1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
การตลาด
1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)
- การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. — 30 พ.ย.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. - 31 มี.ค.54
- การประชาคม 16 มิ.ย. — 15 ธ.ค.53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค.53 — 15 เม.ย.54 - ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. — 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค.53 — 30 เม.ย.54
- ทำสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค.53 — 31 ม.ค.54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค.53— 31 พ.ค 54
- ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค.53 - 15 มี.ค.54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย.53 — 15 ก.ค.54
- ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง 1 ส.ค.53 — 15 มี.ค.54 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย.53 — 15 ก.ค.54
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
คงเหลือเฉพาะการใช้สิทธิของเกษตรกรถึงสิ้นสุด 31 ส.ค. 53* ยกเว้นภาคใต้ ที่กำลังดำเนินการ ดังนี้
- ประชาคม 6 เม.ย. - 15 ส.ค.53
- ออกหนังสือรับรอง 15 เม.ย.-30 ส.ค.53
- การทำสัญญาประกันรายได้ 20 เมย.-30 สค.53
- การใช้สิทธิของเกษตรกร ไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค. 53* ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกวันใช้สิทธิได้นับตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว และหากเกษตรกรต้องการเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ จะต้องแจ้ง ธ.ก.ส. ล่วงหน้าก่อนวันขอใช้สิทธิใหม่อย่างน้อย 3 วัน ทั้งนี้วันขอใช้สิทธิใหม่จะต้องไม่ย้อนหลังจากวันที่แจ้ง
หมายเหตุ : * มติ กขช. ครั้งที่ 9/2553 (10 มิ.ย. 53) เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิของเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ2)
- ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน - ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน
ภาวะการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเกษตรกรขายได้และขายส่งตลาดกรุงเทพฯ มีแนวโน้มลดลงทุกชนิดข้าว ยกเว้นข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรเกี่ยวข้าวสดหนีน้ำข้าวมีความชื้นสูง ประกอบกับรัฐบาลระบายสต๊อกข้าวออกสู่ตลาดประมาณ 1.6 ล้านตันข้าวสาร ทำให้ผู้ส่งออกรอซื้อข้าวในสต็อกของรัฐบาล
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 3 กันยายน 2553 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5,361 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 5,905 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.22 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,697 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,627 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,393 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,610 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,973 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,055 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,171 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,523บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,890 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,970 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62
ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (34,057 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,084 ดอลลาร์สหรัฐ (33,624 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 433 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 835 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,758 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ (24,815 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.38 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 943 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,745 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐ (14,765 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 แต่ลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 20 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,820 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐ (13,679 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 141 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 527 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,257 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,502 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 245 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8483 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
น้ำท่วมปากีสถาน ส่งออกลด 40%
การส่งออกข้าวของปากีสถานซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศคาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 40 ในปี 2553-2554 ไปอยู่ที่ 2.3 ล้านตัน จากกรณีน้ำท่วมประเทศและส่งผลกระทบกระทบต่อการเพาะปลูก 7 แสนเฮกตาร์ (4.375 ล้านไร่) และต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมโรงสีข้าวในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อรายได้และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ในปี 2552 การส่งออกข้าวของปากีสถานมีประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (61.70 พันล้านบาท) หรือประมาณร้อยละ 50-60 ของการผลิตในประเทศ (2.8-3.8 ล้านตัน) โดยหน่วยงานรัฐบาลของปากีสถานได้ทบทวนการผลิตข้าวของปากีสถานในปี 2553-54 (ปีการตลาด) ที่เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย. ของปีนี้ ว่าจะมีปริมาณการผลิต 4.4 ล้านตัน จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 6.5 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณที่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม ในส่วนของการส่งออกจะลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 36 ไปอยู่ที่ 2.3 ล้านตัน (เดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.6 ล้านตัน) ซึ่งมีแนวโน้มลดลงมากกว่าปีการตลาดปัจจุบัน (2552-53) ที่มีปริมาณการผลิต 6.8 ล้านตัน และส่งออก 3.8 ล้านตัน ตามลำดับ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6 — 12 กันยายน 2553--