1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.2 การตลาด
1.2.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1) ขณะนี้ อยู่ในช่วงการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ เท่านั้น
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้น ภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
- ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบที่ 1)
- ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2553
1.2.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
- ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
- ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)
- การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 7 วัน สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 21 มิ.ย. 53
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ตลาดเริ่มคึกคัก หลังจากที่ซบเซามานาน ในสัปดาห์นี้ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกตลาด เนื่องจากผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาบ้างแล้ว จึงได้ออกมาซื้อข้าวในตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังปี 2553 ออกสู่ตลาดน้อยลง จึงส่งผลให้ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 21 มิถุนายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3,800 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4,142 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.26 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,836 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,801 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,969 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,946 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,355 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,079 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,175 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,890 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,675 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 982 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (31,542 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 946 ดอลลาร์สหรัฐ (30,451 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,091 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 739 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,727 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 722 ดอลลาร์สหรัฐ (23,241 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 486 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,390 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐ (14,163 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 227 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,688 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,522 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 166 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,835 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,775 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,060 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1204 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ราคาข้าวตกต่ำบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม
เกษตรกรในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้เก็บเกี่ยวข้าวเกือบ 100,000 เฮกตาร์ (625,000 ไร่) จาก 1.5 ล้านเฮกตาร์ (9.375 ล้านไร่) ในฤดูการเก็บเกี่ยวช่วงฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง แต่ยังไม่สามารถขายได้เนื่องจากยังเกิดปัญหาด้านราคา โดยเกษตรกรใน Lap Vo District รายหนึ่งได้กล่าวว่า เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าวสายพันธุ์ IR50404 ในพื้นที่ 2 เฮกตาร์ (12.5 ไร่) ซึ่งได้ผลผลิตค่อนข้างสูงประมาณ 6.5 ตัน/เฮกตาร์ (1.04 ตัน/ไร่) แต่ยังไม่สามารถขายได้ เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำมากจนเกษตรกรไม่ได้สามารถทำกำไรให้แก่เกษตรกรได้และไม่มีผู้ค้าเข้ามาซื้อ ส่วนในพื้นที่ Hong Ngu District เกษตรกรได้เก็บเกี่ยวข้าว 1,000 เฮกตาร์ (6,250 ไร่) จากพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด 11,700 เฮกตาร์ (73,125 ไร่) แต่ก็ยังไม่ได้ทำการขายเช่นเดียวกัน แม้ว่าเกษตรกรต้องการที่จะขายที่ราคา 3,400 ดอง/กก. (5.78 บาท/กก.) แต่ก็ไม่มีผู้ซื้อ นอกจากนี้ ในพื้นที่ Tan Hong District ยิ่งมีราคาข้าวต่ำกว่า Hong Ngu District ประมาณ 100-200 ดอง/กก. (0.17-0.34 บาท/กก) เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกกว้างกว่า ทั้งนี้ ในเดือนกรกฏาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวมากที่สุดในฤดูการเก็บเกี่ยวช่วงฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง มักเป็นช่วงที่มีฝนตกมาก ถ้าเกษตรกรยังไม่สามารถขายข้าวได้ อาจส่งผลให้ผลผลิตชื้นและมีคุณภาพต่ำได้
อนึ่ง ราคาข้าวที่ตกต่ำอยู่ที่ระดับประมาณ 3,500 ดอง/กก. (5.95 บาท/กก.) ประกอบกับปริมาณความต้องการข้าวลดต่ำลง ทำให้เกิดสต็อกในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอยู่ประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้เพียงการคงสต็อกข้าวไว้อีก 2 เดือน อย่างไรก็ตาม ได้เคยมีการพยากรณ์ว่าในปี 2553 นี้ ปริมาณความต้องการของข้าวจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ดังนั้นให้เกษตรกรเก็บรักษาข้าวไว้จนราคาปรับสูงขึ้นจึงค่อยขาย
2.1 การส่งออกข้าวของเวียดนามจะพุ่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3
สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 จะพุ่งสูงขึ้นไปถึง 1.6 ล้านตัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 ล้านตัน โดยแยกเป็นการส่งออกในเดือน ก.ค. 600,000 ตัน, ส.ค. 550,000 ตัน และ ก.ย. 450,000 ตัน นอกจากนี้ เวียดนามยังวางแผนจะส่งออกข้าวในไตรมาสที่ 4 จำนวน 1.1-1.2 ล้านตัน ทำให้การส่งออกรวมทั้งปีจะอยู่ระหว่าง 6-6.1 ล้านตัน
ทั้งนี้ การส่งออกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาถึงวันที่ 20 มิ.ย. 53 อยู่ที่ 3.31 ล้านตัน หรือเท่ากับ 1,396 พันล้านเหรียญสหรัฐ (44.84 ล้านล้านบาท) (ราคา FOB) โดยปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 9.08 และ 0.78 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามลำดับ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ สมาคมอาหารแห่งเวียดนามได้ทำสัญญาการส่งออกข้าวแล้ว 4,934 ล้านตัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 17.14
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 มิถุนายน 2553--