ถือว่าจบได้อย่างสวยงาม สำหรับทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% และ 7.9% ตามลำดับ เป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีมาก ซึ่งจะส่งอานิสงส์ต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน ปี 2554 โดยกูรูเศรษฐกิจสำนักต่างๆ ได้ออกมาวิเคราะห์ไปในทิศทางที่ดี สรุปว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปีกระต่าย จะเป็นกระต่ายทอง ไม่ใช่กระต่ายตื่นตูม แน่นอน
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ออกมาวิเคราะห์แนวโน้มอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในปี 2554 ว่า ปีกระต่ายทองภาคอุตสาหกรรมไทยมีโอกาสขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่หวือหวาเท่ากับปี 2553 ที่ขยายตัวได้ 12-13% เนื่องจากฐานตัวเลขที่ขยายตัวสูงหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่จะเป็นการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุด โดย สศอ.คาดว่าอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 6-8% อัตราการใช้กำลังการผลิตจะอยู่ในระดับสูงเฉลี่ย 64-66% โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดอาเซียนด้วยกันมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง ทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะมีการขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพมากขึ้น หากไม่มีปัจจัยภายนอกอื่นมากระทบ
โดยปัจจัยภายในประเทศนั้นยังมีทิศทางที่ดี ทั้งการลงทุนของภาครัฐและการลงทุนของภาคเอกชนจะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมา การจ้างงานในระบบจะมีอัตราการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวมีหลายสาขา เช่น การผลิตรถยนต์คาดว่าจะสามารถผลิตได้ประมาณ 1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 12.50% จำหน่ายในประเทศประมาณ 800,000 คัน ส่งออกประมาณ 1 ล้านคัน อุตสาหกรรมอาหารแม้จะประสบปัญหาทางด้านวัตถุดิบแต่ก็คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.3 ขณะที่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่าจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลทำให้การใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
นางสุทธินีย์ ยังได้สรุปภาพรวมของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในปี 2553 พร้อมเจาะลึก 10 อันดับสินค้าส่งออกรายตลาดอย่างน่าสนใจ ดังนี้
ภาพรวมการส่งออกปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 195,311.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 28.1% โดยสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 150,090.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 28.9% และหากไม่รวมทองคำแท่งมีการส่งออกขยายตัว 29.7% โดยเป็นผลมาจากตลาดอาเซียนที่ขยายตัวดี คือขยายตัว 33.1% ขณะที่ตลาดจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(27) และสหรัฐอเมริกาที่มีการปรับขยายตัวร้อยละ 30.8, 41.9, 30.4, 22.4 และ23.4 ตามลำดับ สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยสินค้าอุตสาหกรรมสาคัญที่เป็นตัว
ขับเคลื่อนหลักทำให้การส่งออกขยายตัวเป็นสินค้าในกลุ่มยานยนต์ เครื่องอิเล็คทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ รวมถึงสิ่งทอ ก็ปรับขยายตัวได้ดี
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดอาเซียน ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ 4,731.70 53.1 2 เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ 2,455.00 23.3 3 แผงวงจรไฟฟ้า 1,866.90 20.3 4 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 1,752.40 53.5 5 เคมีภัณฑ์ 1,738.80 32.7 6 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 1,556.90 23.8 7 เม็ดพลาสติก 1,434.50 47.8 8 ผลิตภัณฑ์ยาง 1,071.70 32.6 9 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 1,052.50 44.2 10 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 846.2 19.7
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดจีน ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ 5,036.70 16.4 2 เคมีภัณฑ์ 1,790.40 31.7 3 เม็ดพลาสติก 1,631.50 50.8 4 ผลิตภัณฑ์ยาง 1,412.00 80.1 5 แผงวงจรไฟฟ้า 807.7 9.72 6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 642.8 60 7 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 474.6 41.6 8 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 265.5 29.4 9 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 254.5 81.5 10 เลนส์ 249.4 101
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดฮ่องกง ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 อัญมณีและเครื่องประดับ 2,584.10 35.1 2 แผงวงจรไฟฟ้า 2,119.90 69.8 3 เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ 2,117.70 45 4 หนังสือและสิ่งพิมพ์ 1,885.50 42.2 5 เม็ดพลาสติก 534.3 13.5 6 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 356.8 40.7 7 อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ 227.1 39.3 8 เลนส์ 198.4 128 9 หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 144.7 75.5 10 ผลิตภัณฑ์ยาง 143.7 -13.6
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดญี่ปุ่น ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 1,231.60 21.6 2 รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,203.30 117 3 แผงวงจรไฟฟ้า 960.5 8.1 4 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 567.4 25.7 5 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 549.2 99.2 6 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 532.6 20.7 7 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 528.2 56.5 8 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 480 27.1 9 ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 456.4 12.5 10 เม็ดพลาสติก 435 58.4
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดสหภาพยุโรป ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 2,800.60 12.8 2 อัญมณีและเครื่องประดับ 1,509.30 22.3 3 รถยนต์อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ 1,097.10 88.5 4 เครื่องนุ่งห่ม 1,013.80 4.69 5 เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ 975.4 21.4 6 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 840.1 10.5 7 ผลิตภัณฑ์ยาง 826.2 28.8 8 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 763.9 46.7 9 แผงวงจรไฟฟ้า 757.4 26.9 10 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 554.4 74.7
TOP 10 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกตลาดสหรัฐอเมริกา ปี 2553 (เทียบกับปี 2552)
ลำดับ สินค้า มูลค่าส่งออก อัตราการขยายตัว (มูลค่า : ล้านเหรียญ) (%) 1 เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 3,302.80 12.1 2 เครื่องนุ่งห่ม 1,262.50 7.26 3 ผลิตภัณฑ์ยาง 1,258.40 45.3 4 อัญมณีและเครื่องประดับ 1,095.60 30.3 5 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 1,051.70 38.7 6 เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ 801.3 18.9 7 แผงวงจรไฟฟ้า 556.1 15.2 8 เครื่องคอมเพรสเซอร์ 390 409 9 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 363.1 23.5 10 เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ 357.4 50.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพานิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--