สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2553 และแนวโน้มปี 2554(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 17, 2010 11:31 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

(ที่มา : www.thaigov.go.th)

1. กำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2526

3. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 370 — 2552 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่4040 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

  • เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์) และให้ส่งร่างประกาศฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศฯ ดังนี้ (ที่มา :

www.thaigov.go.th)

1. ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยานยนต์ตามประเภท87.01 ถึงประเภท 87.06 จำนวน 15 ประเภทย่อย โดยสินค้าในกลุ่มเหล็กตอนที่ 72 จำนวน 2 ประเภทย่อย คือ ประเภทย่อย 7228.30.10 และประเภทย่อย 7228.30.90 เสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ส่วนเหล็กในประเภทย่อย 7214.99.90เสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย สำหรับเหล็กชั้นคุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่น JIS G 4051 และให้ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มผลบังคับใช้ทางกฎหมาย สำหรับเหล็กชั้นคุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่น JIS G 4052 เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตเหล็กในประเทศมีแผนที่จะศึกษาและพัฒนาการผลิตเหล็กที่มีคุณลักษณะตามประเภทดังกล่าวในอนาคต

2. ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับเหล็กและของที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 20 ประเภทย่อย เป็นระยะเวลา5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ยกเว้นเหล็กแผ่นเคลือบประเภทกัลวานีล จำนวน 3ประเภทย่อย คือ ประเภทย่อย 7210.49.10 ประเภทย่อย 7210.49.20 และประเภทย่อย 7210.49.90ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีแผนที่จะดำเนินการลงทุนผลิตเหล็กประเภทดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี จึงเสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กทั้ง 3 ประเภทย่อยดังกล่าว เป็นระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย

3. ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับเหล็กและของที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึงประเภท 87.06 และที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 5 ประเภทย่อย เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ยกเว้นลวดเหล็กกล้าไร้สนิมและลวดที่ทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่น ๆ ชนิดตันตลอดความยาวตามประเภทย่อย7223.00.90 และ 7229.90.00 ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีแผนที่จะศึกษาและพัฒนาเพื่อผลิตเหล็กประเภทดังกล่าวในอนาคต จึงเสนอให้ยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กทั้ง 2 ประเภทย่อยที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีผลใช้ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย

4. ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตตามประเภทย่อย 5806.32.10และประเภทย่อย 5806.32.90 ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นเข็มขัดนิรภัยตามประเภทย่อย8708.21.10 และประเภทย่อย 8708.21.90 หรือถุงลมนิรภัยตามประเภทย่อย 8708.95.10

5. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะลงเหลือร้อยละ 5 สำหรับวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท 87.08 ที่นำเข้าเพื่อใช้ผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึงประเภท 87.06จำนวน 21 ประเภทย่อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตรถแทรกเตอร์ในประเทศ และแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าระหว่างสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป เนื่องจากรถแทรกเตอร์สำเร็จรูป อัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับร้อยละ5 ในขณะที่ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ประเภทดังกล่าวในประเทศ อัตราอากรขาเข้าที่ปรับลดเป็นการเฉพาะปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 10

  • เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยสำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1. กำ หนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำ หนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่มอก. 2320 — 2552 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4092 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 1 ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (ที่มา : www.thaigov.go.th)

  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง10 เดือนของปี 2553 (มกราคม-ตุลาคม 2553) มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 57 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 13,995.35 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 5,374 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนประกอบของตัวถังสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท สยามกลการและนิสสันจำกัด เงินลงทุน 1,430 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 410 คน 2) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ของบริษัท ไอเอชไอ เทอร์โบ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 99 คน 3) โครงการของบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด โครงการที่ 1ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางรถยนต์เรเดียล มีเงินลงทุน 1,740.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 101 คน และ 4) โครงการของ บริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด โครงการที่ 2 ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางรถยนต์เรเดียล มีเงินลงทุน 2,684.15 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 268คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2553

  • ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 1,350,007 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 76.09 และในปี 2553 ประมาณว่า มีการผลิตรถยนต์ 1,620,000คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.10 จากปี 2552 ที่มีการผลิตรถยนต์ 999,378 คัน โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณร้อยละ 33, 66 และ 1 ตามลำดับ
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 628,361 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 49.70 และในปี 2553 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์750,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.64 จากปี 2552 ที่มีการจำหน่ายรถยนต์ 548,871 คัน โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUVประมาณร้อยละ 44 ,43, 6 และ 7 ตามลำดับ
  • ปริมาณการส่งออกรถยนต์ ในปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 745,422 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 76.10 โดยมีตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.67, 14.09 และ 9.27ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ชิลี และมาเลเซีย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.18, 5.05 และ 4.83 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเมิเรตส์ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.59, 12.87 และ 11.72 ตามลำดับ ในปี 2553 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 890,000คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.18 จากปี 2552 ที่มีการส่งออกรถยนต์ 535,563 คัน
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2553 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจโลก สำหรับตลาดในประเทศ ได้รับผลดีจากการแนะนำรถยนต์เข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นปี 2553 และบางรุ่นยังคงมียอดค้างส่งมอบ ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวในทุกตลาดส่งออก (เอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้) นอกจากนี้ยังได้รับผลดีจากการยกเว้นอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน อย่างไรก็ดี การปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากฐานที่ค่อนข้างต่ำใน ปี 2552

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2553

  • ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 1,690,079 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 27.24 และในปี 2553 ประมาณว่า มีการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.31 จากปี 2552 ที่มีการผลิตรถจักรยานยนต์1,635,193 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณ ร้อยละ 95 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 5
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน1,544,371 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 22.79 และในปี 2553 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,840,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.83 จากปี 2552 ที่มีการจำหน่าย1,535,461 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ประมาณร้อยละ 46, 51 และ 3 ตามลำดับ
  • ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU-Completely Built Up) ในปี 2553(ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 123,156 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 24.68 และในปี 2553ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 140,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.44 จากปี2552 ที่มีการส่งออก 115,280 คัน โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.98, 12.28 และ 10.61ตามลำดับ
  • อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศคู่ค้าที่สำคัญของตลาดรถจักรยานยนต์สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น สำหรับตลาดส่งออกที่มีการขยายตัว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมี ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ไป ยุโรป และญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2554

  • ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ และจักรยานยนต์ในปี 2554 คาดว่าจะมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคาดว่าสภาพเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดภายในประเทศ คาดว่าจะมีการแนะนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ตลาดส่งออก คาดว่ายังสามารถส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ไปในตลาดหลักในของยานยนต์แต่ละประเภทได้อย่างต่อเนื่อง

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ