สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 14, 2010 14:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เดือนตุลาคม 2553 อัตราการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 ชะลอตัวลงสู่แนวโน้มปกติตามลำดับ โดยการผลิตยังคงขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น ยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 17.4

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยการขยายตัวชะลอลงสู่แนวโน้มปกติตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตยังคงขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่นยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติกอัตราการใช้กำ ลังการผลิต ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 64.36 ในเดือนกันยายน2553 เป็นร้อยละ 64.11 ในเดือนตุลาคม 2553

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2553 ยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 17.4 โดยยังขยายตัวได้ทั้งในตลาดสำคัญ และในสินค้าส่งออกที่สำคัญ

อุตสาหกรรมรายสาขา (ตุลาคม 2553)

อุตสาหกรรมอาหาร ในภาพรวมมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.1 โดยสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ทูน่ากระป๋องและกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.0 และ 1.2 เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และผลิตเพื่อรองรับเทศกาลช่วงปลายปี กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์มมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพ่มิ ขึ้น

ด้านการส่งออกโดยรวมในรูปเงินบาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.4 จากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะในสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่าลดลงร้อยละ 18.2 ประกอบกับเป็นช่วงนอกฤดูกาลผลิตของสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 8.1 และ 5.6 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกที่ยังขยายตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 23.8 63.1 50.7 และ 32.2ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายตลาดส่งออก ก็ยังขยายตัวได้ดีในทุกตลาดทั้งอาเซียนญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 11.38 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.50 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 53.40 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 22.08 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 12.55 โดย เหล็ก ลวดลดลง ร้อยละ 17.67 ซึ่งสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลงมาก เนื่องจากได้มีการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกซึ่งมีราคาถูกจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตไทยไม่สามารถแข่งขันได้จนทำให้ต้องลดการผลิตลง ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ(Black Sea) ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มีทั้งปรับเพิ่มขึ้นและลดลง ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นรีดร้อน ที่ลดลง ได้แก่เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เหล็กเส้น และ เหล็กแผ่นรีดเย็น

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน 152,689 คัน เพิ่มขึ้นจากจากเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีการผลิต 115,043 คัน ร้อยละ 32.72 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน2553 ร้อยละ 7.97 สำหรับการส่งออกยังขยายตัวดีที่ร้อยละ 35.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในออสเตรเลียและตะวันออกกลาง สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส ปรับตัวเพ่มิ ขึ้นร้อยละ 3.92โดยการผลิต Hard Disk Drive และ Integrated Circuit(IC) ชะลอลงจากที่เร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า

ในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.49 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,636.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ