ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Tuesday September 14, 2010 13:27 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงทำให้สุกรเติบโตดีส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมีมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้มีฝนตกชุก ทำให้มีการบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 61.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.81 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.14 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.10 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.32

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้บางพื้นที่มีฝนตกและเกิดน้ำท่วม ทำให้มีการบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้ออ่อนตัวลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย

กรมปศุสัตว์ได้รับการประสานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แจ้งว่ากระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น(MAFF) จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจรับรองโรงงานเนื้อสัตว์ปรุงสุกไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ประกอบด้วยโรงงานใหม่ 3 แห่ง และตรวจรับรองโรงงานที่ซ่อมปรับปรุง 6 แห่งและสุ่มตรวจโรงงานไม่น้อยกว่า 6 แห่ง

โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2553 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปรุงสุกของไทยไปยังญี่ปุ่น มีปริมาณ 114,911 ตัน มูลค่า 15.963 ล้านบาท ซึ่งการตรวจรับรองโรงงานใหม่ในครั้งนี้ คาดว่าไทยจะส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปรุงสุกไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันหลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดในการควบคุมและป้องกันโรคในสัตว์กับสัตว์ทุกชนิด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาสุขภาพสัตว์ที่อ่อนแอ เจ็บป่วย หรือล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุแก่เกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและผลักดันให้การส่งออกสินค้าปศุสัตว์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 37.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.19บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงเอื้ออำนวยต่อผลผลิตไข่ไก่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ราคาไข่ไก่เริ่มอ่อนตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง

กรมปศุสัตว์ รายงานว่าขณะนี้มีเอกชนขอยืนหนังสือขออนุญาตนำเข้าแม่ไก่พันธุ์ตามกฎหมายควบคุมโรคระบาดสัตว์ของกรมปศุสัตว์แล้วจำนวน 9 รายมีจำนวนนำเข้า 80,956 ตัว คาดว่าในอีก 12 เดือนจะมีปริมาณไข่ออกสู่ตลาดเพิ่มวันละ 3.9 ล้านฟอง ทำให้กรมปศุสัตว์ต้องเร่งดำเนินการรณรงค์การบริโภคไข่เพิ่มขึ้นจาก 160 ฟองต่อคนต่อปี เป็น 200 ฟองต่อคนต่อปี

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 262 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 297 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 299 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 298 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 272 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 320 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 282 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 331 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 43.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.53 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.78 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 47.82 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 34.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 53.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 31.32 บาท ภาคกลาง 32.69 บาท ภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6 — 12 กันยายน 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ