1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ผ่านมา (16-22 ส.ค. 2553) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 859.67 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 540.73 ตัน สัตว์น้ำจืด 318.94 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 1.97 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.41 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 108.79 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.82 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.33 ตัน
การตลาด
เฝ้าระวังลักลอบนำเข้ากุ้งทะเล
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่าจากการที่กรมประมงได้มีมาตรการเข้มงวดตรวจสอบกุ้งทะเลนำเข้า ทั้งกุ้งมีชีวิตและวัตถุดิบกุ้ง โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องแสดงใบรับรองสุขภาพ ที่แสดงการปลอดโรคไอเอ็มเอ็น การอายัด หรือกักกันกุ้งทะเลนำเข้า รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่เข้มงวดขึ้น และการงดนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศอินโดนีเซียและบราซิล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพกุ้งทะเลนำเข้าและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไอเอ็มเอ็น ที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต กุ้งไทยทั้งระบบ รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท โดยมาตรการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบก่อให้เกิดการลักลอบนำเข้าจากผู้ประกอบการที่มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้น ทางกรมประมงจึงได้ทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการนำเข้า และหน่วยงานด้านความมั่นคง อาทิ กรมศุลกากร กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อผนึกกำลังในการป้องกัน ปราบปรามการลักลอบนำเข้ากุ้งทะเลดังกล่าว โดยให้ด่านตรวจสัตว์น้ำ กรมประมง ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศเป็นหน่วยประสานงานในพื้นที่ ทั้งนี้หน่วยงานในพื้นที่ได้มีการประสานงาน และบูรณาการการทำงานไปแล้ว สำหรับในส่วนกลางได้มีการดำเนินการประชุมหารือกับหน่วยงานดังกล่าวเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้การทำงานมีการประสานงานเป็นไปด้วยดีที่สุด กรมประมงจะได้มีการเชิญเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ของหน่วยงานดังกล่าว มาร่วมสัมมนา เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้ากุ้งทะเลที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาประมาณปลายเดือนกันยายน 2553 นี้ เนื่องจากภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลักลอบนำเข้ากุ้งทะเล
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 128.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.90 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.99 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 — 24 ก.ย. 2553) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.30 บาท สูงขึ้นจากิโลกรัมละ 28.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 — 26 กันยายน 2553--