- งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 27 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2553 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ซึ่งภายในงานผู้ประกอบการยายนต์มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจำหน่ายยานยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ โดยมียอดการจองรถยนต์ทั้งสิ้น 33,058 คัน เพิ่มขึ้นจากงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 26 ในปี2552 ที่มียอดจองรถยนต์ 25,220 คัน ร้อยละ 31.08 (ที่มา : www.maneger.co.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 44โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 11,760 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,746คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือโครงการผลิตยางเรเดียลสำหรับรถยนต์ มีเงินลงทุน 4,611.80 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,030คน และโครงการของ บริษัท นิว ไทย วีลแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตกระทะล้ออลูมิเนียมมีเงินลงทุน 1,076.20 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 370 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2554)
- อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 53,807,660 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.20 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง40,111,316 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 13,696,344 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ29.10 และ 46.90 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่าจีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 13,082,265 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.31 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 5,814,861 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.81 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 57,294,570 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง42,397,087 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 12.40 และมีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 14,897,483 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 22.20 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) จำนวน 14,678,125 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.62 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง10 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ต.ค.) จำนวน 9,720,801 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.97 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2553 จำ นวน18,242,854 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.60 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 13,886,703คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.00 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,356,151 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.10 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2553 มีจำนวน 18,041,817 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.50แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 13,748,884 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.30 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,292,933 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.80
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2553 จำนวน7,724,779 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 35.20 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,757,992 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.70 และการผลิตรถบรรทุก 4,966,787 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.80 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 10,609,045 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.00 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 5,145,114 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.90 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,463,931 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวน 1,645,304 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.63 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.87, 59.04 และ 58.91 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 894,690 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.38 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออก ร้อยละ 76 และ 24 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 448,074 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.85 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.02, 16.48 และ 52.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.58, 0.91 และ 29.94 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวน 800,357 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.48 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.69, 40.11, 40.84 และ 53.52 ตามลำดับเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 244,008 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.84 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.04, 31.29, 18.77และ 22.21 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.21 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.99, 25.12, 22.02 และ 25.03 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) โดยรวมจำนวน 895,855 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.27 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 404,659.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 61.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี2553 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวม จำนวน 231,002 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 97,732.29 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.49 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.83 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.35 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 12.58
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ารถยนต์นั่งเป็นประเภทรถยนต์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด โดยในปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 214,109.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 61.38 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งในปี 2553 ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.71, 13.87 และ 8.98 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2553 มีมูลค่า 152,882.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552ร้อยละ 66.13 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพในปี 2553 ได้แก่ ออสเตรเลีย ชิลี และ มาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.05, 5.29 และ 4.78 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ชิลี และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.16, 620.03 และ 68.16 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2553 มีมูลค่า 31,416.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.21 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุกในปี 2553 ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.00, 12.71 และ 11.88 ตามลำดับ โดยการส่งออกกรถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.76 และ 88.89 ตามลำดับ แต่มีการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 29.62
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 25,278.12 และ 20,453.89 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 พบว่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.46 และ 60.94 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 6,625.13 และ 5,685.16 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.21 และ 31.08 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2553 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 แต่มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 9.34 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.16, 24.01 และ 18.85 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจาก ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18, 533.62 และ 135.28 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์ โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 72.39, 9.92 และ 2.93 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.48, 133.02 และ 54.67 ตามลำดับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2553 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจโลก สำหรับตลาดในประเทศ ได้รับผลดีจากการแนะนำรถยนต์เข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นปี 2553 และบางรุ่นยังคงมียอดค้างส่งมอบ ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการยกเว้นอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน อย่างไรก็ดี การปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากฐานที่ค่อนข้างต่ำใน ปี 2552จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2554 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 464,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 54 สำหรับการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วนั้น คาดว่ามาจากผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับในปี 2554 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.8 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 44 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 56
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวน 2,026,927 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.96 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,921,889 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.17 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 105,038 คัน ลดลงร้อยละ 15.26 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 520,090 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.46 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.09 และ 16.10 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี2553 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 1.89 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 4.12 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.93
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวน 1,845,997 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.22 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 847,199 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 945,913 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.44 และ 32.43 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 52,885 คัน ลดลงร้อยละ 21.95 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 441,376 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.01 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 และ 23.63 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 50.19หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 6.37 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 5.30, 7.40 และ 3.43 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวน 816,427 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 155,688 คัน และ CKD จำนวน 660,739 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.88 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 25,013.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.39 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีปริมาณการส่งออก 263,794 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 7,688.95 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.88และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.18 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.99 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.62 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในปี 2553 ได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.40, 11.84 และ 11.28 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.96 และ 152.98 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 57.46
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 612.91 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 123.15 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 243.08 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 208.75 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.97 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2553 ได้แก่ เวียดนาม และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 21.34 และ 19.94 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม และ เยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,103.74 และ 77.03 ตามลำดับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศคู่ค้าที่สำคัญของตลาดรถจักรยานยนต์ สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น สำหรับตลาดส่งออกที่มีการขยายตัว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมี ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ไป ยุโรปและญี่ปุ่น จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2554 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ประมาณ 579,000 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 89 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 11 สำหรับในปี 2554 คาดว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ (CBU) ประมาณ 2.18 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 11
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2553 มีมูลค่า141,422.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ร้อยละ 40.17 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า21,610.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ร้อยละ 62.90 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์14,451.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ร้อยละ 15.31 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 37,323.97 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.97 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 6,112.65 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.06 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า3,684.64 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.58 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ 5.61, 1.48 และ 6.15 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2553 มีมูลค่า 162,697.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 29.23ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.67, 11.55 และ 11.21 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.29, 66.21 และ 14.36 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2553 มีมูลค่า 189,102.43 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.38 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2553 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 48,601.49 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.32 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 8.60 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 63.34, 6.16 และ 5.27 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จาก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.05, 55.88 และ 34.18 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2553 มีมูลค่า 13,123.40 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.63 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2553 มีมูลค่า 659.30 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.69 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 3,414.72 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 182.74 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.01 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.00 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 11.70 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2553 มีมูลค่า20,041.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.47 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในปี 2553 ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.10, 17.48 และ 9.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.89 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 4.55 และ 5.18 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2553 มีมูลค่า 14,752.43 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.46 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2553 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 3,957.33 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.41 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2553 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 0.72 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.96, 17.98 และ 8.88 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.24, 12.39 และ 24.92 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--