สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2553 และแนวโน้มปี 2554 (เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 16, 2010 14:30 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

เศรษฐกิจโลกในปี 2553 IMF คาดว่าขยายตัวร้อยละ 4.8 และแนวโน้มในปี 2554 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2553 เนื่องจากปัจจัยการค้าโลกที่ฟื้นตัวและการไหลเวียนของเงินลงทุน แต่ปัญหาอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงในหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน รวมถึงการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ปัจจัยเหล่านี้จะกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และยังส่งผลให้ตลาดการเงินมีความเสี่ยงต่อภาวะไร้เสถียรภาพมากขึ้น แต่การขยายตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อ ปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และอัตราการว่างงานปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.0

สถานการณ์การเงินโลกธนาคารกลางส่วนใหญ่ของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากต้นปี โดยราคาน้ำมันดิบ (Dubai) เฉลี่ย 11 เดือนอยู่ที่ 76.83 USD:Barrel และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Energy Administration Information (EIA)คาดการว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2554 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX มีราคาอยู่ที่ 89.38 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

เศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ ในปี 2553 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 3.6 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและการใช้จ่ายของภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 53.3 ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 50.2 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 71.4 ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 72.7 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 89.7 ในเดือนตุลาคม2553 อยู่ที่ระดับ 91.3

การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 21.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 23.2 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 25.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 31.7

**********************

(1) - ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th www.imf.org

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com www.imf.org

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.1 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.6

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ภายในกลางปีหน้า เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.3 เป็นการขยายตัวชะลอลงจากปี 2553 จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงจะส่งผลให้อุปสงค์ภาคเอกชนลดลง ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่สูงมากนัก

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในปี 2553 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศจีนขยายตัวร้อยละ 10.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงปัจจัยภายในประเทศก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการค้าปลีกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 18.3 ในเดือนตุลาคม2553 ขยายตัวร้อยละ 18.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 อยู่ที่ระดับ106.3 ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 103.8 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 25.6 ในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 24.4 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 56.6 ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 57.1

การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 33.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 20.5 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้กำลังซื้อของโลกเพิ่มขึ้น การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 43.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 20.9

************************

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com, www.imf.org

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.1 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 4.1

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31 เป็นร้อยละ 5.56 เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีน ในปี 2554 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 9.6 มีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2553 เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในปี 2553 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 3.8 ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2553ขยายตัวร้อยละ 4.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ซึ่งหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 39.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 38.8 การลงทุนในภาคก่อสร้างในไตรมาส 3 ปี 2553 หดตัวร้อยละ 20.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 24.6ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 94.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2552 อยู่ที่ระดับ 83.2

การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 29.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 38.1 การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวการนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 19.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 38.0

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.3 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.1

***********************

(4) - www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com www.imf.org

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1เนื่องจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวระดับปานกลาง

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่น ในปี 2554 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.5 จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ภาวะเงินฝืดยังเป็นตัวกดดันเศรษฐกิจญี่ปุ่น รวมทั้งการทยอยถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2554 ชะลอตัวจากปี 2553

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2553 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 14.9 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ซึ่งในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในส่วนของGDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2552 ที่หดตัวร้อยละ 11.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 94.7เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.4

การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 22.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 18.9 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้กำลังซื้อของโลกเพิ่มขึ้นการนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 23.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 25.3

ภาวะเงินเฟ้อของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.2 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 9.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.0 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.6

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553) เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปยังคงมีความผันผวน

**********************

(5) - ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com www.imf.org

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2554 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.5 มีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปี 2553 เนื่องจากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของยุโรป แต่ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะจะกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจเอเชีย(6)

เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7.9 สูงกว่าในปี 2552 ที่เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.6 เนื่องจากความต้องการสินค้าภายในประเทศที่ปรับตัวดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน และอินเดียที่มีความต้องการภายในประเทศอยู่ในระดับสูง ตัวเลขภาคการผลิตอุตสาหกรรม และยอดการค้าปลีกของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียได้เริ่มลดความร้อนแรงลงตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 จากการที่นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในแต่ละประเทศเริ่มสิ้นสุดลงทั้งนี้ IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2554 ของภูมิภาคเอเชียว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ6.7 และมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3

ฮ่องกง(7)

เศรษฐกิจประเทศฮ่องกง ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 เนื่องจากภาคการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 ฮ่องกงมีมูลค่าการส่งออกรวม 331,025 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.3 จากการส่งออกไปตลาดหลักอย่างจีนที่กินส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 52.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมของฮ่องกงปรับขยายตัวร้อยละ 30.6 โดยในเดือนตุลาคม 2553การส่งออกขยายตัว ร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในช่วง10เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 363,622 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.4 ซึ่งในเดือนตุลาคม 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 ฮ่องกงขาดดุลการค้า 32,597 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

**********************

(6) ที่มา : www.imf.org

(7) ที่มา : www.imf.org, www.hkeconomy.gov.hk, www.bangkokbank.com, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

ภาวะเงินเฟ้อของฮ่องกงในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.3 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ภาพรวมตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในเดือนตุลาคม 2553ลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.2 อีกทั้งรายได้ของแรงงานก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางฮ่องกง มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยคงไว้ที่ร้อยละ 0.5

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวร้อยละ 4.7

เกาหลีใต้(8)

เศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.1 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 137.3 ขยายตัวร้อยละ 18.1 เดือนตุลาคม2553 ขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อพิจารณาทางด้านอุปสงค์ภาคการส่งออก และภาคการลงทุนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว

การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 เกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกรวม 381,940 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.1 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญปรับขยายตัวในทุกตลาด โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างจีน และสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 37.1 และ 33.3 ตามลำดับ สำหรับในเดือนตุลาคม 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 27.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในช่วง10 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 346,445 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ32.9 ซึ่งในเดือนตุลาคม 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 เกาหลีใต้เกินดุลการค้า 35,496 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของเกาหลีใต้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงเผชิญกับแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.3

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีมติปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 2.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 นอกจากนี้รัฐบาลเกาหลีใต้ยังจะมีการฟื้นฟูการจัดเก็บภาษีรายได้จากการถือครองพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินเกาหลีใต้

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 4.5

**********************

(8) ที่มา : www.imf.org, www.bangkokbank.com, www.bok.or.kr,www.apecthai.org, www.exim.go.th, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

สิงคโปร์(9)

เศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 15.0สอดคล้องกับที่กระทรวงการค้าสิงคโปร์คาดการณ์จากการฟื้นตัวของภาคการค้า ภาคบริการทางการเงิน และธุรกิจไบโอเมดิคอล โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ด้านภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 120.0 ขยายตัวร้อยละ 31.2 โดยในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 สิงคโปร์มีมูลค่าการส่งออกรวม 257,245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 33.7 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญปรับขยายตัวในทุกตลาด โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย ฮ่องกง และจีน ขยายตัวร้อยละ 44.8, 37.0 และ 42.4 ตามลำดับโดยในเดือนกันยายน 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 229,028 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 30.1 ซึ่งในเดือนกันยายน 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 28,217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของสิงคโปร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง ราคาที่อยู่อาศัย ราคาอาหาร และค่าใช้จ่ายในกิจกรรมสันทนาการและอื่นๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือน มิถุนายน 2553

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 4.5

อินโดนีเซีย10

เศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ด้านภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 อยู่ที่ระดับ 132.9 ขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

*************************

(9) ที่มา : www.imf.org, www.singstat.gov.sg, www.bangkokbank.com,www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(10) ที่มา : www.imf.org, www.bangkokbank.com, www.apecthai.org, www.ceicdata.com

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อินโดนีเซียมีมูลค่าการส่งออกรวม 110,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.3 โดยในเดือนกันยายน 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม97,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 42.4 ซึ่งในเดือนกันยายน 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 อินโดนีเซียเกินดุลการค้า 13,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของอินโดนีเซียในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.8 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผ          ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางอินโดนีเซีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการไหลเข้าของเงินทุน และป้องกันการแข็งค่าขึ้นของเงินสกุลรูเปียห์

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวร้อยละ 6.2

มาเลเซีย(11)

เศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่า GDP ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 6.7เศรษฐกิจมาเลเซียยังมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ด้านภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 106.9 ขยายตัวร้อยละ 8.7 โดยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีผลผลิตในภาคการผลิต ภาคเหมืองแร่ และภาคไฟฟ้ามีการปรับตัวสูงขึ้น โดยผลผลิตภาคการผลิตในเดือนกันยายน 2553 เพิ่มขึ้นจากการผลิตสินค้าจำพวกแร่นอกกลุ่มโลหะ โลหะขั้นพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์โลหะ รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออกรวม 146,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31.8 โดยในเดือนกันยายน 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม120,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.6 ซึ่งในเดือนกันยายน 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มาเลเซียเกินดุลการค้า 25,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

**************************

(11) ที่มา : www.imf.org, www.statistics.gov.my, www.apecthai.org

www.bangkokbank.com, www.ceicdata.com

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของมาเลเซียในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่อัตรา การว่างงานในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ธนาคารกลางมาเลเซีย มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 2.50 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.75

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.3

ฟิลิปปินส์(12)

เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ด้านภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 อยู่ที่ระดับ 88.7 ขยายตัวร้อยละ 26.1 โดยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการส่งออกรวม 38,308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.6 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญปรับขยายตัวดี ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวร้อยละ 19.5 และ 28.1 ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสิงคโปร์ และจีนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 230.8 และ 72.6 ตามลำดับ ในเดือนกันยายน 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 46.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 39,938 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.1 ซึ่งในเดือนกันยายน 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 1,629 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของฟิลิปปินส์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.0 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 6.9

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 6.0 จากการที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.5

***************************

(12) ที่มา : www.imf.org, www.bangkokbank.com, www.bsp.gov.ph

www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

อินเดีย(13)

เศรษฐกิจประเทศอินเดีย ในปี 2553 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 9.7 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2553 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศมีการปรับขยายตัวดี ขณะที่ด้านภาคการผลิตดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 335.6 ขยายตัวร้อยละ 12.1โดยในเดือนกันยายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากในเดือนสิงหาคม 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เนื่องมาจากความต้องการสินค้าอินเดียในตลาดโลกปรับตัวลดลง

การส่งออกในเดือนตุลาคม 2553 มีมูลค่าการส่งออก 17,960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนการนำเข้า ในเดือนตุลาคม 2553 อินเดียมีมูลค่าการนำเข้ารวม 27,689 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม 2553 อินเดียขาดดุลการค้า 9,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของอินเดีย ในเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในเดือนกันยายนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.62 อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงหลังจากที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ธนาคารกลางอินเดียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 6 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.25 อินเดียมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

สำหรับแนวโน้มภาพรวมปี 2554 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากความต้องการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตามในด้านความต้องการบริโภคจากภายนอกประเทศ IMF คาดการณ์ว่าในปี 2554 การส่งออกสุทธิของอินเดียจะสร้างผลทางลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากอินเดียจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามทิศทางการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

**************************

(13) ที่มา : www.imf.org, www.commerce.nic.in, www.exim.go.th, www.bangkokbank.com, www.ceicdata.com

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ