รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 23, 2010 15:52 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกันยายน 2553
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2553 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ร้อยละ 9.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตยังคงขยายตัวได้ในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.6 ในเดือนสิงหาคม 2553
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า อาจชะลอตัวลงจากเหตุการณ์น้ำท่วม ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งกระทบต่อการผลิตโดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงปัญหาราคาฝ้ายที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
  • ผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการในช่วงต่างๆของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและหลีกเลี่ยงกับการแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

  • แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วม
  • สำหรับการส่งออกยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องตลาดส่งออกหลักของไทยโดยเฉพาะเมียนมาร์ ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2553

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 191.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (186.4) ร้อยละ 2.9 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (174.6) ร้อยละ 9.8

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป Hard Disk Drive ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 18.9 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 62.6) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (ร้อยละ 57.8)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ Hard Disk Drive เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ เหล็ก เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2553 - 2554

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2553 จะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 15.0 — 16.0 ตามเป้าหมายที่ได้มีการประมาณการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นปี และอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 63-64

ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่

1.การขยายตัวในครึ่งปีแรกที่สูงกว่าการคาดการณ์ในระดับที่ค่อนข้างมาก ซึ่งการฟื้นตัวที่รวดเร็วและต่อเนื่องนี้ทำให้ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติในปี 2551 หรือสูงกว่า ทำให้มีแรงส่งต่อการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

2.แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียและเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดใหม่ ทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงบ้างในช่วงไตรมาสที่สามและสี่

อย่างไรก็ตามจะต้องมีการติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด อันได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่การฟื้นตัวยังมีแนวโน้มเปราะบาง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Quantitative Easing Policy) ของสหรัฐฯรอบที่ 2 หรือการการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกครั้งอาจจะกดดันการแข็งค่าของเงินบาท

สำหรับในปี 2554 คาดการณ์ว่า การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะชะลอลงโดยอัตราการขยายตัวจะอยู่ในระดับเพียง 1 หลัก จากปี 2553 ที่อัตราการขยายตัวอยู่ในระดับ 2 หลัก ทั้งนี้ ปัจจัยระยะสั้นต่างๆ อาทิ การอัดฉีดจากภาครัฐ ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นมาได้ในปีนี้กำลังจะหมดลง และหากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยังมีต่อเนื่อง อาจจะส่งผลต่อผู้ประกอบการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ต่อเนื่องปี 2554 เนื่องจากคำสั่งซื้อเดิมได้หมดลง และผลประกอบการที่ลดลงจากรายได้ในรูปเงินบาทจะเป็นแรงกดดันให้ต้องมีการปรับตัวในด้านต้นทุนและราคา ซึ่งอาจจะกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายในช่วงต่อๆไป

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ส.ค. 53 = 183.7

ก.ย. 53 = 201.5

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เครื่องประดับ
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ส.ค. 53 = 63.6

ก.ย. 53 = 64.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายน 2553 มีค่า 201.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553(183.7) ร้อยละ 9.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2552 (186.3) ร้อยละ 8.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม2553 ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องประดับ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศเป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 (ร้อยละ 63.6) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2552 (ร้อยละ59.8)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน อาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารสัตว์สำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศเป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2553

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 356 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 309 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 15.21 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,440.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 8,997.68 ล้านบาท ร้อยละ 60.04 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,220 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,984 คน ร้อยละ 32.02

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 343 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 3.79 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการลงทุน 13,701.29 ล้านบาท ร้อยละ 5.10 แต่การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกันยายน 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,568 คน ร้อยละ 12.76

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2553 คืออุตสาหกรรม เจาะ กลึง ไส และเชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 21 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2553 คืออุตสาหกรรม แกะลายแก้ว ตกแต่งผลิตภัณฑ์แก้ว เครื่องแก้ว เป่าแก้ว และผลิตภัณฑ์เซรามิคเงินลงทุน จำนวน 3,522.50 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่นภาชนะบรรจุ ถังพลาสติก เงินลงทุน จำนวน 1,154.00 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2553 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 530 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น ภาชนะบรรจุ ถังพลาสติก จำนวนคนงาน 482 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 133 ราย มากกว่าเดือนสิงหาคม2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.39 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม1,805.95 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,341.69 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,765 คน น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,047 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 87 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 52.87 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนกันยายน 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,579.47 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนกันยายน 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,669 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2553 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 17 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำยางแผ่นรมควัน ยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ ยางรูปแบบอื่น จำนวน 11 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2553 คืออุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่ม เงินทุน 495 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ เงินทุน 355.53 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2553คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 532 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 462 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —กันยายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,089 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 687โครงการ ร้อยละ 58.52 และมีเงินลงทุน 376,000 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 176,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 113.64

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — กันยายน 2553
          การร่วมทุน                  จำนวน(โครงการ)           มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            447                     119,400
          2.โครงการต่างชาติ 100%           380                     131,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     262                     124,800
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — กันยายน 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 161,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 67,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวตามฤดูกาลประกอบกับการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ทำให้เกิดการชะลอรับคำสั่งซื้อจากคู่ค้าส่วนการจำหน่ายภายในประเทศอาจปรับตัวลดลงจากอุทกภัยและผลด้านจิตวิทยาต่อข่าวการปรับขึ้นของราคาสินค้า

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกันยายน 2553 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.3 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.2 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่นแป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 36.0 และ 40.5 จากปัญหาเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ทำให้ปริมาณวัตถุดิบขาดแคลน ประกอบกับอยู่นอกช่วงฤดูการผลิต ส่งผลให้ปริมาณวัตถุดิบลดลง กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่นน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนเนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองผลิตลดลงร้อยละ13.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้อาหารไก่ มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ11.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการแข็งค่าของเงินบาททำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ในราคาเปรียบเทียบลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนกันยายน 2553 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 4.6 และ 4.1จากการลดลงของการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากราคาสินค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่น ราคามันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และกุ้ง

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.8 แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.5 จากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเนื่องจากปัจจัยการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะในสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่าลดลงร้อยละ 15.6 ประกอบกับเป็นช่วงนอกฤดูกาลผลิตของสินค้าน้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกเมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 55.4 3.8 และ 9.1ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า อาจชะลอตัวลงตามฤดูกาล ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ผลิตชะลอการรับคำสั่งซื้อสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ ประกอบกับผลทางจิตวิทยาตามข่าวการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...ผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการในช่วงต่างๆ ของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก...”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนกันยายน 2553 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ยกเว้นเส้นใยสิ่งทอที่มีการผลิตลดลงร้อยละ 2.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8, 2.2, 40.8 และ 16.6 ตาม ลำดับ เนื่องจากการจำหน่ายและการส่งออกที่ขยายตัวขึ้น

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนกันยายน 2553 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเช่นเดียวกับการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9, 11.1, 1.0, 9.7 และ5.5 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8, 35.0,56.8, 25.6, 18.9 และ 18.7 ตามลำดับ สำหรับการส่งออก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนและสหรัฐอเมริกา ร้อยละ12.2 และ 7.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวได้ดีในทุกตลาด ทั้งอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3, 26.3, 31.2 และ 22.0 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า อาจชะลอตัวลงจากเหตุการณ์น้ำท่วม ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งกระทบต่อการผลิตโดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงปัญหาราคาฝ้ายที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการในช่วงต่างๆ ของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและหลีกเลี่ยงกับการแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • บริษัทร่วมทุนระหว่าง POSCO และ Krakatau Steel ได้เริ่มการก่อสร้างโรงงานผลิตเหล็กครบวงจรแห่งใหม่ในเมือง Cilegon ประเทศอินโดนีเซีย โดยเฟสแรกโรงงานแห่งนี้จะมีกำลังการผลิต 3 ล้านตันซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2013 และจะลงทุนเพิ่มอีกเป็น 6 ล้านตันต่อปีในเฟสที่สอง มูลค่าการลงทุนของเฟสแรกมีมูลค่าประมาณ 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนโครงการเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่เคยโดย สัดส่วนการลงทุนของบริษัทร่วมทุนแห่งนี้จะถือหุ้นโดยPOSCO 70% และ Krakatau Steel 30%

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกันยายน 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 6.56 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กแผ่น พบว่า ลดลง ร้อยละ 9.60 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 44.74 เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อที่ลดลงของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องรวมทั้งไม่สามารถแข่งขันได้กับราคาที่นำเข้ามาของสินค้าสำเร็จรูป สำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 11.43 สำหรับเหล็กทรงยาวการผลิตลดลง ร้อยละ 3.42 โดยลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 6.51 และเหล็กลวด ลดลงร้อยละ 4.99 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงชะลอตัว ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 7.60 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.84 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 65.33 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลง ร้อยละ 36.22 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 3.50 โดย ลวดเหล็กลดลง ร้อยละ 13.67 ซึ่งสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลงมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมากจากความต้องการในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร เช่น สัปปะรดกระป๋องที่ลดลงในช่วงปลายฤดูการผลิตและสินค้าในกลุ่มอาหารทะเลบางชนิดที่มีวัตถุดิบลดลง นอกจากนี้จากการที่ค่าเงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้นซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีสต๊อกของวัตถุดิบที่มีต้นทุนสูงทำให้ไม่สามารถสู้กับราคาสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาได้

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก123.36 เป็น 136.44 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.60 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 121.27 เป็น127.65 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.26 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก125.88 เป็น 131.05 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.11 เหล็กแท่งแบนเพิ่มขึ้นจาก 123.25 เป็น 126.74 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.83 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 86.31 เป็น 87.01 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.81

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนตุลาคม 2553 คาดว่าจะมีทิศทางที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่ลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนพบว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำ หน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 141,416 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการผลิต 103,390 คัน ร้อยละ 36.78 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ร้อยละ 0.26
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 68,261 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 48,649 คัน ร้อยละ 40.31โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ร้อยละ 3.86
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 81,320 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการส่งออก 49,351 คัน ร้อยละ 64.78 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกายุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ร้อยละ 4.59
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2553 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 44 และส่งออกร้อยละ 56

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 177,588 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการผลิต 146,162 คัน ร้อยละ 21.50 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์ แบบครอบครัว และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553ร้อยละ 6.87
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 152,365 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 129,112 คัน ร้อยละ18.01 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2553 ร้อยละ 6.25
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 14,661คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการส่งออก 7,467 คันร้อยละ 96.34 ส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปลดลงจากเดือนสิงหาคม 2553ร้อยละ 10.16
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2553สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 92 และส่งออกร้อยละ 8
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับการส่งออกยังขยายตัวได้ดีเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และตลาดส่งออกหลักของไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนกันยายน 2553 ปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 และ 8.79ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงเพียงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.44 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ8.61 เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น สำ หรับปัจจัยสำ คัญที่มีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือ การเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกันยายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.50 สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชาและเวียดนาม

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลก่อสร้างรวมทั้งการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วมสำหรับการส่งออกยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกหลักของไทยโดยเฉพาะเมียนมาร์ ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนตุลาคม 2553 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ

-ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2553 ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก IC /Semiconductor devices Transistors เป็นหลัก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ก.ย. 2553

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                          มูลค่า           %MoM           %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                                1,702.26         9.55           1.99
          IC                                              875.72        16.87          23.77
          เครื่องปรับอากาศ                                   221.00        -0.34          28.27
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งวีดีโออื่นๆ       176.51         5.38          23.45
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                   5,013.18         1.80          16.41

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกันยายน2553 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.62 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.64 โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 119.43 ถึงแม้จะเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า จากการเร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายังขยายตัวดี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 602.53 การผลิตที่เพิ่มขึ้นในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอุปสงค์ต่อเนื่องจากสินค้าสำเร็จรูปประเภท Consumer Electronics และ IT ขยายตัวมากจากช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวในอัตราที่สูง

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 1.80 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.41 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,013.18 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 3.79 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.20 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,836.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 221.00 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 176.51 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 3,176.62 ล้านเหรียญสหรัฐผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,702.26 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 875.72 ล้านเหรียญสหรัฐ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนตุลาคม 2553ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก IC/Semiconductor devices Transistors เป็นหลัก

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ