ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday September 2, 2010 13:09 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

-

1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)

  • การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. -31 มี.ค. 54
  • การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 15 เม.ย. 54
  • ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 — 30 เม.ย. 54
  • ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 — 31 ม.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53— 31 พ.ค 54
  • ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง 1 ส.ค. 53 — 15 มี.ค. 54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 — 15 ก.ค. 54
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    -  ข้าวเปลือกหอมมะลิ      ตันละ 15,300 บาท          ไม่เกิน  14 ตัน / ครัวเรือน
                    -  ข้าวเปลือกหอมจังหวัด    ตันละ 14,300 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน
                    -  ข้าวเปลือกเจ้าตันละ     ตันละ 10,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -  ข้าวเปลือกปทุมธานี1     ตันละ 11,000 บาท          ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    -  ข้าวเปลือกเหนียว       ตันละ  9,500 บาท          ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

คงเหลือเฉพาะการใช้สิทธิของเกษตรกรถึงสิ้นสุด 31 สค. 53* ยกเว้นภาคใต้ ที่กำลังดำเนินการ ดังนี้

  • ประชาคม 6 เม.ย. - 15 ส.ค.53
  • ออกหนังสือรับรอง 15 เม.ย.-30 ส.ค.53
  • การทำสัญญาประกันรายได้ 20 เมย.-30 สค.53
  • การใช้สิทธิของเกษตรกร ไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค. 53* ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกวันใช้สิทธิได้นับตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว และหากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง ธ.ก.ส. ล่วงหน้าก่อนวันขอใช้สิทธิใหม่อย่างน้อย 3 วัน ทั้งนี้วันขอใช้สิทธิใหม่จะต้องไม่ย้อนหลังจากวันที่แจ้ง

หมายเหตุ : * มติ กขช. ครั้งที่ 9/2553 (10 มิ.ย. 53) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิของเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)

  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1      ตันละ 11,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเจ้า           ตันละ 10,000 บาท           ไม่เกิน  25 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว         ตันละ  9,500 บาท           ไม่เกิน  16 ตัน / ครัวเรือน

ภาวะการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านทุกตลาด เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตข้าวเปลือกในท้องตลาดเหลือน้อย ประกอบกับความต้องการข้าวนึ่งเพื่อส่งออกของผู้ส่งออกยังมีมาก รวมทั้งผลผลิตข้าวเวียดนามน้อยลง ส่งผลให้การค้าข้าวเวียดนามชะลอตัวลง ผู้นำเข้าข้าวจึงหันมาซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 20 สิงหาคม 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5,067 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 5,579 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.18 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,611 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,579 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,606 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,133 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.81

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,889 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,800 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,522 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,039 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.01

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,230 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,130 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,057 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (33,040 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,017 ดอลลาร์สหรัฐ (32,027 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,013 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 791 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,725 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 787 ดอลลาร์สหรัฐ (24,784 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 59 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 472 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,754 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐ (14,580 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 174 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,660 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐ (13,321 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 339 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 527 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,473 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 524 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,501 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2581 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

น้ำท่วมในประเทศจีน ผลผลิตข้าวอาจลดร้อยละ 20 ในบางพื้นที่

จากกรณีเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 ทำให้พื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบ 11.4 ล้าน mu (4.75 ล้านไร่) แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืช 1.65 mu (0.6875 ไร่) โดยกระทรวงเกษตรจีนได้วิเคราะห์สถานการณ์จากเหตุการณ์น้ำท่วมพบว่า มีฝนตกหนักกระทบใน 9 จังหวัดของจีน ส่งผลต่อพื้นที่ 4,162 เอเคอร์ (10,405 ไร่) ทำให้เกิดพื้นที่เสียหาย 2,062 mu (860 ไร่) อันประกอบด้วยพื้นที่ปลูกพืช 471 เอเคอร์ (1,177.5 ไร่) โดยในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง จะส่งผลต่อการเพาะปลูกธัญพืช ทั้งนี้ จึงได้มีการวางแผนและแนวทางป้องกัน รวมทั้งมาตรการเพื่อลดการสูญเสีย

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Food Network มีรายงานว่า ในปี 2553 พื้นที่ผลิตข้าว indica ในจีนอาจลดลงถึงร้อยละ 20 การผลิตรวมคาดว่าจะลดลงร้อยละ 10 และการเก็บเกี่ยวจะล่าช้าไปอีก 7-15 วัน ทำให้ผลผลิต/พื้นที่ลดลงเล็กน้อย ส่งผลต่อราคาข้าวในตลาด จ.ฉางชา บางส่วนลดลง โดยจากเดิมราคาข้าว indica จาก 90 หยวน / 50 กก. (8.13 บาท/กก.) เป็น 88 / 50 กก. (7.23 บาท/กก.) อย่างไรก็ตาม ในจังหวัดหูหนาน บางพื้นที่อาจไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเนื่องจากความแตกต่างของภูมิประเทศ ทำให้ราคายังคงมีเสถียรภาพ แต่โดยภาพรวมปีนี้จีนประสบภัยธรรมชาติบ่อย ซึ่งจะส่งผลต่อภาคการผลิตอาหารอย่างแน่นอน แต่ปริมาณการผลิตอาหารที่ลดลงจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคา ปริมาณธัญพืชที่สงวนไว้ในท้องถิ่นและระดับประเทศยังคงเพียงพอต่อการหมุนเวียนในตลาดและเพียงพอสำหรับเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม พ่อค้าข้าวยังกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อตลาด

ในส่วนของสต็อกข้าว จากข้อมูลสำนักสถิติของจีน รายงานว่าสต็อกข้าวหลายชนิดในภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปีก่อนหน้า ซึ่งรวมปริมาณสต็อกข้าวทั่วไปที่ได้เก็บไว้ในปริมาณสูงกว่าเดิมร้อยละ 19 ด้วย นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจกำลังประสบปัญหาขาดแคลนข้าวเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น รวมทั้งมีปริมาณการรักษาสต็อกที่จำกัด คุณภาพอาหารที่ลดลง และราคาข้าว japonica ที่เพิ่มสูงขึ้น

อนึ่ง จีนได้เตรียมการกลยุทธ์ระยะกลางและระยะยาว โดยส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารอย่างเหมาะสม และใช้ตัวแปรระดับมหภาคเข้ามาร่วมกำหนด ไม่เน้นเร่งรัดการเก็บเกี่ยวจนอาจทำให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อระบบได้ ทั้งนี้ ได้มีการออกคำสั่งปราบปรามในการเก็งกำไรสินค้าเกษตร ซึ่งตามสถิติ web อาหารจีน รัฐยังคงระดับราคาซื้อต่ำที่สุดและรักษาระดับสต็อกข้าว indica ชั่วคราว ไว้ที่ 13.35 ล้านตัน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 — 29 สิงหาคม 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ