ขึ้น สำหรับใช้เป็นแนวทางบริหรจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน เพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำให้กลับคืนดังเช่นอดีต โดยมีการดำเนินกิจกรรม โครงการต่างๆ เช่น การเพาะพันธุ์ปลาพื้นบ้าน พันธุ์กุ้งก้ามกราม เพื่อปล่อยลงสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อน และถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมงอีกด้วย นอกจากนี้กรมประมงยังฟื้นชีวิตอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจัดให้มีวังปลา เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ดังเดิมมีการจัดแนวเขตอนุรักษ์ และการจัดทำบ้านปลา เพื่อเพิ่มแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งมีการอนุบาลลูกปลาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อเพิ่มอัตรารอด ในการดำเนินงานโครงการวังปลาในครั้งนี้ ชาวบ้านในบริเวณพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ได้ให้ความร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมดังกล่าว และจากการติดตามประเมินผลโครงการ พบว่าปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 5 เท่า และยังพบชนิดพันธุ์ปลาที่เคยสูญหายไปจากแหล่งน้ำนี้นับ 10 ปีแล้ว กลับมามีให้เห็นเหมือนเดิมเช่นในอดีต เปรียบเสมือนสัญญาณที่ดีในความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์อย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ในรอบสัปดาห์ผ่านมา(1 - 7 พ.ค. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 912.51 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 469.69 ตัน สัตว์น้ำจืด 442.82 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.05 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.48 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.02 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.92 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.29 ตัน
การตลาด
วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน ญหาด้านสุขอนามัยของปลาตกค้าง ทั้งนี้ลให้ปลาสดของอุรุกวัย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 111.11 บาท ขอวสัปดาห์ก่อน 8.89 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 107.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.95 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.17 ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 — 11 มิ.ย. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.83 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 มิถุนายน 2553--