ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Wednesday June 23, 2010 15:28 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

ดันสินค้ากุ้งมาตรฐานหนีคู่แข่งขัน

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร(มกอช.)เปิดเผยว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนา เพื่อยกระดับระบบการผลิตกุ้งให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตลอดสายการผลิต ตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจาก จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าแล้ว ยังสามารถช่วยรักษาตลาดส่งออกสินค้ากุ้งไทยในต่างประเทศเอาไว้ไม่ให้ถูกชิงส่วนแบ่งตลาด และเป็นช่องทางที่จะช่วยขยายตลาดส่งออกใหม่ได้ในอนาคต

รอง ผอ.มกอช.กล่าวด้วยว่า เบื้องต้นผู้เลี้ยงกุ้งทะเลควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล(มกษ.7401-2552) ซึ่ง มกอช.และกรมประมงร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมาตรฐานดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลทุกขั้นตอน ตั้งแต่ระดับฟาร์มที่มีระบบการเลี้ยงที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์(Animal Welfare) การเก็บเกี่ยว การดูแลหลังเก็บเกี่ยว การขนส่ง ตลอดจนมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับผู้เลี้ยงกุ้งทะเลสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

ขณะนี้ มกอช.ได้ร่วมกับกรมประมงเร่งเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตกุ้งทะเลตามมาตรฐาน มกษ.7401-2552 นำร่องในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งจังหวัดตราด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา กว่า 300 ราย ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงฟาร์ม เพื่อผลิตสินค้ากุ้งทะเลที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และให้เป็นที่ยอมรับจากประเทศ ผู้นำเข้าทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลนำฟาร์มเข้าสู่ระบบมาตรฐานฯเพิ่มมากขึ้น และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยในระยะยาวด้วย

ในรอบสัปดาห์ผ่านมา(8-14 พ.ค.2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,070.67 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 580.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 490.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก        ส่งเข้าประมูลจำหน่าย       2.44       ตัน
          1.2  ปลาช่อน       ส่งเข้าประมูลจำหน่าย       4.10       ตัน
          1.3  กุ้งทะเล       ส่งเข้าประมูลจำหน่าย     104.44       ตัน
          1.4  ปลาทู         ส่งเข้าประมูลจำหน่าย       5.31       ตัน
          1.5  ปลาหมึก       ส่งเข้าประมูลจำหน่าย      94.15       ตัน

การตลาด

วมระหว่างประเทศปลงรูปแบบการทำประมงนอกน่านน้ำที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดซับซ้อนมากขึ้น ส่วน ปัญหาด้านสุขอนามัยของปลาตกค้าง ทั้งนี้ลให้ปลาสดของอุรุกวัยความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.43 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 18.57 บาท

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 107.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.59 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.17 ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 — 18 มิ.ย. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

แท็ก มกอช.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ