รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 14, 2010 14:28 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2553
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2553 ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 4.9 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตยังคงขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น ยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.1 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 64.4 ในเดือนกันยายน 2553
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

-การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวลงจากเหตุการณ์อุทกภัยประกอบกับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งกระทบต่อการผลิตโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมถึงปัญหาราคาฝ้ายที่ปรับตัวสูงขึ้น

-ผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและหลีกเลี่ยงกับการแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศและส่งออก คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลายและเข้าสู่เทศกาลต่างๆในช่วงปลายปี

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

-แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และปรับปรุงสาธารณูปโภคที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วม

-สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนายังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ย. 53 = 201.5

ต.ค. 53 = 191.6

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ย. 53 = 64.4

ต.ค. 53 = 64.1

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • ผลิตภัณฑ์ยาง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2553 มีค่า 191.6 ลดลงจากเดือนกันยายน 2553(201.5) ร้อยละ 4.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนตุลาคม 2552 (180.3) ร้อยละ 6.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน2553 ได้แก่ Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.1 ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 (ร้อยละ 64.4) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2552 (ร้อยละ60.5)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน 2553ได้แก่ Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ เม็ดพลาสติก เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ สบู่และผงซักฟอก เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2553

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 342 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 356 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 3.93 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13,128.19 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการลงทุน 14,400.13 ล้านบาท ร้อยละ 8.83 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 7,340 คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,220 คน ร้อยละ 20.39

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 363 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 5.79มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน 14,440.11 ล้านบาท ร้อยละ 9.09 และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,468 คน ร้อยละ 13.32

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2553 คืออุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ จำนวน 32 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรม ขุด ตักดิน ทรายและคัดแยกกรวด ทรายเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 30 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2553 คืออุตสาหกรรม ผลิต และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 5,205.10 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำ ผลิตภัณฑ์จากโลหะ ภาชนะบรรจุ เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็ก หรือเหล็กกล้า เงินลงทุน จำนวน 1,108.82 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2553 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 856 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ จำนวนคนงาน 605 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 114 ราย น้อยกว่าเดือนกันยายน2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.29 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,922.87 ล้านบาท มากกว่าเดือนกันยายน 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,805.95 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,939 คน มากกว่าเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน2,765 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 87 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 31.03 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนตุลาคม 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,178.59 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,779 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำ นวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 14 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ ทั้งสองอุตสาหกรรมเท่ากันจำนวน 7 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2553 คืออุตสาหกรรมพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 417 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำปุ๋ย สารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ เงินทุน 265ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 880 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 640 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —ตุลาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,230 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 779โครงการ ร้อยละ 57.89 และมีเงินลงทุน 395,800 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน187,600 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 110.98

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — ตุลาคม 2553
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)         มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%               489                     123,800
          2.โครงการต่างชาติ 100%              440                     137,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        301                     134,200
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม —ตุลาคม 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 168,400 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 70,900ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรม อาหาร คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น เพื่อรองรับเทศกาลช่วงปลายปี นอกจากนี้การจำหน่ายภายในประเทศอาจปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากอุทกภัยคลี่คลายและการประกาศตรึงราคาสินค้าซึ่งอาจส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มข้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนตุลาคม 2553 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 5.1 และ 10.3 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่นทูน่ากระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.0 และ 1.2 เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และผลิตเพื่อรองรับเทศกาลช่วงปลายปี กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาหารไก่ มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ในราคาเปรียบเทียบลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนตุลาคม 2553 สินค้าอาหารและเกษตรมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 14.5และ 0.5 จากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากราคาสินค้าเริ่ม ชะลอตัวลง

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 21.4 และ 8.9 จากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะในสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่าลดลงร้อยละ 18.2 ประกอบกับเป็นช่วงนอกฤดูกาลผลิตของสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง ส่งผลให้มูลค่าส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 79.6 24.6และ 7.3 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น จากค่าเงินบาทท่อี อนค่าลงบ้าง ทำให้ผู้ผลิตเร่มิ รับคำสั่งซื้อประกอบกับเพื่อรองรับเทศกาลช่วงปลายปี สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากปัญหาอุทกภัยในหลายพนื้ ที่ของประเทศเร่มิ คล่คี ลาย ประกอบกับการประกาศตรึงราคาสินค้า ซึ่ง อาจส่งผลให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...การจำหน่ายในประเทศและส่งออก คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลายและรองรับเทศกาลในช่วงปลายปีนี้...”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนตุลาคม 2553 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและทอ ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศและส่งผลกระทบโดยเฉพาะกับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางส่วนที่ต้องหยุดการผลิต ยกเว้นเส้นใยสิ่งทอที่มีการผลิตเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 4.0 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 9.3 , 8.1 และ 5.6 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเฉพาะเส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ,3.5 และ7.4 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายปรับลดลงร้อยละ 0.8 ,4.0 และ 0.8 ตามลำดับ สำหรับการส่งออก โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ ผ้าผืนด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะส่งิ ทอ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3, 25.6, 15.8, 2.2 และ 14.4 ตาม ลำดับ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9, 23.8, 63.1, 50.7 และ 32.2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 29.6 แต่หดตัวลงในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ร้อยละ -13.9, -0.3 และ — 1.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวได้ดีในทุกตลาด ทั้งอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยเพ่มิ ขึ้นร้อยละ 23.4, 52.6, 12.6 และ 9.5 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวลงจากเหตุการณ์อุทกภัย ประกอบกับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งกระทบต่อการผลิตโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมถึงปัญหาราคาฝ้ายที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและหลีกเลี่ยงกับการแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศและส่งออก คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลายและเข้าสู่เทศกาลต่างๆในช่วงปลายปี

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ราคาสัญญาสินแร่เหล็กของไตรมาสแรกในปีหน้ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากอุปสงค์ของสินแร่เหล็กในจีนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณสินแร่มีอย่างจำกัดในอินเดีย โดยฤดูมรสุมในอินเดียที่เกิดขึ้นล่าสุดทำให้การขนส่งสินแร่ในทิเบตต้องหยุดชะงัก

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.58 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 131.12 เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กแผ่นพบว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.82 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.03 โดยเป็นการผลิตที่เพิ่มขึ้นหลังจากปรับลดลงมามากในช่วงก่อนหน้านอกจากนี้เป็นการผลิตเพื่อรอส่งมอบสินค้าในงวดถัดไป รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.64 สำหรับเหล็กทรงยาวการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.89 โดยเหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 12.86 และเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ10.23 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงชะลอตัวขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 11.38 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตท่ลี ดลง ร้อยละ 10.50 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากท่สี ด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 53.40 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 22.08 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ12.55 โดย เหล็ก ลวด ลดลง ร้อยละ 17.67 ซึ่งสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลงมาก เนื่องจากได้มีการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกซึ่งมีราคาถูกจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตไทยไม่สามารถแข่งขันได้จนทำให้ต้องลดการผลิตลง

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบนเพิ่มขึ้นจาก 127.65 เป็น 128.72 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 88.42 เป็น 89.12 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.79 สำหรับราคาเหล็กที่สำคัญที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 131.02 เป็น 122.02เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.73 เหล็กเส้น ลดลงจาก 126.74 เป็น123.83 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 2.30 และ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 136.44 เป็น 134.57 ลดลง ร้อยละ 1.37

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2553 คาดว่าจะมีทิศทางที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตท่ลี ดลง เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนพบว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการผลิตท่ขี ยายตัวเพิ่มขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำ หน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 152,689 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการผลิต 115,043 คัน ร้อยละ 32.72 โดยเป็นการปรับเพิ่ม ขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 7.97
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 72,012 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 53,271 คัน ร้อยละ 35.18โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง,รถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPVและ SUV) และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 5.50
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 80,569 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการส่งออก 59,502 คัน ร้อยละ 35.41 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลางแอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 0.92
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2553ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ที่อาจส่งผลกระทบให้ลูกค้าบางส่วนชะลอการซื้อรถยนต์ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 48 และส่งออกร้อยละ 52

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 183,011 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการผลิต 163,863 คัน ร้อยละ 11.69โดยเป็นการปรับเพ่มิ ขึ้นทั้งรถจักรยานยนต์ แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 3.05
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 139,750 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 119,918 คัน ร้อยละ16.54 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2553 ร้อยละ 8.28
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 15,552คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการส่งออก 6,237 คันร้อยละ 149.35 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากผู้ประกอบการรายใหญ่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ได้มากขึ้น และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน2553 ร้อยละ 6.08
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ที่อาจส่งผลกระทบให้ลูกค้าบางส่วนชะลอการซื้อรถจักรยานยนต์ สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 93 และส่งออกร้อยละ 7
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัวลง เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์จะกระเตื้องขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม 2553 ต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่1 ปี 2554 สำหรับการส่งออกชะลอตัวลง แต่คาดว่ายังขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และตลาดส่งออกหลักของไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพ่มิ สูงขึ้นเพ่อื รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนตุลาคม 2553 ปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28 และ 10.25 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.36 และ 0.47ตามลำดับ ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ลดลงนี้ เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการผลิตปูนซีเมนต์ยังคงเพิ่มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้เมื่อพ้นภาวะน้ำท่วม

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนตุลาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 23.75 และ17.04 ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์บังคลาเทศ กัมพูชาและเวียดนาม

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และปรับปรุงสาธารณูปโภคที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วม

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำ ลังพัฒนายังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤศจิกายน 2553 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มข้นึ ร้อยละ 4.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็นเครื่องปรับอากาศ และเครื่องคอมเพรสเซอร์

-ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤศจิกายน 2553 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก IC /HDD เป็นหลัก

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม2553 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 371.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ13.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ตามการผลิต

เครื่องปรับอากาศ ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในออสเตรเลียและตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.64 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 514.32 โดยการผลิต Hard Disk Drive และ Integrated Circuit (IC) ชะลอลงจากที่เร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นฐานที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตสิ้นเดือนนี้ของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ยังอยู่ในระดับสูงมากกว่า90%

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 7.52 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.49 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,636.16 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.57 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.16 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,847.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่ายโทรทัศน์กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 227.12 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 183.28 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.20 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนมากเป็นการชะลอตัวของการส่งออกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักลดการสั่งซื้อเพื่อระบายสต๊อกสินค้าที่ได้สั่งไปมากก่อนหน้านี้ และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.60 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 2,789.13 ล้านเหรียญสหรัฐ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤศจิกายน2553 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และเครื่องคอมเพรสเซอร์

ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออกของIC/HDD เป็นหลัก

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ต.ค. 2553

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                         มูลค่า          %MoM          %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                               1,551.13       -8.88          4.16
          IC                                             699.16      -20.16          3.77
          เครื่องปรับอากาศ                                  227.12        2.77         24.76
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอ ภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ    183.28        3.83         22.81
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                  4,636.16       -7.52         10.49

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ