รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 16, 2011 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2553

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2553 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ 0.1 และลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเริ่มมีการหดตัวในหลายอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่น Hard Disk Drive น้ำตาล เครื่องแต่งกาย เบียร์ อัญมณีและเครื่องประดับ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 63.6 ในเดือนพฤศจิกายน 2553

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตคาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ภาคการผลิตต้องลดการผลิตลง เพื่อมิให้ต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้อีกในตลาดส่งออกหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในอาเซียนภายใต้ข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าและการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงต้องระมัดระวังอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

  • การส่งออกจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ไทยยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เพิ่มเติมในกัมพูชา และมีการศึกษาโครงการลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์ในเมียนมาร์

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2553

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 190.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (191.8) ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (185.2) ร้อยละ 2.9 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เครื่องแต่งกาย Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

ปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 14.5 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.6ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ร้อยละ 64.2 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 60.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เม็ดพลาสติก เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

ปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 63.4 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 56.1 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกายเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2554

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในปี 2554 คาดการณ์ว่า การขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะชะลอลงจากฐานตัวเลขที่สูงในปี 2553 โดยอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ร้อยละ 6.0 - 8.0 ทั้งนี้ ปัจจัยระยะสั้นต่างๆ อาทิ การอัดฉีดจากภาครัฐ ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นมาได้ในปี 2553 ที่ผ่านไปกำลังจะหมดลง และหากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยังมีต่อเนื่อง จะเริ่มส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการชัดเจนในช่วงปี 2554 เนื่องจากคำสั่งซื้อเดิมได้หมดลง และผลประกอบการที่ลดลงจากรายได้ในรูปเงินบาทจะเป็นแรงกดดันให้ต้องมีการปรับตัวในด้านต้นทุนและราคา ซึ่งอาจจะกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายในช่วงต่อๆไปและอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 64-66

อย่างไรก็ตามทิศทางของอุตสาหกรรมในปี 2554 โดยภาพรวมยังคงขยายตัวดี โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นการส่งออกเป็นหลักแต่ก็มีบางกลุ่มที่อาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการเติบโต โดยมีปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อการขยายตัว ได้แก่ เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวชัดเจน การขยายการลงทุนทั้งจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นและการย้ายฐานการผลิตบางส่วนมาไทย รวมถึงตลาดเกิดใหม่และอาเซียนที่ยังมีทิศทางการขยายตัวดี

อุตสาหกรรมหลักที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก อาทิ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอต้นน้ำ ผลิตภัณฑ์ยางรวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่นอุตสาหกรรมอาหาร ยังคงมีการเติบโตที่ดี

บางกลุ่มอุตสาหกรรมอาจจะมีข้อจำกัดเฉพาะบางประการที่อาจจะกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม อาทิอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ต้นทุนราคาวัตถุดิบ ได้แก่ ฝ้ายที่ราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก โดยแรงงานจำนวนหนึ่งได้กลับเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

พ.ย. 53 = 190.4

ธ.ค. 53 = 190.2

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • อัญมณีและเครื่องประดับ
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

พ.ย. 53 = 63.6

ธ.ค. 53 = 63.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • อัญมณีและเครื่องประดับ
  • ลวด สกรู น็อต

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2553 มีค่า 190.2 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน2553 (190.4) ร้อยละ 0.1 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนธันวาคม 2552 (195.1)ร้อยละ 2.5

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้แก่ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive น้ำตาล เครื่องแต่งกาย เบียร์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 (ร้อยละ 63.6) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนธันวาคม 2552(ร้อยละ 60.8)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤศจิกายน2553 ได้แก่ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ ลวด สกรู น็อต ผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรลียม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2553

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 308 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 329 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 6.38 การจ้างงานรวมมีจำนวน 6,929 คน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,761 คน ร้อยละ 20.91 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 18,289.41ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการลงทุน 14,430.37 ล้านบาท ร้อยละ 26.74

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2553เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 324 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 4.94 แต่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,456คน ร้อยละ 27.00 และมียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน11,673.32 ล้านบาท ร้อยละ 56.68

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 30 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ขุด ตักดิน ทรายและคัดแยกกรวด ทรายเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 17 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2553 คือ อุตสาหกรรม ผลิต และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 7,125.61 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องใช้พลาสติก เงินลงทุน จำนวน 3,091.10ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2553 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,025 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 405 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 68 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.60 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 258.15 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 747.54 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,440 คน น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,002 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 84 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 19.05 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,493.01 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,460 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมขุด ตักดิน ทรายและคัดแยกกรวด ทรายเพื่อใช้ในการก่อสร้างอุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูปและอุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ ทั้ง 3 อุตสาหกรรมจำนวน 6โรงงานเท่ากัน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไปซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ ทั้ง 2 อุตสาหกรรมจำนวน 5 โรงงานเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2553 คืออุตสาหกรรมผลิตแผ่นซีดี เงินทุน 30.5 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมต้ม นึ่งหรืออบพืชหรือเมล็ดพืช เงินทุน 28.5 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 529 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 227 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — ธันวาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,566 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 1,003 โครงการ ร้อยละ 55.13 และมีเงินลงทุน 491,300 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเงินลงทุน 281,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.65

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — ธันวาคม 2553
                    การร่วมทุน                 จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
                    1.โครงการคนไทย 100%            629                     156,700
                    2.โครงการต่างชาติ 100%           558                     183,600
                    3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     379                     151,000
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — ธันวาคม 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 183,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 109,500 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่า จะขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ตามค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงแต่จากระดับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้การจำหน่ายภายในประเทศอาจปรับตัวดีขึ้น ภายหลังการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้ และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนธันวาคม 2553 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.8 และ 11.1 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดลดลง กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่นน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 38.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนเนื่องจากปาล์มน้ำมันมีการพักตัว และอยู่ในช่วงนอกฤดู ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย นอกจากนี้ในส่วนของการผลิตน้ำตาล โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดหีบช้ากว่าปกติเล็กน้อย ประกอบกับคุณภาพของอ้อยลดลงโดยปริมาณการผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนธันวาคม 2553 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ9.5 และ 3.2 จากการลดลงของการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากการปรับเพิ่มราคาสินค้าตามต้นทุนการผลิต ซึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.8แต่ปรับลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1 โดยเฉพาะในสินค้าสับปะรดกระป๋อง กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 24.4 19.6 และ 9.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ในส่วนน้ำตาลส่งออกได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงต้นฤดูหีบอ้อยซึ่งกำลังทะยอยตัดเข้าโรงงาน ประกอบกับอ้อยส่วนใหญ่ไม่ได้คุณภาพส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากค่าเงินบาทที่เริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลง ทำให้ผู้ผลิตสามารถรับคำสั่งซื้อได้ดีขึ้น แต่จากระดับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอาจทำให้กำลังซื้อของต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากได้รับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ประกอบกับระดับราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อย่างไรก็ตามข่าวการปรับขึ้นของราคาสินค้า อาจทำให้การจำหน่ายในประเทศไม่ขยายตัวมากนัก

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...ผู้ประกอบการยังคงต้องระมัดระวังอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น...”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนธันวาคม 2553 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน สิ่งทออื่นๆ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ลดลงร้อยละ 2.7, 9.0, 10.5, 1.5 และ 3.8 ตามลำดับ สาเหตุเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นทั้งเส้นไหมและฝ้าย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตในบางผลิตภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และสิ่งทออื่นๆ ร้อยละ 8.2, 19.9 และ 3.7 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนธันวาคม 2553 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนอนสิ่งทออื่นๆ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ลดลงร้อยละ 17.5, 4.4, 1.2, 1.5 และ 3.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายในบางผลิตภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่เส้นใยสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และสิ่งทออื่นๆ ร้อยละ 8.2, 19.9 และ 3.7 ตามลำดับ สำหรับการส่งออก โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0, 9.1, 9.3, 8.0, และ 21.7 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และ เส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ9.0, 29.2, 31.2, 7.7 และ 39.6 ตามลำดับ ในด้านตลาดส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ได้แก่ อาเซียน, ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 4.6, 6.9 , 7.1 และ 17.9 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในตลาดอาเซียน, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 32.7, 32.0, 2.0 และ 11.4 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตคาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ภาคการผลิตต้องลดการผลิตลง เพื่อมิให้ต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้อีกในตลาดส่งออกหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในอาเซียนภายใต้ข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าและการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงต้องระมัดระวังอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

บริษัท Nippon Steel มีแผนที่จะหยุดโรงงานที่ Kimitsu ในต้นเดือนมิถุนายนเป็นเวลากว่า 40 วัน เพื่อซ่อมบำรุงใหญ่ในส่วนของ roughing mill และเปลี่ยนมอเตอร์ใน finishing mill ปัจจุบันโรงงานนี้สามารถผลิตได้180,000 ตันต่อเดือน ซึ่งก็เกือบเต็มกำลังการผลิต จึงทำให้โรงงานอื่นต้องเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชยกับกำลังการผลิตที่จะหายไป

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 115.28 เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กแผ่น พบว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.83 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.68 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ11.82 สำหรับเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 4.40 โดยลวดเหล็กแรงดึงสูงลดลง ร้อยละ 15.85 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 9.29 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยังคงทรงตัวอยู่ นอกจากนี้เป็นผลจากการลดปริมาณคำสั่งซื้อหลังจากที่มีการสั่งซื้อในจำนวนที่มากเมื่อเดือนก่อนประกอบกับเป็นการรักษาปริมาณสินค้าคงคลังให้เหมาะสมในช่วงสิ้นปีด้วย ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ14.83 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ24.51 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกลดลง ร้อยละ 59.21 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 30.57ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ผู้ผลิตเหล็กสองผลิตภัณฑ์นี้ต้องลดการผลิตลงเนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบซึ่งมีราคาถูกจากประเทศจีนเป็นจำนวนมากจึงทำให้ผู้ผลิตไทยมีคำสั่งซื้อน้อยลงและต้องลดการผลิตลง สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น 11.32 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.38

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมกราคม2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญที่เพิ่มขึ้นทุกตัวได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 125.13 เป็น 148.72 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.85 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 123.26 เป็น 144.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.45 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 125.53 เป็น 146.81 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.95 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 134.58 เป็น156.07 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.97 และเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก138.97 เป็น 154.59 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.24เนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านโค้ก ที่เพิ่มขึ้น

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนมกราคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงแบนและทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดภายในประเทศ ได้รับผลดีจากการที่ผู้บริโภคมีความต้องการรถยนต์นั่งอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 137,403 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการผลิต 111,722 คัน ร้อยละ 22.99 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ 13.03
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 93,122 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 72,085 คัน ร้อยละ 29.18 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV และ SUV) และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ18.06 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมียอดจำหน่ายในงาน Motor Expo2010 ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์เกือบทุกค่ายมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงสิ้นปี 2553
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 71,025 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการส่งออก 53,600 คัน ร้อยละ 32.51 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลางแอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ 10.79
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2554คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2553สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 160,982 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการผลิต 141,402 คัน ร้อยละ 13.85 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งรถจักรยานยนต์ แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ8.46
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 158,006 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 147,424 คัน ร้อยละ 7.18 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ 9.56
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 17,125 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2552 ซึ่งมีการส่งออก 8,420 คัน ร้อยละ 103.38 เนื่องจากผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์มีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ได้มากขึ้น และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน2553 ร้อยละ 11.15 โดยเป็นการขยายตัวในสหราชอาราจักรและสหรัฐอเมริกา
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือน

มกราคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน

ธันวาคม 2553 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือน

มกราคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง การส่งออกเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ไทยยังมีแผนการขยายการลงทุนเพิ่มเติมในต่างประเทศ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนธันวาคม 2553 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.87 และ 6.58 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 และ 10.45 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง และการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่เสียหายจากน้ำท่วมหนัก ในช่วงปลายปี 2553 และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือ การเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนธันวาคม 2553เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.33 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.68 ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ กัมพูชา เมียนมาร์ บังคลาเทศและเวียดนาม

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้างอีกทั้งมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ไทยยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เพิ่มเติมในกัมพูชา และมีการศึกษาโครงการลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์ในเมียนมาร์

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมกราคม 2554 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมกราคม 2554 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ธ.ค. 2553
 เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                                      มูลค่า         %MoM         %YoY
 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                                           1,559.12         0.93        -3.82
 IC                                                         750.16         8.87        17.25
 เครื่องปรับอากาศสำหรับ                                         240.56        -0.92        30.35
 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม   171.06         8.02        17.92
 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                              4,538.38        -0.31         9.43

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2553 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 11.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและมีการขยายตัวของการส่งออกไปยังอาเซียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีปัจจัยการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นหลายโครงการส่งผลต่อยอดการผลิตที่สูงขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 14.98 ตามการผลิต Hard Disk Drive ที่ลดลง เนื่องจากปีก่อนมี Product รุ่นใหม่ๆที่ออกมาจำนวนมาก ปีนี้จึงไม่มีการเร่งการผลิต

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคม2553 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 0.31 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.43 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,538.38 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 4.39 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.30 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,708.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้าฯโดยมีมูลค่าส่งออกคือ 240.56 ล้านเหรียญสหรัฐ และ171.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำ ดับ สำ หรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ4.69เนื่องจากผู้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ขยายตัวได้ดีทั้งตลาดในและนอกประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 2,829.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,559.12 ล้านเหรียญสหรัฐ และ750.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมกราคม 2554 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ