1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1. การตลาด
1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ1) ขณะนี้ อยู่ในช่วงการใช้สิทธิของเกษตรกรภาคใต้ เท่านั้น
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นภูมิลำเนา/ต้นที่ปลูก ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - 15 ธันวาคม 2552 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 - 15 เมษายน 2553
- ระยะเวลาใช้สิทธิ์ประกันรายได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552- 28 กุมภาพันธ์ 2553 ยกเว้น ภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2553
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
- ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553
1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
- ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ 1 ธันวาคม 2552 — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มกราคม — 30 เมษายน 2553 (ภาคใต้ 1 เมษายน — 31 กรกฎาคม 2553
- ระยะเวลาประชาคม 6 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 6 เมษายน — 15 สิงหาคม 2553)
- ระยะเวลาออกหนังสือรับรอง 15 มกราคม — 20 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 15 เมษายน — 20 สิงหาคม 2553)
- การจัดทำสัญญาประกันรายได้ 20 มกราคม — 30 พฤษภาคม 2553 (ภาคใต้ 20 เมษายน — 30 สิงหาคม 2553)
- การใช้สิทธิ์ประกันรายได้ 21 มกราคม — 31 กรกฎาคม 2553 (ภาคใต้ 21 เมษายน — 31 ตุลาคม 2553)
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของตลาดเริ่มมีกำลังซื้อเข้ามาบ้าง ผู้ส่งออกที่ต้องการข้าวเพื่อเตรียมส่งมอบได้ออกมาเสนอซื้อสูงขึ้น ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังปี 2553 ที่ออกสู่ตลาดเริ่มลดน้อยลง ส่งผลให้ราคาข้าวโดยเฉพาะข้าวขาวปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 21 มิถุนายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3,800 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4,142 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.26 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,695 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,836 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,115 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,969 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,545 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,355 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,075 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,110 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,890 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 996 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (32,041 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 982 ดอลลาร์สหรัฐ (31,542 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 499 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 771 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,803 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 739 ดอลลาร์สหรัฐ (23,737 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 1,066 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 454 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,605 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐ (14,390 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 215 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,868 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,688 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 180 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 492 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,827 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,835 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1693 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ : เวียดนามเผชิญคู่แข่งขันข้าวคุณภาพต่ำ
เวียดนามทำสัญญาขายข้าว 10,000 ตัน กับเคนย่า ซึ่งโดยปกติแล้วเคนย่าจะมีปริมาณความต้องการนำเข้าข้าว 200,000 ตัน/ปี ในขณะที่ประเทศปากีสถานมักจะชนะการประมูลขายข้าวให้เคนย่า เนื่องจากมีความพอใจกับอัตราภาษีศุลกากรการนำเข้าที่ทางเคนย่าให้แก่ปากีสถานเป็นกรณีพิเศษที่ร้อยละ 35 ในขณะที่ผู้ส่งออกในประเทศอื่นๆ ต้องรับภาษีที่อัตราร้อยละ 75 แต่ในครั้งนี้เคนย่าไม่สามารถนำเข้าข้าวจากปากีสถานได้เพียงพอกับความต้องการ จึงลดอัตราภาษีการนำเข้าให้กับทุกประเทศอัตราเดียวที่ร้อยละ 35 ทำให้เวียดนามสามารถส่งออกข้าวไปขายให้เคนย่าได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 มิถุนายน - 4 กรกฏาคม 2553--