สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2553(เศรษฐกิจไทย)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 25, 2011 14:50 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจไทย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ1 หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2552ที่หดตัวร้อยละ -2.8 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 คือ มีการชะลอตัวลงทั้งด้านอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ โดยการบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลงทั้งการบริโภคอาหารสินค้าคงทนประเภทรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้ากึ่งคงทนและบริการ แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น เช่น รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจากราคาพืชผลที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และอัตราการว่างงานที่ลดลง แต่ประชาชนก็ยังมีความวิตกต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้ระมัดระวังการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐหดตัว การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 11.5 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.6 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ-7.1 โดยเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกมาก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ยานยนต์ เริ่มชะลอตัวลงตามการส่งออก ในขณะที่หมวดการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวสูงขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าทั้งปี 2553 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 เทียบกับในปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ -2.2

สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 พบว่า ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 (ม.ค.-ธ.ค.53) เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2552 รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 เช่นกัน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI ) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 190.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (191.8) ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (185.2) ร้อยละ 2.9

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เครื่องแต่งกาย Hard Disk Driveชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

ในปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 190.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 (166.1) ร้อยละ 14.5 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index ) แสดงทิศทางของระดับการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 194.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา(193.4) ร้อยละ 0.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (185.7) ร้อยละ 4.9

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เบียร์ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

ในปี 2553 ดัชนีการส่งออกสินค้ามีค่า 191.9 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 (164.5) ร้อยละ 16.6 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 188.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (188.1) ร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (172.2) ร้อยละ 9.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์เครื่องปรับอากาศ รถจักรยานยนต์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ Hard Disk Driveชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย เบียร์ เป็นต้น

ในปี 2553 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง มีค่า 185.6 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 (181.7) ร้อยละ 2.2 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 64.2) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (ร้อยละ60.5)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เครื่องแต่งกายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เม็ดพลาสติก เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

ในปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 (ร้อยละ 56.1 ) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยเฉลี่ยรวมมีค่า 80.0 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (80.8) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (76.5) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีทั้ง 3 มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูงของประเทศในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคต นอกจากนี้หากพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นเป็นรายเดือนจะเห็นว่า ดัชนีในเดือนธันวาคม 2553 ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากน้ำท่วมในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ดัชนียังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงกังวลในสถานการณ์ต่างๆ อยู่ อย่างไรก็ตาม สัญญาณการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นยังคงปรากฏอยู่สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคจะเริ่มกลับมาบริโภคมากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ หากสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยลบบรรเทาปัญหาลง โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมและการแข็งค่าที่รวดเร็วของค่าเงินบาท

เมื่อแยกพิจาณาในแต่ละดัชนี พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมไตรมาสที่ 4ของปี 2553 มีค่า 71.3 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (72.6) และยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคกังวล

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่า 71.3 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (71.9) และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับปกติ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่า 97.5 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (98.1) และยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แม้ผู้บริโภคจะกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตแต่ระดับความเชื่อมั่นยังคงสูงกว่าความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจและโอกาสหางานทำ

ในปี 2553 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยมีค่า 78.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีค่า74.3

จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3 ) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่าเท่ากับ 51.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (50.4) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (49.9) โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้น ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2552 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมดการลงทุนของบริษัท และการจ้างงานของบริษัท

ในปี 2553 ดัชนีโดยรวมมีค่า 50.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีค่า 44.5 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากปี2552 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัท และการผลิตของบริษัท

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI )

จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 102.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (103.9) และลดลงมาจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (107.5)การที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงแต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นว่าภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ หากพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นเป็นรายเดือน จะเห็นว่าดัชนีในเดือนธันวาคม 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 109.7 จากเดือนพฤศจิกายน 2553 (99.7) ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 3 แล้ว โดยค่าดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2553 เพิ่มขึ้น คือความต้องการสินค้าและบริการที่เป็นแรงส่งต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรยังส่งผลดีต่อเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองไม่มีเหตุการณ์รุนแรง อีกทั้งราคาการส่งออกยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียนอกจากนี้ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ ขอให้ภาครัฐดูแลราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบให้เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่จะปรับตัวสูงขึ้น ส่งเสริมการลงทุนให้กับธุรกิจ SME โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านและมีการกระตุ้นการส่งออกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในปี 2553 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 104.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 85.9

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 125.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 125.0 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและมูลค่าการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่าเฉลี่ย 125.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 124.3และดัชนีในปี 2553 มีค่าเฉลี่ย 117.6 ลดลงจากปี 2552 ที่มีค่า 123.1

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ

ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 121.0 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนพฤศจิกายน2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 121.5 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มูลค่าการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ (รถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์) แม้ว่ามูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่จะยังคงเพิ่มขึ้น

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่าเฉลี่ย 120.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 119.9และดัชนีในปี 2553 มีค่าเฉลี่ย 119.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีค่า 114.7

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่า 135.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (135.5) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (131.9) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์

ในปี 2553 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2552 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ คาดว่าในปี 2554 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศณ ราคาคงที่ พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมมีค่า 184.1 ลดลงจาก ไตรมาสที่ผ่านมา (188.7) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (165.9)

หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี2553 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2552

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2552

การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552

ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (ณ ขณะจัดทำรายงานฉบับนี้ ข้อมูลล่าสุดมีถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 เท่านั้น)

ในปี 2553 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม เพิ่มขึ้นจากปี 2552 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศการนำเข้าสินค้าทุนณ ราคาคงที่ คาดว่าในปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2553

ภาวะราคาสินค้า

จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเท่ากับ 108.7ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (108.5) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (105.7) การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาข้าว ผลิตภัณฑ์น้ำตาลยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและพลังงาน

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีค่าเท่ากับ 167.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (165.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (157.8) โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552

ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่า 108.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีค่า 104.5 สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในปี 2553 มีค่า 165.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีค่า 150.9

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38.709 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 38.179 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.63 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.389 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.01)

สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีจำนวน 5.377 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.08 ของผู้มีงานทำทั้งหมด

การค้าต่างประเทศ

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 100,554.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 52,205.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 48,349.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.25 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ดุลการค้าเกินดุล 3,855.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.81 สำหรับมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ20.11

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่าการส่งออกทั้ง 3 เดือน(ตุลาคม-ธันวาคม) ยังคงมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้การขยายตัวจะชะลอลงเล็กน้อยเนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าในช่วงปลายปี 2553 โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการส่งออก 17,132.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เดือนพฤศจิกายนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.45 และเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 17,699.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 17,372.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 39,812.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 76.26) สินค้าเกษตรกรรม 6,336.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.14)สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 3,160.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.05) และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง2,896.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.55)

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าการส่งออกของสินค้าในทุกหมวดมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.00 สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.21 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11 และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.66

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักตลอดทั้งปี 2553 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 18,836.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.64) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 17,713.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.07) อัญมณีและเครื่องประดับ 11,651.87ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.97) แผงวงจรไฟฟ้า 8,066.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อละ 4.13)ยางพารา 7,896.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.04) น้ำมันสำเร็จรูป 7,071.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 3.62) ผลิตภัณฑ์ยาง 6,433.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.29) เม็ดพลาสติก6,343.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.25) เคมีภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออก 5,778.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.96) และข้าว 5,341.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 2.73) โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 95,132.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 48.71 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

ตลาดส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดหลักของไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 53.83 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกในตลาดสำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยมูลค่าการส่งออกในตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.58 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ12.44 ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.36 และตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.01

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด โดยมีมูลค่าการนำเข้า 20,016.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 41.40) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีมูลค่า 12,115.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 25.06) สินค้าเชื้อเพลิง 9,358.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 19.36) สินค้าอุปโภคบริโภค 4,626.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.57) สินค้าหมวดยานพาหนะ 2,176.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.50) และสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่นๆ56.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.12) ตามลำดับ

โดยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 นี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าการนำเข้าสินค้าในหมวดหลักๆ มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว ยกเว้นสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 10.23 สำหรับการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้ายานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.87 สินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.75 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.38 และสินค้าทุนมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.23

แหล่งนำเข้า

แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 มีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 50.20 เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 นี้มีมูลค่านำเข้าจากทุกแหล่งนำเข้าหลักเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.02 สหรัฐอเมริกามีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.98 กลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.57 และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.94 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552

แนวโน้มการส่งออก ปี 2554

ในปี 2554 กระทรวงพาณิชย์โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกปี 2554 ในเบื้องต้นให้ขยายตัวร้อยละ 10 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 207,910—209,586 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้สมมติฐาน ที่ค่าเงินบาทประมาณ 30 บาท/เหรียญสหรัฐฯ และราคาน้ำมันที่ประมาณ 76-77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญ ในปี 2554ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2553 แต่อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยประเทศสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย Euro Area ญี่ปุ่น อาเซียน (5) และจีน ตามลำดับ โดยแผนงานในปี2554 ของกระทรวงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินมาตรการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยจะมีการเพิ่มจุดเน้นที่สำคัญ ได้แก่ 1) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ ให้มากขึ้น 2) ให้ความสำคัญกับการเจาะและขยายตลาดในตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น ตลาดอาเซียน จีน อินเดียและรัสเซีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็นการทดแทนตลาดหลักที่เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงและมีความเปราะบางสูง โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 มีการเพิ่มแผนงาน/โครงการที่จะเจาะและขยายตลาดเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนให้ผู้ประกอบการไทยให้มากขึ้น และ 3) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการบนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างตราสินค้า นวัตกรรม การสร้างสรรค์ และการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจการค้าโลกยุคใหม่

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกในปี 2554 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออก คือปัญหาค่าเงินบาทแข็ง รวมทั้งต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2554 เนื่องจากคาดว่าจะมีความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้นอันเนื่องมาจากปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งผลจากการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ของธปท.ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการในที่สุด ซึ่งหากสอดคล้องกับการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศระบุว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ห่างจากระดับปกติก็อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอีก

การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนมีมูลค่ารวม 29,698.17 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 5.35 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาตลอดทั้ง 2 เดือน ในไตรมาสที่ 4ของปี 2553 นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,382.17 ล้านบาท และในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 16,316.00 ล้านบาท โดยการลงทุนในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนลดลงร้อยละ 30.95

ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุดเป็นเงินลงทุน 14,834.67 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งซึ่งมีเงินลงทุน 3,614.93 ล้านบาทรองลงมาคือหมวดโลหะและอโลหะมีการลงทุนสุทิ 2,410.80 ล้านบาท และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีเงินลงทุน 2,189.52 ล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนคือประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 8,213.22 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 5,601.70 ล้านบาท และ 3,762.52 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 477 โครงการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 316 โครงการ โดยในไตรมาสที่ 4 นี้มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 115,300 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.39 โครงการลงทุนนั้นประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 178 โครงการคิดเป็นเงินลงทุน 51,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 117 โครงการ เป็นเงินลงทุน 26,200 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 42,400ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 21,900 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตรมีเงินลงทุน 20,400 ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 104 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 28,647 ล้านบาทรองลงมาคือ ประเทศจีนที่มีจำนวน 9 โครงการ มีเงินลงทุน 7,338 ล้านบาท ประเทศฝรั่งเศสจำนวน 9โครงการ เป็นเงินลงทุน 1,583 ล้านบาท และประเทศฮ่องกง 9 โครงการ โดยคิดเป็นเงินลงทุน 1,430ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ