ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 105.03 บาท/กิโลกรัม
ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2553 — 2555 ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ประธานกรรมการนโยบายยางธรรมชาติเสนอ ดังนี้
คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 เห็นชอบให้มีการส่งเสริมปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ปี พ.ศ. 2553 — 2555 และมอบหมายให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ไปจัดทำโครงการเสนอต่อไป ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง (ก.ส.ย.) ครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553 มีมติเห็นชอบโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2553 — 2555 ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 มาตรา 21 ทวิ เป้าหมาย 800,000 ไร่ และได้นำมติของ ก.ส.ย. ดังกล่าวเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2553 — 2555 ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ทวิ
2. ปรับเป้าหมายของโครงการเป็นภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 150,000 ไร่ ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการได้ตามความต้องการของเกษตรกรในแต่ละภาค
3. มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรไปจัดการควบคุมมาตรฐานพันธุ์ยางที่จะใช้ในการส่งเสริมและให้เข้มงวดในเรื่องมาตรฐานปุ๋ยสำหรับสวนยาง
4. ให้ สกย.เป็นเจ้าของเรื่องในการขอรับการสนับสนุนคาร์บอนเครดิต
ทั้งนี้ โครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 มีสาระสำคัญ ได้แก่
1. วัตถุประสงค์
1.1) เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้และมีความเข้มแข็ง
1.2) เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่แห่งใหม่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพารามีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น
1.3) เพื่อส่งเสริมการสร้างงานในท้องถิ่น ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง
1.4) เพื่อส่งเสริมพื้นที่การปลูกป่า ช่วยฟื้นฟูรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ที่ดี
2. เป้าหมายโครงการ ส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ที่เหมาะสม จำนวน 800,000 ไร่ แบ่งเป็น ภาคเหนือ จำนวน 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ จำนวน 150,000 ไร่
3. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2553 — 2555) และการส่งเสริมต่อเนื่อง 6 ปี (พ.ศ. 2556 — 2561)
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 เกษตรกร : เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 80,000 — 160,000 ราย (เฉลี่ยระหว่างรายละ 5 -10 ไร่) มีรายได้คิดเป็นมูลค่า 112,000 — 224,000 บาท/ราย/ปี
4.2 เศรษฐกิจ : ก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น โดยมีแรงงานภาคการเกษตรไม่น้อยกว่า 100,000 คน และผลผลิตยางธรรมชาติของประเทศเพิ่มขึ้น นับจากปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป จำนวน 222,400 ตันต่อปี มูลค่าประมาณ 22,240 ล้านบาทต่อปี (ราคายาง F.O.B 100 บาทต่อกิโลกรัม ณ 19 มกราคม 2553)
4.3 สังคม : ลดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตร ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นสังคมสงบและมีความสุขสันติ เป็นแรงเสริมการทำนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรมอันดีของบ้านเมือง
4.4 ภาครัฐ : รัฐมีรายได้การเก็บเงินจากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร (Cess) เพิ่มขึ้นประมาณ ปีละ 311 ล้านบาท (อัตรา 1.40 บาทต่อกิโลกรัม) เป็นทุนสงเคราะห์ชาวสวนยางต่อไป
4.5 สิ่งแวดล้อม : การปลูกยางทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น สร้างเสริมระบบนิเวศน์ที่ดี เห็นได้จากการปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.38 บาท ลดลงจาก 107.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.87 บาท หรือร้อยละ 2.68
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 103.88 บาท ลดลงจาก 106.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.87 บาท หรือร้อยละ 2.69
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 103.38 บาท ลดลงจาก 106.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.87 บาท หรือร้อยละ 2.70
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.19 บาท ลดลงจาก 49.38 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.19 บาท หรือร้อยละ 8.49
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.48 บาท ลดลงจาก 46.51 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.03 บาท หรือร้อยละ 6.51
6. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.96 บาท ลดลงจาก 101.69 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.73 บาท หรือร้อยละ 1.70
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2553
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.06 บาท ลดลงจาก 118.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.94 บาท หรือร้อยละ 3.34
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.91 บาท ลดลงจาก 116.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.94 บาท หรือร้อยละ 3.37
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.39 บาท ลดลงจาก 73.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.04 บาท หรือร้อยละ 1.42
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.81 บาท ลดลงจาก 117.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.94 บาท หรือร้อยละ 3.35
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.66 บาท ลดลงจาก 116.60 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.94 บาท หรือร้อยละ 3.38
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.25 บาท ลดลงจาก 73.18 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.93 หรือร้อยละ 1.27
สำนักงานสถิติเวียดนาม รายงานว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เวียดนามส่งออกยางพาราคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 78.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,497 ล้านบาท ) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98.30 ขณะที่มีการนำเข้ายาง 87.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2,794 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.50 ซึ่งมูลค่าการนำข้ามากกว่ามูลค่าการส่งออกเพียง 9.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วมูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออกถึง 28.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การส่งออกยางพาราของเวียดนามเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 โดยเวียดนามส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงที่สุด คือมีมูลค่า 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ จีนและสหรัฐอเมริกา มูลค่า 9 และ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ นอกจากนี้ได้เพิ่มตลาดส่งออกใหม่ อาทิเช่น อินโดนีเซีย รัสเซีย และสาธารณรัฐเชค ซึ่งปริมาณการส่งออกไปอินโดนีเซีย 415 ตัน รัสเซีย 735 ตัน และ เชค 38 ตัน ปัจจุบันนี้โปแลนด์ ยังเป็นตลาดส่งออกของเวียดนามด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปของยางล้อ
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2553
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 340.00 เซนต์สหรัฐ ( 109.48 บาท) ลดลงจาก 352.70 เซนต์สหรัฐ (113.44 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 12.70 เซนต์สหรัฐหรือร้อยละ 3.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียวเฉลี่ยกิโลกรัมละ 345.93 เยน (126.48 บาท) ลดลงจาก 347.44
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5 - 11 กรกฏาคม 2553--