สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ร่วมกับทุกภาคส่วน เปิดตัวโครงการนำร่อง จ.นครราชสีมา ให้เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมนั้น ดีเดย์ 27 กันยายนนี้ ณ บริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด จ.นครราชสีมา เพื่อให้จังหวัดเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร อาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรม ให้ผลผลิตมันสำปะหลังมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและมีตลาดรองรับที่แน่นอน
นายยรรยงค์ แสนสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยในฐานเลขานุการคณะทำงานร่วม คณะทำงานบูรณาการเขตเกษตร เศรษฐกิจเพื่ออาหารและอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา (ปี 2553-2556) ว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนประกอบด้วยบริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ที. พี. เค. เอทานอล จำกัด และสถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ตลอดจนสถาบันองค์กรวิจัย และมูลนิธิเอกชน เร่งผลักดันมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่องในการ จัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการอย่างครบวงจร โดยได้กำหนดการเปิดตัวโครงการผลักดันมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่อง เพื่อให้จังหวัดนคราชสีมาเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร อาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรม ให้ผลผลิตมันสำปะหลัง มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีตลาดรองรับที่แน่นอน
สำหรับการเปิดตัวโครงการนำร่องจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่ออาหาร พลังงาน และ อุตสาหกรรมนั้น จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2553 เวลา 0900 — 16.00 น. ณ บริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยภายในงานการเปิดตัวโครงการนำร่องฯ จะเรียนเชิญรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน มาเป็นประธานร่วมเปิดงาน Kick Off และเยี่ยมชม ผลงานการจัดนิทรรศการและแสดงผลงานในโครงการเกี่ยวกับมันสำปะหลังตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จากส่วน ราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสถาบันการศึกษา สถาบันองค์กรวิจัย และมูลนิธิเอกชนต่างๆ และกิจกรรม การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องพืชอาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรม เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ร่วมงานอีกด้วย
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเชิญชวนเกษตรกรที่จะร่วมงานเปิดตัวโครงการและแขกผู้มีเกียรติ ประมาณ 1,200 คน เพื่อต้องการตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนเขตเกษตรเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งของจังหวัด เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อเกษตรกร และภาคธุรกิจการเกษตร ในการส่งเสริมการพัฒนาให้เกิดความร่วมมือกับทั้งกระทรวงเกษตรฯ และ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อวางแผนการผลิต การแปรรูป และการใช้ประโยชน์ให้มีความสอดคล้องกัน โดยจะใช้พื้นที่นำ ร่องเป็นแกนหลักในการผลิต ซึ่งคาดว่าผลของการเปิดตัวโครงการครั้งนี้จะมีเกษตรกรจำนวนมากเข้าร่วมโครงการจะทำ ให้เขตเกษตรเศรษฐกิจฯ มีทิศทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นจากการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกร่วมกัน เป็นไปในแบบคลัสเตอร์ (Cluster) บวกกับนำเขตเศรษฐกิจเข้ามาเสริมในรูปนิคมการเกษตร โดยส่งเสริมการปลูกมัน สำปะหลังในเขตพื้นที่มีลักษณะทางกายภาพและปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นตัวกำหนดเขต ซึ่งแหล่งผลิตจะมีความ ชัดเจนยิ่งขึ้นหากทราบความต้องการของตลาด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--