สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 12, 2011 11:41 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เดือนพฤศจิกายน 2553 อัตราการขยายตัวในการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ยังคงชะลอตัวลงสู่แนวโน้มปกติตามลำดับ โดยการผลิตยังคงขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 28.8

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) ขยายตัวร้อยละ 5.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยการขยายตัวยังคงชะลอลงสู่แนวโน้มปกติตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตยังคงขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น ยานยนต์เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เม็ดพลาสติก

อัตราการใช้กำลังการผลิต(2) ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 63.92 ในเดือนตุลาคม2553 เป็นร้อยละ 63.63 ในเดือน พฤศจิกายน 2553

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวได้ในระดับสูง โดยเดือนพฤศจิกายน 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.8 โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นในแทบทุกหมวดสินค้าและแทบทุกตลาด

อุตสาหกรรมรายสาขา(พฤศจิกายน 2553)

  • อุตสาหกรรมอาหาร ในภาพรวมมีการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.4 โดยสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่นสับปะรดกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.2 และ 11.3 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดลดลง กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนเนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วม เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
  • ด้านการส่งออกโดยรวมในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.4 โดยสินค้าสำคัญ อาทิสับปะรดกระป๋อง กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูปและปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 31.6 20.9 10.5 และ 3.1 ตามลำดับ
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และการผลิตผ้าผืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ด้านการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอและเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 30.5 92.1 51.4 13.6 และ 49.1 ตามลำดับ
  • อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 17.60 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 30.82 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ43.40 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ37.52 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่หยุดซ่อมบำ รุงเครื่องจักรประจำปี สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 โดยเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.63เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญเพิ่มขึ้นทุกตัว
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน 157,094 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2552 ซึ่งมีการผลิต 120,985 คัน ร้อยละ 29.85 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง,รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์)และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 สำหรับการส่งออกยังขยายตัวดีที่ร้อยละ 35.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 เ มื่อพิจาร ณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.69 ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ จากการส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในออสเตรเลียและตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อน สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 โดยการผลิต Hard Disk Driveและ Integrated Circuit (IC) ชะลอลงจากที่เร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า
  • ในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.04 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,552.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และราย ผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็ม ศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ