การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.84 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ0.41 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.41 เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 17.77 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 17.15 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 3.87
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,264.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 12.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 806.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงคิดเป็นร้อยละ 75.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 440.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.62, 14.81 และ 12.47ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 291.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.66, 22.20และ18.76 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 144.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.28, 12.73 และ10.39 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 864.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.94,17.87 และ 9.42 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 343.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.27,16.94 และ 7.91 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 469.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.16, 21.98 และ 8.66 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 114.47ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 125.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำ คัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ลิกเตนสไตน์ และสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.69, 29.56 และ 11.42 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 21.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.61, 12.10 และ 10.60 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 806.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 75.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 45.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.81, 30.26 และ 8.77 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (ดูตารางที่ 3ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 3,057.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 196.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 130.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 195.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 2.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.97, 13.64และ 11.50 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 85.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.72, 13.30และ 9.96 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 2,531.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 387.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 189.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.02, 23.14และ 5.45 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 185.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เยอรมนี และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.64, 12.23 และ 11.36ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 22.99ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.98, 13.21และ 9.07 ตามลำดับ โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.81 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 164.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 156.16ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.52, 6.32และ 4.96 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 8.81ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.96,19.47 และ 13.88 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.84 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41 การส่งออกภาพรวมลดลงร้อยละ 47.82เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ลดลงคิดเป็นร้อยละ 75.54 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลงอย่างมาก เนื่องจากไตรมาสก่อนหน้ามีการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปอย่างมาก จึงมีการชดเชยสินค้าคงคลังในไตรมาสนี้ ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจึงเป็นจังหวะที่เหมาะต่อการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูป อีกทั้งราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจาก 1,250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้ามากกว่าการส่งออก อย่างไรก็ดีเครื่องประดับแท้ยังคงสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 38.18 ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 196.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ปัจจัยด้านบวก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น และจากการที่ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันดิบกับราคาทองคำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้แนวโน้มราคาทองคำในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ระดับ 1,300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่านี้อีก นอกจากนี้จากนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงยิ่งทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นอย่างมาก จะเป็นสาเหตุให้การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าจะสนับสนุนการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมนี้ที่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบกว่าร้อยละ 95 นอกจากนี้แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับแท้ที่ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่เป็นไปในทิศทางบวก อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลดีต่อด้านการลงทุน คือ การลงทุนจะยังคงทรงตัวอยู่ ปัจจัยด้านลบ ได้แก่ แนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาท จะทำให้การใช้จ่ายในด้านสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของนักท่องเที่ยวและคู่ค้าลดลงเนื่องจากราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะสูงขึ้นในสายตาผู้บริโภคต่างชาติ จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกจะมีผลกระทบด้านดีมากกว่า จึงคาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--